ปัจจุบันต้องยอมรับว่า การครอบงำของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี หรือ Big Tech ที่ประกอบไปด้วย 5 เสือหลักอย่าง Apple, Google, Microsoft, Amazon และ Meta (หรือ Facebook ในอดีต) ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของเทคโนโลยีในหลายๆ ประเทศ บางรายใช้ข้อกำหนดเป็นการผูกขาด บางรายใช้วิธีกว้านซื้อ Startup เพื่อป้องกันโอกาสของบริษัทเทคใหม่ๆ หรือแม้แต่การเข้าซื้อกิจการคู่แข่งเพื่อลดการแข่งขัน ที่สำคัญยังก่อให้เกิดเงินตราไหลออกสู่ต่างประเทศ
ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ที่เห็นจะมีการต่อสู้เพื่อลดการผูกขาดของเหล่า Big Tech อย่างชัดเจนคงหนีไม่พ้นยุโรป นั่นจึงทำให้กลุ่มสหภาพยุโรป หรือ EU มีก่รเสนอ “กฎหมายตบาดดิจิทัล (Digital Market Act – DMA)” โดยเนื้อหาของกฎหมายหลักๆ จะเน้นลดขั้นตอนพิจารณาความผิดที่ใช้เวลานานหลายปี ลดระยะเวลาการต่อสู้ในชั้นศาลที่จำเป็น เพื่อลงโทษการผูกขาดของเหล่า Big Tech ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคดีทางแพ่ง
สำหรับกฎหมาย DMA จะมีข้แบังคับประมาณ 20 ข้อ โดยจะเน้นเป้าหมายการดำเนินการของ Big Tech ที่ขัดต่อการแข่งขัน อาทิ การบังคับให้ Apple เปิด App Store กับทางเลือกในระบบการชำระเงิน รวมถึงการอนุญาตให้ผู้ใช้ถอนการติดตั้งเว็บเบราว์เซอร์อย่าง Safari และแอปอื่นๆ ที่ปัจจุบันถูกตั้งค้าไม่ให้ผู้ใช้สามารถลบ หรืออย่าง Google ที่ต้องมีตัวเลือกให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในระบบ Android มากกส้าแค่ Google Search, Google Map หรือ Chrome
หรืออย่าง Meta ที่ต้องไม่บังคับการใช้บริการส่งข้อความเฉพาะ Facebook Messenger หรือ WhatsApp ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเท่านั้น แต่ควรสามารถใช้งานร่วมกับผู้ให้บริการส่งข้อความรายอื่นๆ อย่าง Signal หรือ iMessage ของ Apple เป็นต้น
ขณะที่หนค่งใน Big Tech อย่าง Apple ได้แสดงความเห็นอย่างรวดเร็วต่อกฎหมาย DMA โดยชี้ว่า ข้อบังคับบางอย่างของกฎหมาย DMA จะก่อให้เกิดช่องโหว่ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย ซึ่งเป็นสอ่งที่ Apple พยายามอุดช่องโหว่เหล่านั้นตลอดเวลา
แน่นอนว่าประเทศไทยเองก็ประสบปัญหาด้าน Big Tech เช่นกัน โดยเฉพาะรายได้ที่ไหลออกนอกประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายด้านภาษีดิจิทัลขึ้นมาแล้ว แต่หากอนาคตไม่มีอะไรผิดพลาด 1 มกราคม 2023 กฎหมาย DMA จะมีการใช้อย่างเป็นทางการ และประเทศไทยอาจศึกษากฎหมายดังกล่าวเพื่อปรับปรุงกฎหมายของไทย
Source: Japan Today , Reuters