เพราะการเงินเป็นเรื่องใหญ่สำหรับทุกคน โดยเฉพาะโลกทุกวันนี้ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง ความผันผวน และค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้น ทำให้คนไทยให้ความสำคัญกับการบริหารการเงินมากขึ้น ทั้งกระจายการออม – การลงทุน ซื้อประกัน และจัดการค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงทั้งในวันนี้ และอนาคต
“TikTok ประเทศไทย” เปิดรายงาน TikTok Unboxed Finance พบว่าคนไทยทั้ง 4 Generations ได้แก่ Gen Z, Millennials, Gen X และ Boomers ให้ความสำคัญกับคอนเทนต์การเงินอย่างจริงจัง พร้อมเผยความสนใจด้านการเงินยังครอบคลุมผู้ใช้งานกลุ่มต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสายธุรกิจ ยานยนต์ หรือแม้แต่กลุ่มที่สนใจความงามและอาหาร
TikTok ในฐานะเป็นแพลตฟอร์มความบันเทิง เดินหน้าดันแพลตฟอร์มเป็น “Hub of Financial Edutainment” ศูนย์รวมคอนเทนต์ที่ให้ทั้งความรู้ด้านการเงินในรูปแบบที่ได้สาระความรู้ควบคู่กับความบันเทิง (A Hub to Financial Edutainment) ที่เปิดโอกาสให้คนไทยได้เข้าถึงและ Upskill ทักษะการเงินผ่านการเรียนรู้เนื้อหาสาระการเงินที่มีประโยชน์ สนุกสนานและเข้าใจง่าย
คนไทยหาวิธีการออม – ลงทุน รับมือค่าครองชีพสูงขึ้น
จากผลสำรวจครั้งนี้พบว่า 98% ของคนไทยกังวลค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้มากถึง 74% ของคไนทยมองหาวิธีการออม และการลงทุน เพื่อรับมือกับภาวะค่าครองชีพสูงขึ้น
ด้วยเหตุนี้เอง คนไทยจึงให้ความสนใจหรือมองหาคอนเทนต์การเงินที่ช่วยบริหารการเงินได้ดีขึ้น โดยพบว่า
– 84% สนใจคอนเทนต์การวางแผนค่าใช้จ่าย และการจัดการงบใช้จ่ายต่างๆ จากรายได้ที่ได้รับ
– 74% ด้านการหาแหล่งรายได้เพิ่ม
– 70% ด้านการออม และการบริหารหนี้สิน
สรุป 5 อินไซต์ผู้ใช้ TikTok สนใจคอนเทนต์การเงิน–การลงทุนเพิ่มขึ้น รับมือความเสี่ยงอนาคต–สร้างความมั่นคง
1. กลุ่มผู้ใช้ TikTok ที่สนใจการเงิน ประกอบด้วยหลากหลายกลุ่ม
– 71% คนทำงานออฟฟิศ (White Collar)
– 18% ผู้ใช้แรงงาน (Blue Collar)
– 18% ฟรีแลนซ์
– 5% เจ้าของกิจการ
– 5% นักเรียน-นักศึกษา
โดย 79% ของผู้ใช้ TikTok เหล่านี้ เข้าแพลตฟอร์ม TikTok มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน ขณะที่ผลิตภัณฑ์การเงินที่ผู้ใช้ TikTok ใช้ ได้แก่
– 89% ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
– 89% ชำระเงิน
– 62% ประกันต่างๆ
– 43% การลงทุน
– 40% สินเชื่อและเครดิตการ์ดต่างๆ
2. ผู้ใช้ TikTok กังวลความมั่นคงทางการเงิน และวางแผนล่วงหน้ารับมือ
– 73% กังวลเรื่องฉุกเฉิน โดยที่อาจไม่ได้เตรียมตัวไว้ก่อน
– 71% การลงทุนที่มีความเสี่ยง เช่น การลงทุนในหุ้น หรือค่าเงินที่ผันผวนมากๆ
– 57% กังวลเตรียมตัวเกษียณอายุ หรือสินเชื่อบ้าน แล้วเกิดการปรับเปลี่ยนของอัตราดอกเบี้ย
– 48% กังวลด้านหนี้และอัตราดอกเบี้ย
3. การบริหารจัดการเงินของผู้ใช้ TikTok ในแต่ละ Generations
– Gen Z: 55% มุ่งใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ใช้จ่ายแบบมีวินัย และหลีกเลี่ยงการซื้อของตามอารมณ์ เพื่อรักษาเงินในมือ
– Millennials: 50% เน้นเก็บเงินก่อน เลือกเก็บออมรายได้ส่วนหนึ่งทุกเดือน ก่อนจะใช้จ่ายกับสินค้าที่ไม่จำเป็น
– Gen X: คล้ายกับ Gen Z 53% เน้นการใช้จ่ายอย่างมีสติ เพื่อควบคุมการเงินให้สมดุล
– Boomers: 69% ให้ความสำคัญกับการบริหารการเงินอย่างมีวินัย โดยพยายามจัดการค่าใช้จ่ายและหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น
จะเห็นว่าแต่ละ Generation มีแนวคิดด้านการเงินแตกต่างกันเล็กน้อย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ทุก Gen ใช้จ่ายอย่างมีสติ เพื่อความมั่นคงในอนาคตของตัวเอง
4. ผลสำรวจพบว่า 9 ใน 10 ของผู้ใช้ TikTok แต่ละ Gen บอกว่าคอนเทนต์การเงินบน TikTok ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
เมื่อเจาะลึกผลิตภัณฑ์การเงินที่ผู้ใช้ TikTok สนใจ ไม่ได้มีแค่ผลิตภัณฑ์ธนาคารอย่างการออมเงินเท่านั้น แต่ยังมีหลากหลายผลิตภัณฑ์การเงิน-การลงทุนที่ให้ความสนใจและวางแผนจะซื้อเช่นกัน ประกอบด้วย
ประกัน
– ประกันชีวิต (77%)
– ประกันรถยนต์ (75%)
– ประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพ (47%) เนื่องจากบริษัทมีให้อยู่แล้ว จึงอาจไม่ได้สนใจซื้อมากนัก
สำหรับช่วงเวลาซื้อประกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงไตรมาส 1 เป็นช่วงเริ่มต้นการเก็บออม และการวางแผนของปีนั้น ตามมาด้วยไตรมาส 4 เนื่องจากคนเริ่มหาสิ่งที่มาช่วยลดหย่อนภาษี
สินเชื่อ
– สินเชื่อส่วนบุคล (71%)
– สินเชื่อรถยนต์ (57%)
– สินเชื่อเงินด่วน หรือ Payday Loan (32%) เป็นสินเชื่อสำหรับพนักงานเงินเดือนให้กู้ก่อนเงินเดือนออก และเมื่อเงินเดือนออกแล้ว บริษัทหักคืนกลับไปตามจำนวนที่กู้
– สินเชื่อบ้าน (31%)
– สินเชื่อธุรกิจ (21%)
สำหรับช่วงเวลาที่ผู้บริโภควางแผนขอสินเชื่อมากสุด อยู่ในช่วงไตรมาส 1 ตามมาด้วยไตรมาส 4 และไตรมาส 2
การลงทุน
ผู้บริโภคมีการลงทุนหลากหลาย
– การออมและลงทุนในค่าเงินต่างประเทศ (72%)
– ซื้อหุ้น (48%)
– ลงทุนในคริปโต (47%)
– ลงทุนทอง (46%)
การแบ่งสัดส่วนการลงทุนพบว่า กว่า 50% จะลงทุนทุกเดือน โดยส่วนใหญ่จัดสรรจากเงินเดือน หรือรายได้เสริมในแต่ละเดือน เพื่อใช้ในการลงทุน
การจ่ายเงิน
การซื้อจากร้านค้ารูปแบบ Physical Shop การชำระด้วยเงินสดยังมีบทบาทอยู่ และสิ่งที่เพิ่มขึ้นคือ E-Wallet / Digital Wallet
ขณะที่การช้อปผ่านออนไลน์ ส่วนใหญ่ใช้ QR Code ผ่าน E-Wallet / Digital Wallet
สิ่งที่กระตุ้นให้ใช้ E-Wallet / Digital Wallet:
– 77% สะดวกและรวดเร็ว
– 58% ผสมผสานบริการต่างๆ ในที่เดียว
– 46% ความปลอดภัย
TikTok ปักธง “Hub of Financial Edutainment” รับเทรนด์คอนเทนต์การเงินโต!
เมื่อพูดถึง TikTok คนส่วนใหญ่มักนึกถึงความเป็น Entertainment Platform อย่างไรก็ตามปัจจุบันแพลตฟอร์ม TikTok มีคอนเทนต์หลากหลาย และหนึ่งในประเภทคอนเทนต์ที่กำลังเติบโต คือ “คอนเทนต์การเงิน” โดยปีที่ผ่านมามีวิดีโอด้านวางแผนการลงทุน การออม การบริหารจัดการเงิน เพื่อช่วยในการตัดสินใจมากขึ้น
ครีเอเตอร์ที่มาแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ ไม่ได้มีเพียงผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน หรือแบรนด์การเงิน เท่านั้น แต่ยังมีครีเอเตอร์สายอื่นมาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเงินเช่นกัน โดยผสานเนื้อหาด้านการเงินเข้าไปในเนื้อหาหลัก เช่น ครีเอเตอร์ด้านความงาม ผสานแนวทางการวางแผนการเงินเพื่อซื้อสินค้าความงาม หรือครีเอเตอร์ท่องเที่ยว แบ่งปันวิธีวางแผนการเงินเพื่อท่องเทีย่ว หรือครีเอเตอร์แม่และเด็ก แบ่งปันแนวทางบริหารจัดการค่าใช้จ่ายการเลี้ยงลูก และจากพฤติกรรมผู้บริโภคสนใจการเงินมากขึ้น ทำให้เทรนด์คอนเทนต์การเงินบน TikTok เติบโต
“TikTok เป็นมากกว่าแพลตฟอร์มความบันเทิง วันนี้เราได้กลายเป็น A Hub to Financial Edutainment ที่รวบรวมคอนเทนต์ให้ทั้งสาระความรู้ด้านการเงิน พร้อมความบันเทิงไว้ในที่เดียว เพื่อเพิ่มทักษะด้านการเงินให้กับคนไทย เรานำผู้ใช้ที่สนใจการเงินมาพบกับแบรนด์ เปิดโอกาสให้ได้ศึกษาซึ่งกันเเละกัน
TikTok Unboxed Finance จะช่วยให้สถาบันการเงินเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ผ่านคอนเทนต์การเงินที่สร้างสรรค์ และโซลูชัน TikTok For Business จะช่วยให้ภาคการเงินสามารถสร้างการรับรู้แบรนด์ สร้างสรรค์เนื้อหาทางการเงิน และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย พร้อมทั้งยกระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้ทางการเงินในประเทศไทย” คุณสิรินิธิ์ วิรยศิริ Head of Business Marketing, TikTok Thailand กล่าวถึงการเป็น Hub to Financial Edutainment
ภาคการเงินจะรับมืออย่างไรในยุค “Age of Content”
TikTok เปิดโอกาสให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพราะผู้ใช้ไม่เพียงแต่ชมคอนเทนต์การเงินบน TikTok เท่านั้น แต่ยังค้นหาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (69%) พิจารณาผลิตภัณฑ์ทางการเงินและผู้ให้บริการ (62%) และมีส่วนร่วมกับแบรนด์ (57%)
โดย 3 แหล่งคอนเทนต์การเงินที่ผู้ใช้ TikTok ให้ความเชื่อมั่นมากที่สุด ได้แก่
– ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน หรือ Financial Expert (57%)
– แบรนด์ที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง หรือ Verified Brands (49%)
– คำรับรองหรือการรีวิวจากผู้ใช้จริง หรือ Real Testimonial (48%)
ผู้ใช้ที่สนใจเรื่องการเงินบน TikTok อาจจำเป็นต้องได้รับคอนเทนต์การให้ความรู้หรือข้อมูลของแบรนด์ก่อนการตัดสินใจใด ๆ ซึ่งแบรนด์สามารถใช้โอกาสนี้ พัฒนาคอนเทนต์หรือช่อง TikTok ของตัวเองให้เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ พร้อมแนะนำผู้ใช้งานตลอดกระบวนการตัดสินใจ เพื่อให้เข้าถึงคอนเทนต์การเงิน และทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้ดียิ่งขึ้นผ่านการมีส่วนร่วมของคอมมูนิตี้ รวมถึงคอนเทนต์จากแบรนด์ที่เชื่อถือได้ อันนำไปสู่การพิจารณาและตัดสินใจในที่สุด
3 เครื่องมือพาแบรนด์การเงิน สร้างคอนเทนต์–ทำการตลาดดิจิทัลแบบ Full-Funnel
สำหรับแบรนด์หรือธุรกิจในภาคการเงินต้องการประสบความสำเร็จและเข้าถึงผู้ใช้ TikTok เครื่องมือใน TikTok Creative Center สามารถช่วยจุดประกายไอเดียการสร้างสรรค์เนื้อหาทางการเงิน ด้วยสามฟีเจอร์หลัก ประกอบด้วย
1. Top Ads ดูโฆษณาที่มีประสิทธิภาพสูงบน TikTok เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับความคิดสร้างสรรค์
2. Keyword Insights เลือกคำที่กำลังได้รับความนิยม
3. Trending Hashtags เพื่อช่วยในการค้นหาเทรนด์ใหม่ ๆ ในเวลานั้น
นอกจากนี้ TikTok ยังแนะเคล็ด(ไม่)ลับ การทำ Content Strategy ให้ปังสำหรับแบรนด์การเงิน
– Brand Asset: การนำ Asset ต่าง ๆ ของแบรนด์มาใช้ใหม่
– UGC Style: การสร้างสไตล์ของเนื้อหาใหม่ที่เหมาะกับแพลตฟอร์ม
– Creator: ใช้เนื้อหาของครีเอเตอร์ โดยเน้นไปที่การให้ความรู้หรือนำเสนอเคล็ดลับต่าง ๆ ด้านการเงิน
พร้อมผนวกเข้ากับโซลูชั่นครบวงจรของ TikTok และใช้กลยุทธ์การทำตลาดแบบ Full-Funnel เพื่อทำให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อ สื่อสารอยู่ในทุก Journey ของผู้ใช้ ตั้งแต่การค้นพบเนื้อหา (Discover) การสำรวจและศึกษาผลิตภัณฑ์การเงินหรือแบรนด์ผู้ให้บริการ (Research) และตัดสินใจ (Action) ได้อย่างเหมาะสมที่สุด
โอกาสของแบรนด์และธุรกิจการเงินช่วงโค้งสุดท้ายของปี 67
จากข้อมูล TikTok Unboxed Finance สะท้อนให้เห็นว่าผู้ใช้ TikTok ให้ความสำคัญกับการหาข้อมูล และวางแผนซื้อ หรือลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะประกัน และสินเชื่อ ซึ่งในช่วงไตรมาส 1 และ 4 เป็นช่วงเวลาที่ผู้บริโภควางแผนสมัครซื้อผลิตภัณฑ์ประกันและสินเชื่อสูง
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของแบรนด์ที่จะสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าบน TikTok เพื่อสร้างยอด Engagement หรือโพรโมตผลิตภัณฑ์ในสองกลุ่มนี้ เพิ่มยอดขายช่วงปลายปีบนแพลตฟอร์ม TikTok
“พฤติกรรมผู้ใช้ TikTok ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การรับชมเนื้อหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่พวกเขากำลังค้นหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างจริงจัง พิจารณาผู้ให้บริการรายใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ ซึ่งข้อมูลอินไซต์เหล่านี้ล้วนมีความสำคัญต่อแบรนด์ภาคการเงินและมุ่งเน้นด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งที่มีการแข่งขันสูงขึ้นในไทย” คุณสิรินิธิ์ สรุปทิ้งท้าย