Facebook เว็บ Social Networking และกำลังจะกลายเป็นเว็บไซต์อันดับหนึ่งของโลกเข้าไปทุกที เพราะมีจำนวนผู้ใช้งานต่อวันสูงขึ้นและตัวเลขการสมัครเข้าใช้งานก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้ชัดจากตัวเลขของผู้ใช้งานทั่วโลกและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยซึ่งพบว่าในเดือนมกราคมปี 2009 จำนวนผู้ใช้งานในประเทศไทยนั้นอยู่ที่ราว 250,000 คนและในปีต่อมาของเดือนเดียวกันจำนวนผู้ใช้งานเฟสบุ๊คของประเทศไทยนั้นกระโดดข้ามไปถึง 2 ล้านรายเลยทีเดียว ทำให้ประเทสไทยมีตัวเลขผู้ใช้งานเฟสบุ๊คอยู่ในอันดับ 21 ของโลกและเป็นอันดับ 5 ของเอเชียไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตัวเลขผู้ใช้งานเฟสบุ๊คในประเทศไทยก็เติบโตอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นั้นมาโดยมีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละกว่า 3-5 แสนรายเลยทีเดียว ซึ่งข้อมูลด้านล่างนี้บอกให้เราเห็นได้ชัดถึงอัตราการเติบโตของผู้ใช้เฟสบุ๊คในไทยได้เป็นอย่างดี
30 อันดับประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้งาน Facebook มากที่สุด
(31 ธันวาคม 2010 – ข้อมูลจาก Facebook)
Rank |
Country |
No. of Facebook users Dec 31st 2008 |
No. of Facebook users Dec 31st 2009 |
No. of Facebook users Dec 31st 2010 |
12 month growth % |
24 month growth % |
1 | USA | 42,078,960 | 101,303,240 | 145,749,580 | 43.9% | 246.4% |
2 | Indonesia | 897,040 | 14,681,580 | 32,129,460 | 118.8% | 3481.7% |
3 | UK | 14,937,180 | 22,625,300 | 28,661,600 | 26.7% | 91.9% |
4 | Turkey | 7,934,340 | 16,943,780 | 24,163,600 | 42.6% | 204.5% |
5 | France | 6,587,240 | 14,290,700 | 20,469,420 | 43.2% | 210.7% |
6 | Philippines | 390,700 | 8,387,560 | 18,901,900 | 125.4% | 4738% |
7 | Mexico | 1,440,640 | 6,505,040 | 18,488,700 | 184.2% | 1183.4% |
8 | Italy | 5,585,700 | 13,272,760 | 17,812,800 | 34.2% | 218.9% |
9 | India | 1,071,280 | 5,397,480 | 17,288,900 | 220.3% | 1513.9% |
10 | Canada | 10,862,040 | 14,228,460 | 17,288,620 | 21.5% | 59.2% |
11 | Germany | 1,255,480 | 5,799,520 | 13,678,200 | 135.9% | 989.5% |
12 | Argentina | 2,255,300 | 7,387,120 | 12,359,260 | 67.3% | 448% |
13 | Spain | 2,596,080 | 7,701,200 | 12,235,080 | 58.9% | 371.3% |
14 | Colombia | 3,632,760 | 7,243,520 | 11,665,860 | 61.1% | 221.1% |
15 | Australia | 4,330,040 | 7,611,920 | 9,661,720 | 26.9% | 123.1% |
16 | Malaysia | 850,420 | 3,975,640 | 9,544,580 | 140.1% | 1022.3% |
17 | Brazil | 209,460 | 2,413,900 | 8,821,880 | 265.5% | 4111.7% |
18 | Taiwan | 112,900 | 5,490,300 | 8,752,640 | 59.4% | 7652.6% |
19 | Chile | 4,153,060 | 5,808,020 | 7,586,060 | 30.6% | 82.7% |
20 | Venezuela | 1,874,220 | 4,952,340 | 7,552,760 | 52.5% | 303% |
21 | Thailand |
168,720 |
1,963,560 |
6,732,780 |
242.9% | 3890.5% |
22 | Egypt | 822,560 | 2,341,880 | 4,634,300 | 97.9% | 463.4% |
23 | Poland | 194,820 | 1,609,100 | 4,540,320 | 182.2% | 2230.5% |
24 | Sweden | 1,696,700 | 3,066,180 | 4,042,260 | 31.8% | 138.2% |
25 | Peru | 296,200 | 1,510,480 | 3,888,560 | 157.4% | 1212.8% |
26 | Belgium | 1,655,940 | 2,872,160 | 3,850,300 | 34.1% | 132.5% |
27 | Hong Kong | 1,458,520 | 2,727,980 | 3,673,580 | 34.7% | 151.9% |
28 | South Africa | 920,200 | 2,434,500 | 3,422,920 | 40.6% | 272% |
29 | Netherlands | 351,280 | 1,689,480 | 3,417,540 | 102.3% | 872.9% |
30 | Saudi Arabia | 326,180 | 1,421,980 | 3,274,460 | 130.3% | 903.9% |
และเมื่อนำข้อมูลการเติบโตของเฟสบุ๊คจากทั่วโลกมาเทียบแล้วประเทศไทยก็ตกอยู่ในอันดับที่ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และถือเป็น 2 ของโลกรองจากบราซิลเท่านั้นโดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 242.9% ต่อปี และเทียบ 2 ปีก็โตขึ้นถึง 3890.5% เลยทีเดียว
Rank |
Country |
No. of Facebook users Dec 31st 2008 |
No. of Facebook users Dec 31st 2009 |
No. of Facebook users Dec 31st 2010 |
12 month growth % |
24 month growth % |
17 | Brazil | 209,460 | 2,413,900 | 8,821,880 | 265.5% | 4111.7% |
21 | Thailand | 168,720 | 1,963,560 | 6,732,780 | 242.9% | 3890.5% |
9 | India | 1,071,280 | 5,397,480 | 17,288,900 | 220.3% | 1513.9% |
ปัจจัยการเจริญเติบโตของเฟสบุ๊คในไทย
การที่ประเทศไทยรั้งตำแหน่งอันดับหนึ่งการเติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเฟสบุ๊คได้น่าจะมาจากปัจจัยอยู่ไม่กี่อย่างในเวลานี้นั่นคือ
Word of mouth การพูดกันปากต่อปาก:
ไม่ต้องแปลกใจว่าเรื่องนี้มีผลต่อตัวเลขการเติบโตได้อย่างไร เพราะกระแสของการพูดกันของเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในเฟสบุ๊คนั่นเองที่ทำให้ต้องมีคนที่อยากจะรู้ว่าในเฟสบุ๊คมีอะไรน่าสนใจทำไมเพื่อนเราหรือคนรอบข้างเราถึงพูดถึงกันอยู่บ่อยๆ ที่เห็นได้ง่ายก็คือเรื่องของการแชร์รูปภาพให้ดูกัน ไม่ว่าจะเป็นภาพล่อตาล่อใจของหนุ่มๆหรือสาวๆ ข่าวภาพหลุดดาราบนเฟสบุ๊ค หรือแม้กระทั่งประเด็นร้อนแรงทางสังคมและการเมืองที่มีให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ รวมไปถึงภาพถ่ายของตัวเองและเพื่อนๆในลีลาสนุกสนานหลากหลายอารมณ์ เหล่านี้เองทำให้เกิดการพูดต่อๆกันถึงเนื้อหาที่นำไปแชร์และส่งต่อให้ได้เห็นกันในเฟสบุ๊ค
Games เล่นเกมส์:
เรารู้อยู่แล้วว่าการเล่นเกมออนไลน์เป็นรูปแบบหนึ่งของความนิยมในหมู่คนใช้อินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบเอเชียแล้วนับว่ากระแสเกมส์ออนไลน์ไม่เคยตกเลย มีเกมส์ไหนสนุกมาใหม่เป็นอันต้องเข้าไปเล่นกันอย่างถล่มทลายบ้างก็สร้างประวัติศาสตร์ถึงขั้นทำระบบล่มกันมานักต่อนักแล้ว พอมาถึงยุคของโซเชียลเกมส์ก็ยิ่งเพิ่มความสนุกในการเล่นเข้าไปอีก ทั้งการร่วมกันเล่น แบ่งปันสิ่งของระหว่างกันผ่านเพื่อนที่อยู่บนเฟสบุ๊ค หรือแม้แต่ส่งต่อเกมส์สนุกไปมาให้กันและกัน เหล่านี้เองเกิดปรากฏการณ์ใหม่สำหรับคอเกมส์ออนไลน์ทั้งหลาย ที่จะได้มีพื้นที่ในการเล่นเกมส์ใหม่ๆพร้อมสนุกไปกันเพื่อนๆที่เรารู้จักกันและก็เล่นเฟสบุ๊คอยู่ด้วย และแน่นอนว่าเกมส์ก็คือปัจจัยหนึ่งที่สามรถดึงผู้ใช้หน้าใหม่ให้เขามาเป็นสมาชิกของเฟสบุ๊คได้ไม่ยาก
Mobile มือถือ:
เรียกได้ว่าเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือได้นำพาผู้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้รวดเร็วและสะดวกสบายบวกกันฟีเจอร์ใหม่ๆที่อัพเดทอยู่เรื่อยๆ ทำให้ทุกวันนี้การใช้งานโทรศัพท์มือถือนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายและจับต้องได้มากกว่าแต่ก่อนที่เป็นเพียงการโทรออกและรับสาย พร้อมทั้งการพัฒนาเรื่อง Application และ Browser for mobile ก็พัฒนาไปมากทำให้การที่ผู้ใช้จะสามารถใช้งานเฟสบุ๊คผ่านโทรศัพท์นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ละแน่นอนว่าทางทีมงานเฟสบุ๊คเองก็อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยไม่ว่าจะเป็นการให้บริการหน้าเว็บไซต์สำหรับมือถือและ Facebook for mobile ซึ่งเป็นโปรแกรมเอาไว้ลงบนเครื่องให้เปิดเล่นได้แทบจะทุก Platform กันเลยไม่ว่าจะเป็นมือถือระบบ iOS(iPhone), Android, BlackBerry, Symian(Nokia), Windows Mobile/Phone และระบบอื่นๆก็มีให้บริการ รวมไปถึงการให้บริการสำหรับนักพัฒนาที่จะนำ API ส่วนติดต่อของเฟสบุ๊คไปพัฒนาเพิ่มเติมได้ ทำให้ยอดผู้ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือของเฟสบุ๊คก็ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการดึงฐานผู้ใช้เฟสบุ๊คให้เพิ่มขึ้นและยังคงใช้งานไปอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
Fans Page เฟสบุ๊คแฟนเพจ:
ต้องยอมรับว่าตั้งแต่ยอดผู้ใช้งานเฟสบุ๊คเมืองไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น เหล่าบรรดาสินค้าและบริการต่างๆก็พากันพาตัวเองเข้ามามีตัวตนอยู่บนเฟสบุ๊คด้วยเช่นกันทั้งนั้น หลากหลายสินค้าและบริการเลือกที่จะพาชุมชนคนที่ชื่นชอบตนเองเข้ามามีส่วนร่วมกับหน้าแฟนเเพจ (Fans page) ของตัวเองกันทั้งนั้นทั้งต่างคิดกิจกรรมต่างๆให้แฟนของตนได้ร่วมสนุก หรือไม่ก็มั่นตอบคำถามและให้ความรู้ต่างๆแก่แฟนของตนเพื่อที่จะได้ใกล้ชิดและติดตามกันไปอยู่เรื่อยๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีหลายแบรนด์ดังในเมืองไทยไม่ว่าจะเป็น Starbucks ที่มีแฟนกลุ่มใหญ่อยู่แล้วก็มาเปิดแฟนเพจและสร้างกิจกรรรมสำหรับคนไทยโดยเฉพาะ อย่างค่ายมือถือทั้ง AIS, dtac, TrueMove ก็ต่างเข้ามาดูแลลูกค้าของคนเองอยู่ตลอดทั้งตอบคำถาม ให้ข้อมูลดีๆแก่ลูกค้าของตนพร้อมทั้งคิดกิจกรรมใหม่ๆให้ได้เล่นกันอยู่เรื่อยๆ เรียกได้ว่าตลอดทั้งปี 2010 เหล่าแฟนเพจหน้าใหม่หรือหน้าเก่าของประเทศไทยมีการตื่นตัวเป็นอย่างมากที่จะเข้ามาเล่นกับผู้ใช้งานเฟสบุ๊คต่างจากที่แต่เดิมจะเป็นเพียงกลุ่มนักท่องอินเตอร์เน็ตทั่วๆไป
จากปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่าเป็นส่วนที่ทำให้ยอดผู้ใช้งานเฟสบุ๊คในเมืองไทยนั้นเติบโตสูงขึ้นและยังคงใช้งานกันอย่างต่อเนื่อง การที่เฟสบุ๊คมีพื้นที่ให้ทุกคนได้ใช้แบ่งปันข้อมูลต่างๆให้เพื่อนๆได้รู้ แชร์ แสดงความคิดเห็น หรือบ่งบอกความชอบ (Like) ได้นั้นทำให้สังคมออนไลน์แห่งนี้ดูเหมือนจะแตกต่างและอิสระกว่าที่อื่นที่พวกเขาไม่สามารถทำได้ และยิ่งมีช่องทางการเข้าถึงที่หลากหลายไม่จำกัดแต่บนเว็บเพียงอย่างเดียวเท่านั้นก็ยิ่งสร้างความประทับใจให้ผู้ใช้เป็นอย่างมาก และที่สำคัญสำหรับประเทศไทยการที่แบรนด์สินค้าต่างพากันเข้ามาทำกิจกรรมต่างๆ ก็ดูเหมือนเป็นแม่เหล็กอย่างดีที่จะพาคนไทยเข้ามาอยู่ในสังคมออนไลน์แห่งนี้มากขึ้นตามไปด้วย คงต้องดูกันต่อไปว่าในปี 2011 นี้ทิศทางของผู้ใช้งานเฟสบุ๊คที่สูงกว่า 6 ล้านคนในเวลานี้จะมีตัวเลขที่เติบโตสูงขึ้นไปหรือไม่ซึ่งประเทศไทยตัวเลขผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจาก Nectec อยู่ที่ 24 ล้านคน แล้วตัวเลขของการเข้าใช้งานยังเป็นช่วงเวลาที่นานอยู่หรือไม่ และเกมส์ออนไลน์จะติดอันดับต้นๆของเหตุผลที่ทำให้คนใช้เวลาอยู่กับเฟสบุ๊คนานๆอยู่ต่อไปไหม สุดท้ายเราจะได้เห็นบริการอะไรใหม่ๆของเฟสบุ๊คที่ทำให้คนไทยติดเฟสบุ๊คกันอย่างงอมแงมกันอีกถ้วนหน้าอีกครั้ง