5 เทรนด์อนาคตวงการโมบายเกมในอาเซียน

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

candy-crush-android-game

ภายในงาน Global Mobile Game Congress ในปักกิ่งที่เพิ่งผ่านมา วงสัมมนาเพื่อสรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมโมบายเกมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำโดย Google, Sergio Salvador; chieftain of Inzen Studio, Gerald Tock; founder and CEO of Sanuk Games, Yan Marchal; CEO of Appota, Do Tuan Anh; and founder and CEO of Mig33, Steven Goh ได้ข้อคิดที่น่าสนใจจากวงการเกมดังนี้

1. อินโดนีเซียจะกลายเป็นตลาดโมบายเกมที่ใหญ่มากในอนาคต

ภายใน 5 ปี อินโดนีเซียจะกลายเป็นตลาดที่มีคุณภาพมากในอนาคตด้วยเหตุผลว่าอัตราการเข้าถึงโมบายและอินเตอร์เน็ตในประเทศนี้กำลังเพิ่มขึ้นอย่างเข้มแข็ง ประชากรมหาศาล และยังมีฐานสตาร์ตอัพและสาธารณูปโภคด้านเทคโนยีครบครัน นอกจากนั้น นักพัฒนาชาวอินโดนีเซียยังสามารถพัฒนาสมาร์ทโฟนในระบบ Android ราคาถูกมาใช้ได้ทั่วประเทศ

2. Flabby Bird ไม่ได้เรื่อง แต่ยังมีความหมายอยู่

4ใน 5 ของผู้ร่วมสัมมนาเห็นว่า Flabby Bird ไม่ใช่แอพพลิเคชั่นที่เจ๋งเท่าไหร่ หากแต่ความดังของ Flappy Bird แสดงให้นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นเกมเห็นถึง ปัจจัยที่คาดเดาไม่ได้ (X Factor) ซึ่งทำให้ผู้พัฒนาเกมทุกคนต้องควานหาปัจจัยนี้กันต่อไป

3. ภาษาอังกฤษยังใช้ในเกมได้

เป็นความจริงที่เกมทุกเกมต้องมีระดับการ localization ที่เหมาะสม แต่การเพิ่มภาษาในทุกประเทศที่คุณจะเข้าไปอาจเป็นการเสียเวลาเพราะเกมส่วนใหญ่นิยมใช้ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่แอพฯที่ต้องการการ localization ด้านภาษาน่าจะเป็น ecommerce การท่องเที่ยว และสินค้าทั่วๆ ไป

4. การจ่ายเงินยังเป็นเรื่องลำบาก

วิธีการจ่ายเงินสำหรับการเล่นเกมบนโมบายในแต่ละประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความแตกต่างกัน ปัญหาที่สำคัญคือประชาชนในภูมิภาคนี้มีอัตราการถือครองเครดิตการ์ดค่อนข้างต่ำ (ยกเว้นสิงคโปร์) บริษัท MOL และ 2C2P ใช้วิธีแก้โดยการจ่ายเงินที่เคาเตอร์หรือการจ่ายผ่านบัตรเดบิต

5. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความแตกต่างกันภายในภูมิภาค

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้แต่ละประเทศยังมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน เช่น สิงคโปร์ที่มีความทันสมัยแบบตะวันตกเยอะ ขณะที่ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตกค่อนข้างมาก ส่วนอินโดนีเซียและมาเลเซียก็เป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม

Source


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง