อย่างที่ทราบกันว่า “ญี่ปุ่น” เป็นเมืองเทคโนโลยีล้ำสมัยที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะแนวคิดการสร้างหุ่นยนต์เพื่อเป็นเพื่อนคลายความหงาของผู้สูงอายุหรือคอยช่วยเหลือผู้คนให้ได้รับความสะดวกสบายและปลอดภัย ซึ่งจะค่อนข้างแตกต่างจากหลายประเทศทั่วโลกที่เน้นใช้งานหุ่นยนต์ทดแทนแรงงานมนุษย์ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่หุ่นยนต์สัญชาติญี่ปุ่นจะเน้นไปที่สรีระรูปร่างหน้าตาให้ดูออกมาตะมุตะมิน่ารักสามารถรับรู้ได้ถึงความปลอดภัย ซึ่งหุ่นยนต์สัญชาติญี่ปุ่นถูกพักการพัฒนาลงเมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดทั่วโลก แต่เพราะสถานการณ์ดังกล่าวนี่เองทำให้ญี่ปุ่นเริ่มกลับมาปัดฝุ่นพัฒนาหุ่นยนต์อีกครั้ง โดยเน้นไปที่เรื่องของสุขภาพและความปลอดภัยจากการแพร่เชื้อโรค
หุ่นยนต์ลดการสัมผัส
นอกจากเรื่องของหุ่นยนต์แล้ว ยังสามารถใช้มาตรการเพื่อลดการสัมผัสอย่าง Pizza Hut และ Domino Pizza ที่ใช้วิธีการวางสินค้าไว้แล้วให้ผู้ซื้อมารับเอง แต่หลายบริษัทก็เลือกใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยอย่าง Nike และ Rakuten ที่นำระบบอัตโนมัติ (Automation) เข้ามาช่วยให้สินค้ามีโอกาสน้อยมากที่จะได้สัมผัสกับมนุษย์ก่อนถึงมือผู้ซื้อ
ยิ่งไปกว่านั้นหลายบริษัทในญี่ปุ่นเริ่มพูดถึงการใช้ Drone ในการขนส่งวินค้าน้ำหนักเบาทั้งในรูปแบบ การจัดส่งแบบ Supplier และการจัดส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค แถมยังมีแนวคิดในการนำระบบ AI มาใช้ในเรื่องของการขนถ่ายสินค้าภายในร้านอย่าง ZMP Inc. ผู้ผลิตรถเข็นและรถยกไร้คนขับที่เตรียมเปิดตัวหุ่นยนต์รุ่นใหม่เร็วๆ นี้
ผู้ชมหุ่นยนต์
อีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดคือธุรกิจด้านกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการแข่งขันกีฬาที่หลายประเทศยังคงห้ามการเข้าชมกีฬา ซึ่งความสนุกของกีฬาคือการได้ยินเสียงเชียร์ของแฟนกีฬาเพื่อให้เกิดความฮึกเหิมในการเล่นกีฬาจนสามารถคว้าชัยชนะมาได้ และหลายครั้งการแข่งขันก็จะดูแปลกๆ เมื่อไม่มีผู็เข้าชมอย่างกีฬาฟุตบอล
แต่เพื่อให้การแข่งขันกีฬามีอรรถรสมากยิ่งขึ้น ในการแข่งขันกีฬาเบสบอลที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบจึงมีการนำหุ่นยนต์ Spot และหุ่นยนต์ Pepper มาดัดแปลงให้กลายเป็นกองเชียร์นักกีฬา ช่วยสร้างบรรยากาศการแข่งขันให้คล้ายช่วงสถานการณ์ปกติมากที่สุด ที่สำคัญหุ่นยนต์ Pepper ยังมีอีกหน้าที่ในการคอยดูแลรับใช้ผู้ป่วยที่อยู่ในศูนย์กักกันของญี่ปุ่น
หุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วยและทำความสะอาด
อย่างที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า หุ่นยนต์ Pepper นอกจากนี้ช่วยเป็นกองเชียร์ให้เหล่านักกีฬาแล้ว ยังมีอีกบทบาทในการเป็นหุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในศูนย์กักกันโรค ขณะที่หุ่นยนต์ Newme หุ่นยนต์ที่เหมือนของเล่นตัวต่อแล้วมีแท็บเล็ตแปะติดไว้ที่หัวจะทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับแพทย์ เพื่อสอบถามอาการและคอยดูอาการของผู้ป่วยได้จากระยะไกล ช่วยให้แพทย์ปลอดภัยมากขึ้น
นอกจากนี้เจ้าหุ่นยนต์ชินคันเซ็น ที่อยูในสถานนีรถไฟ Takanawa มีบทบาทหลักในการดูแลรักษาความสะอาดของสถานีรถไฟ เพิ่มความสะดวกสบายให้กับเจ้าหน้าของสถานี ที่สำคัญด้วยความน่ารักตะมุตะมิทำให้เข้าหุ่นยนต์ชินคันเซ็นกลายเป็น Mascot ที่สำคัญของสถานนี้และเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาถ่ายรูปคู่กับเจ้าหุ่นยนต์
ทั้งหมดนี้คือหุ่นยนต์เพียงส่วนน้อยที่ญี่ปุ่นนำมาใช้เพื่อดูแลรักษาสุขภาพของมนุษย์ ประเทศไทยเองก็มีหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาใช้ในด้านสุขภาพ แต่เนื่องจากคนไทยยังไม่คุ้นชินกับการมีหุ่นยนต์ แม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของไทยจะล้ำหน้ากว่าญึ่ปุ่น โดยเฉพาะเรื่อง 5G ที่ประเทศไทยมีโอกาสใช้งานก่อนประเทศญี่ปุ่น
Source: Japan Today