การลงทุนในตลาดหุ้นบ้านเรา ส่วนใหญ่แล้วจะอิงไปกับสถานการณ์ทั่วโลก เพราะเป็นการลงทุนในต่างประเทศและทุกครั้งที่มีการรายงานข่าวด้านเศรษฐกิจโลก เรามักจะได้ยินคำว่า “ดัชนี เอสแอนด์พี 500 หรือ S&P 500 หรือ S&P” ซึ่งถ้าเป็นนักลงมือใหม่อาจจะงงๆ ว่า คืออะไร มีความสำคัญอะไรบ้างกับการลงทุน
S&P500 คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
บริษัท Standard and Poor’s ถือกำเนิดเมื่อปี 1957 เป็นบริษัทการเงินและการให้อันดับความน่าเชื่อถือตราสารทางการเงินต่าง ๆ ทั่วโลก ได้ทำการสร้างดัชนี S&P500 เพื่อเป็นเครื่องมือในการคำนวณดัชนีบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หุ้นในสหรัฐฯ จำนวน 500 บริษัท เพื่อเป็นครื่องมือในการดูทิศทางของตลาดหุ้นและเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก โดยนำหุ้นเหล่านั้นมาคำนวณด้วยวิธีเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก และบอกถึงการเติบโตของหุ้นใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้
โดยการคำนวณดัชนี S&P500 ซึ่งมีกฎเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาเช่น บริษัทนั้นต้องมีสภาพคล่องสูง รวมถึงมีการเปิดให้ซื้อและขายหุ้นในตลาดหุ้นเกิน 10% เป็นต้น ซึ่งผลจากการพิจารณาดัชนี S&P500 ส่วนใหญ่จะมีมูลค่าเกือบ 70 – 80% ของตลาดหุ้นทั้งหมดในสหรัฐฯ มีมูลค่าที่สูงมากในโลก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ตลาดหุ้นและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในช่วงนั้นได้
ตัวอย่าง บริษัท ที่ ดัชนี S&P 500 เข้าไปเกี่ยวข้องเช่น
• Amazon
• American Airlines Group
• Bank of America
• BlackRock
• CME Group
• eBay
• Expedia Group
• Apple
• Facebook
• Microsoft
• Google
• Tesla
สำหรับการพิจารณาดัชนี S&P 500 ยังสามารถบ่งชี้ได้ว่า หุ้นตัวนั้นสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในอนาคตหากเทียบกับการลงทุนในหุ้นทั่ว ๆ ส่งผลให้นักลงทุนหลาย ๆ คนจึงเลือกที่จะเข้ามาลงทุนในหุ้นต่างประเทศที่มีดัชนี S&P 500
อยากลงทุน ดัชนี S&P 500 ได้ที่ไหนบ้าง?
• ลงทุนผ่านกองทุนรวม ซึ่งนักลงทุนมือใหม่ ๆ สามารถลงทุนซื้อขายหุ้น โดยกองทุนรวมในประเทศไทย ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ไปลงทุนในสินทรัพย์อ้างอิงดัชนี S&P500 สามารถใช้เงินลงทุนจำนวนไม่มาก หรือบางบริษัทจัดการกองทุนรวม (บลจ.) อาจจะเริ่มต้นขั้นต่ำ 1,000 บาท เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ หรือนักลงทุนระยะยาว เพราะเป็นการลงทุนในตลาดหุ้นผลตอบแทนที่ได้อาจมีความผันผวนต่อสภาวะเศรษฐกิจโลกที่มากกระทบได้ ดังนั้นนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนอาจจะตอ้งใช้เป็นเงินเย็น เพื่อเป็นการออมไว้ในอนาคต
• ลงทุนผ่าน ETF (Exchange Traded Fund) เป็นกองทุนรวมดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของดัชนีหรือราคาของสินทรัพย์ที่กองทุนใช้อ้างอิง ผู้ลงทุนสามารถซื้อขาย ETF ได้เหมือนหุ้นตัวหนึ่ง โดยบริษัทจัดการกองทุนรวม (บลจ.) จะเข้าไปลงทุนในกองทุน ETF ที่อ้างอิงกับ อ้างอิงดัชนี S&P500 ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ คล้ายกับการซื้อหุ้นไทยสามารถทำกำไรได้ แต่ต้นทุนค่าธรรมเนียมสูง และมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาด้วย หากลงทุนน้อยอาจจะไม่ค่อยคุ้มสักเท่าไหร่
• ลงทุนผ่านตราสารอนุพันธ์ หรือ Contract for Difference (CFD) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นักลงทุนสามารถเข้ามาทำกำไรจากส่วนต่างของราคาสินทรัพย์อ้างอิง จึงสามารถคาดหวังผลกำไรได้จากทั้งขาขึ้นและขาลง มีต้นทุนในการซื้อขายต่ำ เหมาะกับนักลงทุนที่เน้นการเก็งกำไรระยะสั้นเพื่อให้ได้รับผลกำไรที่สูงในอนาคต แต่ก็ต้องยอมรับว่า ตราสารอนุพันธ์ลักษณะนี้ค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง หากจะเข้ามาลงทุนต้องทำการศึกษาอย่างรอบครอบ
• ลงทุนผ่าน Derivative Warrants หรือ DW คือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ที่เป็นเครื่องมือทางการเงินประเภทหนึ่งที่เราสามารถซื้อขายในกระดานหุ้นได้ เหมือนหุ้นตัวหนึ่ง โดยนักลงทุนสามารถเข้าซื้อตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของดัชนี S&P500 แบบเรียลไทม์ได้ด้วย แต่ยังมีข้อจำกัดมีค่า Time Decay ที่ทำให้ไม่เหมาะกับการถือยาว และสามารถซื้อขายแค่ช่วงเวลาเปิดตลาดไทยที่ 10.00 -16.30 น. เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนเป็นมือใหม่ และยังไม่ค่อยมั่นใจและอยากที่จะลงทุนใน ดัชนี S&P500 สามารถซื้อเป็นกองทุนแบบเฉลี่ย หรือ DCA ในการถั่วเฉลี่ยในแต่ละเดือนได้ เพื่อเก็บสะสมเป็นเงินออมในอนาคต เพราะการซื้อแบบถัวเฉลี่ยหรือ DCA มีผลดีมากกว่าผลเสีย โอกาสทำกำไรก็สูง ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องสภาวะของตลาดกับการซื้อขายนั่นเอง แต่สิ่งสำคัญที่สุดทุกการลงทุนต้องศึกษาให้รอบครอบการตัดสินใจทุกครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันเงินของเราให้ไม่ขาดทุนได้นั่นเอง