ญี่ปุ่นพัฒนา AI วิเคราะห์วิธีป้องกันโรคผ่าน Big Data ศิริราชเห็นด้วยกับการใช้ AI ในการวิเคราะห์โรค

  • 28
  •  
  •  
  •  
  •  

HealthTech

อย่างที่หลายคนกล่าวไว้ว่า COVID-19 ช่วยเร่งวิวัฒน์ให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่ส่งให้โลกก้าวสู่ยุคดิจิทัลได้เร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์กันไว้ ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในหลายอุตสาหกรรมไม่เว้นแม้แต่ทางการแพทย์ ยิ่งในเรื่องของการใช้ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์และประเมินผล ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์มากขึ้น

นักวิจัยชาวญี่ปุ่นได้มีการพัฒนา AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพผ่าน Big Data ทำให้ AI สามารถคาดการณ์การเกิดโรคในอนาคตประมาณ 20 โรค ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยเตรียมตัวในการรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้น รวมไปถึงการปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮิโรซากิและมหาวิทยาลัยเกียวโตเก็บข้อมูลการตรวจสุขภาพจากอาสาสมัครประมาณ 20,000 คน

Health Tech 2

ซึ่งบ่งชี้ถึงความน่าจะเป็นในการเกิดโรคที่ประเทศญี่ปุ่นเป้นจำนวนมาก เช่น เบาหวาน ภาวะสมองเสื่อม ในช่วงระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดโรคอย่าง ความดันโลหิตสูง, โรคไตเรื้อรัง, โรคกระดูกพรุน, โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคอ้วน เป็นต้น โดยนักวิจัยจะทำการทดสอบอีกครั้งในกลุ่มใหม่เพื่อยืนยันการคาดการณ์

นอกจากนี้ทีมวิจัยยังค้นพบความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาของโรคบางอย่างกับสภาวะสุขภาพพันธุกรรมและวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล ตัวอย่างเช่น ทีมวิจัยสามารถคาดการณ์ความน่าจะเป็นของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานตามระดับน้ำตาลในเลือด มวลกล้ามเนื้อขาและระดับไขมันในร่างกาย AI จะช่วยให้คำแนะนำเป็นการส่วนตัวเกี่ยวกับวิธีลดความเป็นไปได้ในการลดโอกาสการเกิดโรคต่างๆ เช่น การทานอาหาร การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

Dr Narit
รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม ศิริราชพยาบาล

ทางด้านโรงพยาบาลศิริราชของไทย โดย รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม ศิริราชพยาบาล ชี้ว่า ศิริราชพยาบาลเองก็มองเห็นเทรนด์การใช้ AI เข้ามาร่วมกับการแพทย์ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะช่วยให้การวินิจฉัยโรคมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยศิริราชพยาบาลมีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาร่วมในการรักษา รวมถึงการนำเทคโนดลยีสมัยใหม่เข้ามาร่วมกับการแพทย์

“AI จะช่วยให้การวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น เพราะโรคในปัจจุบันมีจำนวนมากและแต่ละโรคก็แตกแขนงออกไปอีกเป็นจำนวนมาก บางครั้งอาการที่แตกต่างเพียงเล็กน้อยก็อาจจะเป็นโรคอื่นได้ ซึ่งต้องยอมรับว่า AI วินิจฉัยโรคได้แม่นยำกว่า แต่การรักษาโรคก็ยังต้องเป็นการวินิจฉัยโดยแพทย์ โดยเมื่อแพทย์ทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร แพทย์ก็จะวินิจฉัยว่าการรักษาต้องทำอย่างไร”

 

Source: Japan Today


  • 28
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา