ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ล่าสุดอยู่ในระดับ 34.47 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากทำสถิติอ่อนค่าสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ 34.50 บาท โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าสาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อหวังต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลให้ค่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเกิดการค่าสูงสุดในรอบ 20 ปี และปัญหารัสเซียกับยูเครนที่ยังคงสู้รบกันอยู่
ดังนั้นเงินบาทที่อ่อนค่าลงจึงส่งผลกระทบต่อ Fund Flow ชะลอไหลเข้าตลาดหุ้น เนื่องจากนักลงทุนมีโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้นนั่นเอง และจากสถิติในอดีตเมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่าลงทุนในทุก ๆ อัตราร้อยละ 1 จะเป็นตัวกดดัน Fund Flow ไหลออกจากหุ้นไทยหลายพันล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกันเมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่าลงก็ยังมีหุ้นบางกลุ่มที่ยังได้รับอานิสงค์นี้ช่วยหุ้นให้ได้รับประโยชน์ซึ่งมีกลุ่มส่งออก เช่น กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
9 หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ผลตอบแทนดีสุด ณ วันที่ 11 พ.ค.65
1. บริษัท ทีมพรีซิชั่น จำกัด (มหาชน) TEAM
ประกอบธุรกิจพัฒนา ออกแบบ ผลิต ประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCBA) และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป รวมทั้งให้บริการจัดหาวัตถุดิบและจัดส่ง โดยให้บริการกับลูกค้าที่ผลิตผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์ สินค้าอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม อุปกรณ์เครือข่ายการสื่อสารไร้สายต่างๆ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และ สินค้าอุปโภคและบริโภค
• ราคาปิดที่ 3.94 บาท (11 พ.ค.65)
• ค่า P/E อยู่ที่ 12.18 เท่า
• ค่า P/BV 2.50 เท่า
• มาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 2,510.03 ล้านบาท
2. บริษัท เอสวีไอ จำกัด (มหาชน) SVI
ประกอบธุรกิจให้บริการแบบครบวงจรในการประกอบผลิตภัณฑ์ประเภทวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป (Electronics Manufacturing Service?EMS) ให้แก่ลูกค้าที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Original Equipment Manufacturer: OEM) และลูกค้าที่เป็นผู้รับจ้างออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design House) โดยบริษัทฯ เริ่มดำเนินงานจากการรับจ้างประกอบแผงวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาเมื่อมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นจึงได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เป็นการมุ่งเน้นด้านการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป (Turnkey Box-Build) และการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปประเภทงานระบบ (System-Build)
• ราคาปิดที่ 8.10 บาท (11 พ.ค.65)
• ค่า P/E อยู่ที่ 12.39 เท่า
• ค่า P/BV 3.35 เท่า
• มาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 17,581.99 ล้านบาท
3. บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) HANA
บริษัทประกอบธุรกิจให้บริการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิกส์แบบครบวงจร (Electronic Manufacturing Service-EMS)
• ราคาปิดที่ 45.75 บาท (11 พ.ค.65)
• ค่า P/E อยู่ที่ 23.83 เท่า
• ค่า P/BV 1.60 เท่า
• มาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 36,823.21 ล้านบาท
4. บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) NEX
ประกอบธุรกิจ 1. ผลิตและรับจ้างผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า 2.จำหน่าย/ให้เช่ารถบัสโดยสาร ซ่อมบำรุง จำหน่ายอะไหล่รถบัสโดยสาร และ3.ลงทุนในบริษัทย่อย
• ราคาปิดที่ 15.90 บาท (11 พ.ค.65)
• ค่า P/E N/A
• ค่า P/BV 9.31 เท่า
• มาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 26,623.79 ล้านบาท
5. บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) KCE
เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ PCB ซึ่งเป็นแผ่น Epoxy Glass ที่มีสื่อนำไฟฟ้า เช่น ตะกั่ว ทองแดงเคลือบอยู่ และผลิตแผ่น PCB หลายชั้น ซึ่งเป็นชิ้นส่วนพื้นฐานสำคัญในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม อุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกชนิด
• ราคาปิดที่ 61.75 บาท (11 พ.ค.65)
• ค่า P/E 29.04 เท่า
• ค่า P/BV 5.45 เท่า
• มาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 72,974.92 ล้านบาท
6. บริษัทมูราโมโต้ อีเล็คตรอน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) METCO
ประกอบธุรกิจผลิตชิ้นส่วนโลหะและพลาสติกของอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียงและภาพ และอุปกรณ์อีเล็คโทรนิกส์สำหรับยานยนต์ และชิ้นส่วนอุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติ
• ราคาปิดที่ 242.00 บาท (11 พ.ค.65)
• ค่า P/E 8.15 เท่า
• ค่า P/BV 0.82 เท่า
• มาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 5,057.34 ล้านบาท
7. บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) DELTA
เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านการจัดการระบบกำลังไฟฟ้า (Power management solutions) รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บางประเภท ได้แก่ พัดลมอิเล็กทรอนิกส์ (DC Fan) อีเอ็มไอ ฟิลเตอร์ (EMI) และโซลินอยด์ มีฐานการผลิตอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ได้แก่ เอเชีย ยุโรป และอเมริกาใต้
• ราคาปิดที่ 342.00 บาท (11 พ.ค.65)
• ค่า P/E 55.24 เท่า
• ค่า P/BV 9.71 เท่า
• มาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 426,604.51 ล้านบาท
8. บริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) SMT
บริษัทประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
• ราคาปิดที่ 4.92 บาท (11 พ.ค.65)
• ค่า P/E 19.24 เท่า
• ค่า P/BV 2.54 เท่า
• มาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 4,140.30 ล้านบาท
9. บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) CCET
บริษัทเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อีเล็คโทรนิคส์ในรูปแบบของ Electronics Manufacturing Services (EMS) โดยมีกลุ่มลูกค้าหลัก 2 ประเภทคือ อุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม
• ราคาปิดที่ 2.50 บาท (11 พ.ค.65)
• ค่า P/E 49.23 เท่า
• ค่า P/BV 0.75 เท่า
• มาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 12,402.81 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหุ้นส่งออกจะได้รับประโยชน์ของค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง แต่ภาพรวมเศรษฐกิจโลกแล้วถือว่ายังคงเปราะบาง เนื่องจากมีความผันผวนจากหลายปัจจัย ฉะนั้นแล้วก่อนจะลงทุนหุ้นตัวไหน อาจจะต้องทำการบ้านก่อนตัดสินใจเข้าไปลงทุน ไม่เช่นนั้นแล้วหุ้นตัวที่เลือกอาจพาเราไปสู่ยอดดอยได้