CONVERSE ALL★STAR จากรองเท้ากีฬา สู่ไอคอนความขบถของชนอเมริกัน

  • 181
  •  
  •  
  •  
  •  

12366166_10153496511249580_1101302912636425366_o

ที่บ้านคุณมีคอนเวิร์สสีอะไร? เชื่อว่าวัยรุ่นและอีกหลายวัยในบ้านเราต่างรู้จักดีกับ Converse รองเท้าผ้าใบสัญชาติอเมริกัน แบรนด์อายุร้อยกว่าปีนี้มีสตอรี่เข้มข้นหลายประเด็นที่เราไม่อยากให้คุณพลาด ซึ่งจากสถิติ Converse ขายรองเท้าทั่วโลกได้ประมาณ 700,000 คู่ต่อปี นั่นหมายถึง ทุก 45 วินาที คอนเวิร์สจะขายรองเท้าได้ 1 คู่ โดยเฉลี่ย ตัวเลขที่ยิ่งใหญ่นี้ไม่ได้ได้มาเพราะโชคช่วยแน่นอน

 

Converse All-Star

เดิมทีคอนเวิร์สเป็นบริษัทที่ผลิตรองเท้ายางสำหรับใส่กันหนาว ภายใต้ชื่อบริษัท Converse Rubber Shoe Company เปิดมาตั้งแต่ปี 1908 ริเริ่มโดยนาย Marquise Mills Converse และก็เริ่มมาผลิตรองเท้ากีฬา เริ่มจากรองเท้าเทนนิสแต่ก็ไปได้ไม่สวยนัก จุดเปลี่ยนของคอนเวิร์สเกิดขึ้นตอนเริ่มผลิตรองเท้าบาสเก็ตบอลออกสู่ตลาดในปี 1917 มีชื่อรุ่นว่า Converse All-Star

 

มันจะเป็นแค่รองเท้าบาสเก็ตบอลธรรมดาถ้าหากไม่ได้ Charles H. Chuck Taylor มาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท เขาคือนักบาสอเมริกันที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของยุค ความหลงใหลในรองเท้า  Converse All-Star  ทำให้เขาได้มาเป็น แบรนด์แอมบาสเดอร์ ตัวแทนจำหน่าย และดีไซน์เนอร์ ให้คอนเวิร์ส  

 

Charles H. Chuck Taylor คือ คนที่ออกแบบสัญลักษณ์รูปดาวตรงข้อเท้า Converseละออกไอเดียให้รองเท้าเป็นพื้นยางเพื่อการกระโดดและการเคลื่อนไหวที่คล่องตัว  รวมถึงดัดแปลงนำรูร้อยเชือกรองเท้ามาฉลุเพิ่มด้านข้างตัวรองเท้าสองรู เพื่อช่วยระบายอากาศให้นักกีฬารู้สึกสบายเท้ามากขึ้น จากการคิดและออกแบบอย่างตั้งใจและเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภค

 

 

ทำให้ Converse All-Star ได้รับความนิยมอย่างฟ้าระบือลือลั่น ขายดีกันจนต้องสั่งจอง และเมื่อ ปี 1936 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โอลิมปิกที่มีการจัดแข่งบาสเก็ตบอล นักบาสชาวอเมริกันทุกคนใส่ Converse All-Star ซึ่งภายหลังคอนเวิร์สให้เกียรตินาย Chuck Taylor โดยการพิมพ์ลายเซ็นของเขาลงบนโลโก้รูปดาว และตั้งชื่อรองเท้าเป็นรุ่น Chuck Taylor All-Star 

 

vik62zkxplymcbk7zoqi

Charles H. Chuck Taylor

tqrlej9kuvj6i2i4laoi

 

Converse All-Star รองเท้าขบถของชนอเมริกัน

Converse เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 และเริ่มมาบูมในช่วง 30 ปีหลังจากนั้น ในยุคนั้นชาวอเมริกันยังนิยมรองเท้าหนัง จริงๆก็ไม่เชิงนิยมแต่ว่าเกือบทั้งหมดของผู้ชายนะใส่รองเท้าหนัง จนกระทั่งเข้าสู่ยุคที่นักกีฬาบาสเก็ตบอลหันมาใส่ Converse All-Star ที่จุดประกายจากไอคอนผู้ริเริ่มคือนาย Chuck Taylor

 

หลังจากแพร่หลายในหมู่นักกีฬาชื่อดัง ไม่นานนักนักบาสทั้งมือโปรมือสมัครเล่นในมหา’ลัยต่างๆทั่วอเมริกาต่างใส่ Converse  ลงสนามกันแทบทั้งสิ้น เคยมีการเก็บสถิติในปี 1960 พบว่านักบาสกว่า 90% ในอเมริกาสวม Converse All-Star 

 

 

และก็มาสู่จุดพลิกผันของคอนเวิร์สอีกครั้ง เมื่อความเป็นรองเท้ากีฬาของคอนเวิร์สถูกถ่ายโอนมาสู่รองเท้าไลฟ์สไตล์ ผ่านศิลปินแห่งยุคหลายวง อย่าลืมว่าในยุคนั้นชาวอเมริกันส่วนใหญ่ใส่รองเท้าหนัง และรองเท้าผ้าใบยังถูกมองว่าเพื่อการกีฬามากกว่าจะมาใส่ในชีวิตประจำวัน ทั้งยังถูกมองว่าไม่สุภาพ แต่ศิลปินคนดังหลายวงที่มีภาพลักษณ์ของความนอกกระแสและหัวสมัยใหม่ในยุคนั้นต่างเลือกที่จะใส่สนีกเกอร์ขึ้นเวทีมากกว่ารองเท้าหนัง ซึ่ง Converse All-Star  คือรองเท้าที่เหล่าศิลปินเลือกกันมากที่สุด ไล่ตั้งแต่ยุค 70’s มาจนถึง 90’s เลยทีเดียว

 

จะบอกว่ามันคือความเท่ก็ได้นะ เพราะเหล่าคนดังและศิลปินแถวหน้าล้วนใส่คอนเวิร์สออกสื่อกันอยู่บ่อยๆ แล้วเป็นคนดังที่กระจายไปหลายแนว ทั้งพระเอก นักกีฬา นักร้อง นับเป็นการขบถทางด้านวัฒนธรรมการแต่งกาย ที่มีจุดเริ่มต้นจาก ‘กลุ่มผู้ที่มีอิทธิพลต่อรสนิยม’ ของคนในยุคนั้น ทำให้อเมริกันชนเริ่มหา  Converse All-Star  มาใส่โดยเริ่มจากกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นแฟนเพลงเหล่าศิลปินและค่อยๆขยายไปสู่กลุ่มอื่นอย่างรวดเร็ว ความขบถของ Converse นับเป็นเคสของ ‘Sociocultural Impact’ ที่สร้างผลกระทบต่อแบรนด์ได้น่าสนใจที่สุดเคสหนึ่งเลยทีเดียว

 

จนกระทั่ง ปี 1966 Converse ครองส่วนแบ่งตลาดที่ 80% ของตลาดรองเท้าสนีกเกอร์ทั้งหมดในอเมริกา นับเป็นความสำเร็จอย่างสูงของ Converse ซึ่งไม่มีสนีกเกอร์แบรนด์ไหนจะเทียบได้เลยในตอนนั้น ถัดมา 3 ปี นาย Charles H. Chuck Taylor ได้จากไปอย่างสงบในวัย 68 ปี เขาเสียชีวิตก่อนถึงวันเกิดปีที่ 69 เพียงหนึ่งวัน ซึ่งเขายังคงเป็นหนึ่งในพนักงานของ Converse จนวันสุดท้าย

 

A_classic_Black_pair_of_Converse_All_Stars_resting_on_the_Black_&_White_Ed._Shoebox_(1998-2002)

 

ตกบัลลังก์

หลังจากรุ่งโรจน์บนเส้นทางรองเท้ากีฬาและกลายมาเป็นไอคอนแห่งความขบถ ก่อนจะแพร่กระจายสู่เส้นทางไลฟ์สไตล์ ต่อมาในปี 2001 Converse ถูกฟ้องล้มละลาย เพราะอะไร?

 

ในช่วงยุค 70’s เป็นต้นมา สนีกเกอร์คู่แข่งอย่าง Nike Puma Adidas ได้พัฒนาเทคโนโลยีและกลยุทธ์การตลาดกันอย่างแข็งขัน แน่นอน Converse ได้รับผลกระทบหนัก  และค่อยๆหลุดจากอันดับในส่วนแบ่งตลาดไปเรื่อยๆ จนภายหลังบริษัท Converse Rubber Shoe Company ล้มละลายเมื่อปี 2001

 

ธุรกิจก็คือธุรกิจ Nike ซื้อกิจการทั้งหมดของ Converse ไปในราคาประมาณ 305 ล้านเหรียญสหรัฐ  และตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา Converse คือแบรนด์ลูกของ Nike เพราะฉะนั้นคอนเวิร์สที่ผลิตหลังปี 2003 แถบจะไม่ใช่ MADE IN USA เพราะ ไนกี้ มีโรงงานผลิตอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก

 

iivo16k3q3gyuahrj2w9

 

ร้อยกว่าปีกับดีไซน์ที่ไม่เคยเปลี่ยน

ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ทำให้เราสนใจในแบรนด์นี้มาก เพราะตั้งแต่เขียนแบรนด์มาเรายังไม่เคยเจอแบรนด์เครื่องแต่งกายไหน ที่อยู่มานานโดยไร้ความเปลี่ยนแปลงเช่น  Converse All-Star ในที่นี้พูดถึงดีไซน์ เพราะหลังจากการออกแบบของ Chuck Taylor เมื่อปี 1949 ก็ไม่มีการปรับเปลี่ยนรูปทรงที่เป็นสแตนดาร์ดของตัวรองเท้าอีกเลย ยังคงความเป็น Chuck Taylor All-Star มาจนทุกวันนี้  

 

จะมีก็แต่ออกรุ่นใหม่มาเพิ่ม แต่ที่ขายดีที่สุดยังคงเป็นรุ่นออริจินัลคลาสสิคอยู่ดี และที่ขายดีเช่นกันในรุ่นหลัง คือ ทรงแบบ Oxford  Low-Cut ที่ตัดช่วงหุ้มข้อออกไปให้เป็นแบบหุ้มส้น ซึ่งยังคงอยู่ในไลน์ของ Chuck Taylor All-Star

qgv2su40jompwy4jtpof

The Oxford Model of the Chunk Taylor เปิดตัวเมื่อปี 1957

 

Jack Purcell

Converse Jack Purcell คือรองเท้าอีกรุ่นที่ได้รับความนิยมไม่น้อย ผลิตภายใต้แบรนด์คอนเวิร์ส ซึ่งคอนเวิร์สไปซื้อ Trandmark, Jack Purcell มาเมื่อปี 1970 ออกแบบโดยนาย  John Edward Jack Purcell อดีตนักแบตมินตันชื่อดังชาวแคนาดา

 

Jack Purcell คือรองเท้าสำหรับกีฬาแบตมินตัน ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นรองเท้าไลฟ์สไตล์เช่นเดียวกับรุ่น Chuck Taylor All-Star แม้จะไม่เปรี้ยงปร้างเท่า แต่ Jack Purcell ก็ขายดีมากเมื่อเทียบกับแบรนด์รองเท้าแบตมินตันอื่นๆ คนดังที่ใส่ Converse Jack Purcell คือ James Dean อิทธิพลของ ดีน ทำให้ Jack Purcell ถูกถามหาอย่างต่อเนื่อง และได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ev

 

คอนเวิร์สคุณสีอะไร?

ช่วงที่ยังรับบทบาทเป็นรองเท้าบาสเก็ตบอล คอนเวิร์สถูกดีไซน์ให้เป็น ‘monochromatic shoe’ จะทำแค่สีขาวกับดำออกมาเป็นสไตล์หลักๆ 3 แบบ คือ บอดี้รองเท้าเป็นผ้าแคนวาสสีดำพื้นรองเท้าเป็นยาง, บอดี้รองเท้าเป็นหนังสีดำพื้นรองเท้าเป็นยาง, และหากเป็นแคนวาสสีขาว จะมีเส้นแถบสี น้ำเงิน แดง อยู่บริเวณยางรองเท้าด้านข้างขนานไปกับบอดี้รองเท้าโดยรอบ ทั้งหมดเป็น 3 เมนสไตล์ของ  Converse All-Star ในยุคแรกๆ ส่วนหัวรองเท้าสีขาว (toe guard) ดีไซน์เพิ่มขึ้นทีหลังเมื่อปี 1949 

 

จนมาปี 1971 คอนเวิร์สเปิดตัว ‘Colored Canvas All-Stars’ สนีกเกอร์สีอื่นนอกจากขาวดำถูกวางจำหน่าย สร้างปรากฎการณ์ฮือฮาไปทั่วอเมริกา และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ก็มี Converse All-Star ที่ทำจากวัสดุหลากหลาย หลากสี หลากลวดลาย ออกมามากมาย โดยประมาณน่าจะมีไม่ซ้ำกันกว่า 500 แบบ

 

แต่สีขาว สีดำ ยังคงเป็นสีคลาสสิคที่ได้รับความนิยมไม่ตกมาโดยตลอด แล้วที่บ้านคุณล่ะ มีคอนเวิร์สสีอะไร?

jebkgur2zzdla2yrpy9j

 

Converse กับ ศิลปิน

Sex-Pistols

Sid Vicious, The Sex Pistol

6175220271_a17622dc91

Kurt Cobain, Nirvana

 

8cb6f9cb29d78829182bddcb08b19036

 George Harrison, The Beatles

 

2f1a1e618fbfb1dca4b78d28a3628e3c

Paul McCartney

 

Elvis03

Elvis Presley จากเรื่อง Follow That Dream

 

james-dean-1955-photo-phil-stern

James Dean ใส่ Converse รุ่น Jack Purcell

 

 

เรื่องจริงมันส์ๆจาก Converse

Chuck Taylor All-Star รุ่น Classic White ถูกเปิดตัวครั้งแรกในช่วงฤดูร้อน ปี 1936

bzkq87ozebjipnt7nkzt

Chuck Taylor All-Star รุ่น Classic Black and White ถูกเปิดตัวครั้งแรก ปี 1949

 nw7lxgswpsxxvalhvdrx

 

 

ปี 2012  Converse เฉพาะรุ่น Chuck Taylor All-Star ขายได้กว่า 450 ล้านเหรียฐสหรัฐ

ey0rzljgx5tfwkkqnaqh

 

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารอเมริกันใส่คอนเวิร์สรุ่นพิเศษฝึกซ้อมในกองทัพ  (กองทัพเยอรมันก็ให้ Adidas ผลิตรองเท้าให้ทหารในกองทัพเช่นกัน)

lpnwgx2ioolt3u0tljiu-2

 

 

 

Converse All-Star กว่า 550 ล้านคู่ถูกผลิตขึ้นในปี 1997 

avmzoyszi49pxqhumncf

 

 

หนึ่งใน print-ad โปรโมทคอนเวิร์สสช่วงเปิดตัวเมื่อปี 1917

r6oidpz1meayglcb7yqa

 

Charles H. Chuck Taylor ปฏิเสธรับคอมมิชชั่นจากการเป็นเซลล์ขาย Converse มาโดยตลอด เขามีรายได้จากเงินเดือนและ ค่าตัว แบรนด์แอมบาสเดอร์ เท่านั้น

Chuck_Taylor_1921

 

Source: Converse USA
Source: Complex
Source: Wikipedia

Copyright ©  MarketingOops.com

 


  • 181
  •  
  •  
  •  
  •