ได้เวลา Google ปล่อยของประจำปีกับงาน Google I/O 2019 โดยเฉพาะการใช้งานประสิทธิภาพของกล้องในสมาร์ทโฟน ที่พัฒนากันชนิดที่แทบจะเสมือนถ่ายอยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์ หรือการพัฒนา AI อย่าง Google Assistant ให้ฉลาดจนน่าตกใจ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น ยังมีส่วนช่วยให้การตลาดเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้น เรียกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังจะกลายเป็นหนึ่งช่องการการตลาดในอนาคต
Google I/O 2019
ใจจริงอยากอธิบายงาน Google I/O ว่ามีความสำคัญอย่างไร แต่ดูเหมือนจะเสียเวลามากเกินไป ฉะนั้นเข้าเรื่องเลยดีกว่าว่า งาน Google I/O มีเทคโนโลยีอะไรเด็ดๆ บ้าง
เล่นกับกล้องระดับเทพแค่ Search ก็เห็น
AR เป็นเทคโนโลยีที่รู้จักกันมานานพอสมควร แต่เรามักจะเห็น AR ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของของความบันเทิง นานๆ ทีจะเห้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่ครั้งนี้ Google พัฒนาเทคโนโลยี AR ให้สามารถครอบคลุมการใช้งานทุก Generation ของคน เริ่มตั้งแต่นักศึกษาที่สามารถใช้เทคโนโลยี AR ในการศึกษา เช่น การศึกษากล้ามเนื้อในขณะทำงาน หรือการศึกษาสิ่งมีชีวิตแบบใกล้ชิด เป็นต้น
ขณะที่กลุ่มคนทำงานสามารถใช้ AR ในการเลือกซื้อสินค้าได้ แม้ว่าภาพที่ถ่ายมาจะเป็นภาพถ่ายปกติ แต่เทคโนโลยี AR ของ Google สามารถสร้างภาพถ่ายให้กลายเป็นภาพ 3 มิติได้ หรือการค้นหาข้อมูลทั้งที่ไม่รู้ว่านั่นคืออะไร ก็สามารถใช้ฟังก์ชั่น Google Lens ในการถ่ายภาพ ระบบจะประมวลผลหาคำตอบที่ถูกที่สุดให้ หรือคุณแม่บ้านที่มีแต่สูตรอ่านยังไงก็ไม่เข้าใจ Google Lens สามารถเปิดวิดีโอการทำอาหารเมนูนั้นๆ ได้ทันที
หรืออยากไปกินอาหารร้านที่ไม่รู้จัก ไม่รู้สั่งอะไรดีที่อร่อยหรือขึ้นชื่อ เมื่อใช้ Google Lens กับเมนูอาหาร รายการอาหารที่สำคัญจะถูกไฮไลท์โดยอัตโนมัติทันที นอกจากนี้ผู้สูงอายุสามารถใช้ Google Go ส่องไปที่คำที่ต้องการอ่าน โดยเลือกให้อ่านในภาษานั้นๆ หรือแปลเป็นภาษาที่ตัวเองต้องการก่อนแล้วค่อยอ่าน ที่สำคัญ Google Go สามารถใช้กับมือถือสเปคต่ำที่สุดได้ แค่ขอให้มีกล้องเท่านั้นพอ
แน่นอนว่า สำหรับนักการตลาดสิ่งที่มองเห็นคือการสร้างคอนเท้นต์ AR เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากแค่ภาพ 2 มิติปกติ เรียกว่านอนอยู่ที่บ้านก็แทบจะจับผลิตภัณฑ์ดูทุกซอก ทุกหลืบ ทุกมุมไปเลย แบบที่ว่าแหวก แหก เปิดรื้อได้ตามใจชอบ แต่สิ่งที่นักการตลาดต้องให้ความสนใจคือการใช้เทคโนโลยีให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
ผู้ช่วยรู้ทุกเรื่องผ่านการประมวลข้อมูล
ก่อนหน้านี้เราฮือฮากับ Siri หรือ Bixby ซึ่งเป็น AI ที่ติดตั้งในสมาร์ทโฟนแบรนด์ท้อปของโลก ซึ่งส่วนใหญ่คือการสั่งการทำงานภายในสมาร์ทโฟน แต่กับ Google Assistant นั้นต่างออกไปเพราะ Google Assistant นอกจากควบคุมการทำงานสมาร์ทโฟนแล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อการทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมามักจะใช้ในการหาข้อมูลเป็นหลัก ผ่าน Search Engine อย่าง Google
แต่ในงาน Google I/O 2019 ระบบ AI ของ Google Assistant ถูกพัฒนาให้ฉลาดมากขึ้น ชนิดที่มือมีไว้แค่ถือสมาร์ทโฟนเท่านั้น สามารถสั่งการทำงานสมาร์ทโฟนผ่านมือถือได้ทันทีแบบ Realtime ซึ่งระบบ AI ของ Google Assistant สามารถฟังเสียงคำสั่งที่อาจจะมีการออกเสียงแปลก โดยจะประมวลผลเทียบเคียงเพื่อให้ได้คำสั่งที่ถูกต้องที่สุด
Google Assistant ฉลาดพอที่จะเรียกข้อมูลอื่นๆ เข้ามาประกอบเพื่อประมวลผล เช่น เมื่อคำสั่งมีความคลุมเครือ ระบบจะข้อมูลของผู้ใช้งานในระบบต่างๆ รวมไปถึงประวัติการใช้งาน Google ที่ผ่านมาเป็นเวลานานมาประมวลผลเพื่อหาสิ่งที่ต้องการมากที่สุด พร้อมด้วยโหมดขับรถ (Driving Mode) ที่ช่วยให้การใช้สมาร์ทโฟนในระหว่างสะดวกสะดวกและง่ายขึ้น
สิ่งที่นักการตลาดต้องเรียนรู้คือ โลกยุคอนาคตระบบ Automation กำลังจะกลายเป็นเทรนด์ของโลกอนาคต หมายความว่าหลายคนเริ่มใช้ระบบ Automation กับมือถือมากขึ้น การสื่อสารเข้าไปในมือถืออาจจะยากมากขึ้นเพราะความฉลาด AI นักการตลาดจึงต้องศึกษาผ่านการทำการตลาดแบบ Automation Marketing ที่จะต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีแค่ลูกค้า และลดขั้นตอนของข้อมูลโดยหันไปให้ AI ช่วยจัดการกรอกข้อมูลแทน
AI เปิดโลกทัศน์ให้ทุกคนเท่าเทียมกัน
อย่างหนึ่งที่เป็นปัญหาของผู้ใช้งานการสื่อสารคือกลุ่มคนที่มีปัญหาในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องของกายภาพ เช่น ความพิการในการได้ยิน ปัญหาในการออกเสียง หรือปัญหาในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ในห้องประชุม แต่ต้องเก็บข้อมูลจากวิดีโอ
โดยใช้ชื่อฟีเจอร์นี้ว่า Live Caption หรือคือการชมวิดีโอทุกแพลตฟอร์มโดยมีซับไตเติ้ลปรากฎแบบ Realtime แม้จะไม่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ช่วยให้ไม่จำเป็นต้องใช้เสียงก็สามารถเข้าใจได้ว่า วิดีโอนั้นกำลังคุยหรือพูดอะไรกันอยู่ ช่วยให้คนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่สามารถใช้เสียงได้สามารถเข้าใจวิดีโอนั้น ยิ่งไปกว่านั้นยังเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางการได้ยินสามารถเข้าใจวิดีโอนั้นได้
ไม่พียงเท่านี้ Live Caption ยังช่วยให้สามารถสามารถพูดคุยกับผู้อื่นผ่านการพิมพ์ข้อความแล้วแปลงเป็นเสียง ฟีเจอร์ดังกล่าวจะช่วยให้ผู้พิการในการสื่อสารสามารถคุยโทรศัพท์ผ่านการพิมพ์ข้อความโต้ตอบ
สำหรับนักการตลาดนี่คือฟีเจอร์ที่ช่วยให้นักการตลาดสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สื่อสารได้ยาก ซึ่งในอดีตการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มผู้สื่อสารยากทำได้ลำบาก หรือแทบจะไม่มีการสื่อสารการตลาด แต่ด้วยฟังก์ชั่นนี้จะช่วยให้นักการตลาดสามารถเจาะเขาถึงกลุ่มคนเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย
เรียกว่าเทคโนโลยีหลักทั้ง 3 ที่เปิดตัวในงาน Google I/O 2019 สามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้ในการสื่อสารทางการตลาด หรือสามารถวางแผนทิศทางการสื่อสารการตลาดได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด