AI ไม่ได้มีดีแค่ช่วยคิดคอนเท้นต์หรือช่วยสื่อสารเท่านั้น แต่ AI ยังสามารถทำอะไรต่างๆ ได้อีกมากมาย หลายคนเริ่มวิตกว่า AI จะเข้าทดแทนงานของตัวเองหรือ AI กำลังกดดันให้ความคิดสร้างสรรค์ลดลงและพึ่งพาแต่เทคโนโลยี แต่ไม่ใช่กับวงการแฟชั่นที่ตอนนี้กำลังมองว่า AI คือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ช่วงสัปดาห์แฟชั่นในลอนดอนที่ถือเป็นการจัดงานครบรอบ 40 ปี หัวใจหลักของงานจะเป็นการจัดแสดงเสื้อผ้าที่สร้างสรรค์โดย AI โดย Matthew Drinkwater หัวหน้าสำนักงานนวัตกรรม London College of Fashion เชื่อว่า AI ได้พิสูจน์ว่า เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมาก สำหรับกระบวนการสร้างสรรค์และสำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยรวม
AI ช่วยเปิดประตูสู่เส้นทางแฟชั่นสำหรับผู้ที่ไม่เคยเข้าถึงอุสาหกรรมแฟชั่นมาก่อน ด้วยข้อจำกัดของวงการแฟชั่นที่ต้องอาศัยความสามารถในการรับรู้และเข้าถึงรสนิยมที่ค่อนข้างพิเศษ ที่สำคัญยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนราคาแพงในการเข้าสู่วงการแฟชั่น ช่วยให้ความรู้สึกแปลกใหม่และน่าตื่นเต้นกับดีไซเนอร์
แบรนด์ต่างๆ เช่น Heliot Emil, Zara และ H&M กำลังใช้ AI เพื่อควบคุม Supply Chain โดยเฉพาะในเรื่องของการควบคุมสต๊อกสินค้าและปริมาณของเสีย นอกจากนี้ หลายแบรนด์ยังใช้ AI เพื่อช่วยในกระบวนการออกแบบด้วย Generative AI ทั้งการออกแบบเสื้อผ้า ออกแบบวัสดุและลวดลายที่แตกต่างกัน ช่วยให้นักออกแบบสามารถเห็นภาพและตัดสินใจได้อย่างถูกต้องก่อนที่จะผลิตเสื้อผ้า
ด้าน McKinsey บริษัทที่ปรึกษาคาดการณ์ว่า Generative AI อาจช่วยเพิ่มผลกำไรจากการดำเนินงานของแฟชั่นและกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยภายใน 3-5 ปีข้างหน้า
ในเดือนเมษายนปีที่ผ่านมา งานสัปดาห์แฟชั่นในนิวยอร์กถือเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ AI ด้าย H&M ยอมรับว่า AI สามารถใช้เป็นแรงผลักดันให้เกิดผลดีในแฟชั่นได้ ขณะที่ TUC มองว่า AI อาจเป็นประโยชน์สำหรับคนทำงานด้านการสร้างสรรค์ แต่ AI ก็ไม่ควรแย่งชิงความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ อย่างไรก็ตามควรจะต้องมีกฎหมายออกมารองรับผลงานด้านศิลปะรวมถึงแฟชั่น เพื่อปกป้องความคิดสร้างสรรค์และลิขสิทธิ์
Source: The Guardian