AI จะมาแทนที่ศิลปินมนุษย์? เจาะกระแส “Midjourney” ปัญญาประดิษฐ์ที่ผลิตภาพออกมาได้สวยงามเหนือจินตนาการ

  • 305
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ช่วงนี้หลายคนอาจเห็นกระแสบนโซเชียล เกี่ยวกับระบบ AI (ปัญญาประดิษฐ์) ที่สามารถสร้างสรรค์รูปได้หลากหลายแบบ จนแทบไม่อยากจะเชื่อว่า ผลงานชิ้นนั้น ทำมาจาก AI ล้วนๆ ด้วยการพิมพ์เพียงไม่กี่คำหรือเป็นประโยค และผลิตออกมาได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ภายในห้องแชต (หรือเซิฟเวอร์) ที่มีชื่อว่า “Midjourney” บนแพลตฟอร์มที่เรียกว่า ดิสคอร์ด (Discord)

วันนี้ทาง Marketing Oops! เลยจะช่วยอธิบายฉบับย่อยง่าย ให้เห็นภาพที่กว้างขึ้น เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์และความเชื่อมโยงต่อศิลปะ พร้อมวิธีใช้ Midjourney เพื่อสร้างภาพเก๋ๆ จากฝีมือ AI

 

“Style Transfer” เทคนิคที่ AI ใช้ในการผลิตภาพ


ในอนาคตข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นภายในอีก 10-20 ปี คงไม่สามารถมีใครบอกได้อย่างแม่นยำว่าจะเป็นเช่นไร แต่ปัจจุบัน มีหลากหลายบทความ ยังคงออกมายืนยัน ว่า AI ไม่สามารถที่จะมาแทนที่ศิลปินที่เป็นมนุษย์ได้

เพราะเดิมแล้ว AI ในวงการอาร์ท ถูกนำมาใช้ไม่ใช่ในแง่มุมของ ผู้สร้าง” (creator) หากแต่เป็น ผู้เลียนแบบ” (impersonator) โดยมีเทคนิคอยู่เบื้องหลังที่เรียกว่า “Style Transfer” ซึ่งใช้ “Deep Neural Networks” หรือก็คือวิธีการเรียนรู้ที่คล้ายโครงข่ายประสาทของมนุษย์ (neurons) มาประยุกต์ใช้กับ AI เพื่อ replicate (ทำซ้ำ), recreate (สร้างใหม่จากของเดิม) และ blend (ผสม) งานอาร์ทต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน

พูดง่ายๆ ก็คือ ทาง AI จะระบุและรวบรวมสไตล์ต่างๆ ที่อยู่ในรูปหนึ่งรูปและนำไปใช้กับอีกรูป ซึ่งไม่ได้ต้องใช้ความ อาร์ท แต่อย่างใด

cr: towardsdatascience.com

 

AI สามารถมาแทนที่ศิลปินที่เป็นมนุษย์ได้ไหม?

ในบทความจาก Forbes ที่ได้สัมภาษณ์ คุณ Arushi Kapoor เจ้าของอาร์ทแกเลอรี่ที่ ลอสแอนเจลิส ลอนดอน และนิวเดลี ในหัวข้อ AI และศิลปะในเชิงอุตสาหกรรม (art industry) เธอได้เริ่มจากการกล่าวไว้ว่า ในวงการอาร์ทจะยังคงมี พื้นที่ สำหรับผู้ที่ยังหลงใหลในงานอาร์ทที่เป็นแฮนด์เมดและมีความคราฟจากความสร้างสรรค์ของมนุษย์ (human creativity) โดยมีเทคโนโลยีอย่าง AI มาเพื่อช่วยสนับสนุน ไม่ใช่เพื่อมาทดแทนทั้งหมด

ทั้งนี้ คุณ Kapoor ก็มีแง้มๆ แตะถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เช่นการกล่าวถึงว่า หากมีผู้คนซื้องานอาร์ทที่สร้างโดย AI มากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับสังคมที่มีเทคโนโลยีอยู่ในทุกมุมของหลากหลายอุตสาหกรรม ก็อาจจะทำให้ศิลปินที่เป็นมนุษย์จริงๆ รู้สึกมีความจูงใจน้อยลงที่จะสร้างสรรค์ผลงาน

forbes.com

ภายในบทสัมภาษณ์ตอนท้ายๆ จึงรวบมาเป็นคำถามสั้นๆ ให้กับคุณ Kapoor ว่า แล้ว AI คืออนาคตของอุตสาหกรรมวงการอาร์ทหรือเปล่า?”

คำตอบของคุณ Kapoor คือ ถ้ามองในมุมที่เป็นแง่ดี การวิวัฒนาการของ AI กลายมาเป็นีกหนึ่งเครื่องมือสำหรับศิลปินที่เป็นมนุษย์ ในการ ยกระดับ (enhance) ค้นพบ (discover) และ ทำซ้ำ (replicate) ผลงานของตัวเอง พวกเราทุกคนหวังว่าเทคโนโลยีจะมาช่วยพวกเรา ไม่ใช่มาแทนเรา

หากลองวิเคราะห์บทสัมภาษณ์นี้ ดูเหมือนว่าโทนของการคุยจะไปในเชิงที่เรียกว่า optimistic (แง่ดี) แต่ก็ยังมีแอบแตะถึงปัญหาถ้าผู้คนหันมาซื้อ(หรือเสพ)งานศิลป์ที่ผลิตโดย AI มากขึ้น อาจจะทำให้ศิลปินรู้สึกอยากที่ สร้างสรรค์ น้อยลง แต่ด้วยเทคนิค style transfer ซึ่งได้กล่าวไปด้านบน ว่าเป็นเทคนิคในมุมของการ “เลียนแบบ” ไม่ใช่ “ผู้สร้าง” จึงอาจจะตอบได้ว่า ปัจจุบันมนุษย์ยังคงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ

 

ผู้คนต่างเข้าใจผิดว่า AI คืออะไรกล่าวโดยเจ้าของ Midjourney

บทความจาก The Verge ที่ได้สัมภาษณ์ David Holz เจ้าของ AI สุดฮอตที่กำลังดังในโซเชียล กล่าวไว้อย่างน่าสนใจในบทสัมภาษณ์ว่า หลายคนมีความเข้าใจผิดๆ ต่อ AI

โดยเขาใช้คำว่าหลายคนมักมอง AI เป็นเหมือน เสือ และกล่าวขยายความว่า เสือนั้นอันตราย เสืออาจจะกินฉันและเป็นปฏิปักษ์ต่อมนุษย์ ในทางกลับกัน เขามองผลงานตัวเอง (Midjourney) เป็นเหมือน น้ำ มากกว่า โดยอธิบายว่า

แน่นอนว่าน้ำก็อาจจะอันตราย คุณอาจจะจมได้ แต่อันตรายของกระแสน้ำกับเสือนั้นแตกต่างกัน เพราะคุณยังสามารถที่จะไหว้น้ำได้ สร้างเรือ หรือเขื่อนเพื่อสร้างพลังงาน และน้ำยังเป็นเสมือนจุดเชื่อมโยงของอารยธรรม เพราะมนุษย์เราเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตและอยู่กับมัน เราไม่ควรที่จะแบนน้ำและเวลาเจอแหล่งน้ำใหม่ๆ มันเป็นสิ่งที่ดีมาก

theverge.com & Midjourney

 

วิธีใช้ Midjourney เพื่อผลิตภาพ

การจะใช้ Midjourney เพื่อลองเล่นผลิตภาพ จะต้องเริ่มจากมีดิสคอร์ดก่อน หากใครยังไม่มี สามารถตามไปอ่านบทความ HOW-TO ของพวกเรา ได้ที่นี่

ในส่วนของวิธีเล่นนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากมาก โดยเริ่มจาก:

1. ไปที่เว็บไซต์ https://www.midjourney.com/ แล้วเลือก “Join the beta”

2. โดยปกติถ้าหากเรา sign-in ดิสคอร์ดอยู่แล้ว พอกด “Join the beta” ก็สามารถเข้ามาในเซิฟเวอร์ Midjourney ได้โดยอัตโนมัติ

3. พอเข้ามาแล้ว ให้เลือกไปที่ #newbies ที่อยู่ทางแทบด้านซ้าย

4. ให้พิมพ์คำว่า /imagine และจะมีช่อง :prompt โผล่ขึ้นมาเพื่อให้เราพิมพ์คำหรือประโยคที่อยากให้ AI ผลิตผลงานให้ (กฎของห้องคือต้องไม่ติดเรท ไม่พิมพ์อะไรหยาบคาย)

5. เมื่อผ่านไปสักพัก รูปจะเริ่มปรากฏออกมาพร้อมไอค่อน U1, U2, U3, U4 และ V1, V2, V3, V4
U1 ถึง U4: มีไว้เพิ่มขนาดภาพประมาณ 1024×1024 พิกเซล
V1 ถึง V4: จะเป็นการเลือก “เวอร์ชั่น” ของรูปเพื่อนำไปสร้างใหม่แต่คงสไตล์เดิมไว้

6. หากใช้ผ่านคอม ก็สามารถคลิกขวาเพื่อเซฟรูปได้เลย หรือถ้าใช้มือถือ ก็กดปุ่มดาวน์โหลดเพื่อเซฟรูปลงเครื่อง (สามารถทำได้ประมาน 20 ครั้ง หลังจากนั้นต้องเสียเงิน 10$ ต่อเดือนสำหรับ 200 รูป 30$ สำหรับกี่รอบก็ได้ และ 600$ ต่อปี สำหรับระดับบริษัท)

เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หลายรูปที่ผลิตออกมานั้นสวยมาก และที่รู้สึกทึ่งมากที่สุด คงไม่พ้นว่ามันถูกสร้างจากคำเพียงไม่กี่คำ ด้วยเวลาเพียงไม่กี่นาที ทว่า ความรู้สึก ที่ได้รูปจาก AI และยิ่งไปกว่านั้น พอรู้ว่าได้ใช้เทคนิคที่เรียกว่า style transfer ก็ทำให้รู้ว่าขาดความ คราฟ แต่ทว่าสิ่งที่ทางเรารู้สึก แน่นอนก็แตกต่างกันไป บางคนที่มองในมุมของความสวยงามเพียวๆ ก็ต้องปรบมือให้กับความเทพของระบบ AI นี้จริงๆ

อ้างอิง:
Forbes
Medium
Verge


  • 305
  •  
  •  
  •  
  •  
sailwithme
Postera crescam laude