มูลค่า E-commerce ไทย ปี 2563 หดตัวเหลือ 3.78 ล้านล้านบาท กลุ่มค้าปลีกและค้าส่ง ครองส่วนแบ่งสูงสุด

  • 10
  •  
  •  
  •  
  •  

e-commerce

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ได้เปิดเผยผลสำรวจมูลค่า E-commerce ในประเทศไทย ของปี 2563 ซึ่งพบว่ามีประเด็นน่าสนใจ ดังนี้

– มูลค่า E-commerce ในปี 2563 อยู่ที่ 3.78 ล้านล้านบาท ลดลง 6.68% จากปี 2562 เนื่องจาก COVID-19 ทำให้มีมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศและภายในประเทศ รวมถึง มาตรการ Work from home ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลาย ๆ อุตสาหกรรม

– หากแบ่งสัดส่วน E-commerce ในประเทศไทย จะพบว่ามาจากกลุ่ม B2C มากที่สุด คือ 2.17 ล้านล้านบาท (ไทยครองแชมป์ มูลค่า E-commerce กลุ่ม B2C สูงสุดในอาเซียน 6 ปีติดต่อกัน) กลุ่ม B2B มูลค่า 8.4 แสนล้านบาท และกลุ่ม B2G มูลค่า 7.7 แสนล้านบาท

– คาดการณ์ว่ามูลค่าในปี 2564 จะอยู่ที่ 4.01 ล้านล้านบาท เติบโตขึ้น 6.11% จากปี 2563 แบ่งเป็นกลุ่ม B2C ราว 2.03 ล้านล้านบาท กลุ่ม B2B 1.09 ล้านล้านบาท และกลุ่ม B2G 8.9 แสนล้านบาท

E-commerce 01

 

E-commerce 04

E-commerce 03

 

 

อุตสาหกรรมไหนมูลค่า E-commerce เพิ่ม – ลด

การค้าปลีกและการค้าส่ง มีมูลค่า 1,434,663 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.70% จากปี 2562

ข่าวสารและการสื่อสาร 450,276 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.70%

การบริการอื่น ๆ 48,074 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 83.08%

ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ 16,407 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.25%

การประกันภัย 3,562 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 250.08%

ส่วน การให้บริการที่พัก มีมูลค่า 463,784 ล้านบาท ลดลง 54.1%

การผลิต 460,220 ล้านบาท ลดลง 5.02%

การขนส่ง 130,805 ล้านบาท ลดลง 4.03%

E-commerce 02

 

 

 

เทียบฟอร์ม SME vs เอ็นเตอร์ไพรส์

จากการสำรวจมูลค่า E-commerce ระหว่างผู้ประกอบการ SME กับ เอ็นเตอร์ไพรส์ จะพบว่าการเพิ่มช่องทางขายออนไลน์ของกลุ่ม SME ส่งผลให้มูลค่าอยู่ที่ 1,585,956 ล้านบาท เติบโต 13.94% (จาก 1,391,932 ล้านบาท ในปี 2562) ส่วนกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรส์ มีมูลค่า 1,421,838 ล้านบาท ลดลง 30.28% (จาก 2,039,445 ล้านบาท ในปี 2562)

ส่วนแนวโน้มในปี 2564 คาดว่ามูลค่า E-commerce จากกลุ่ม SME จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,906,109 ล้านบาท สวนทางกับกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรส์ ที่อาจลดเหลือ 1,217,482 ล้านบาท

E-commerce 05

 

ช่องทางขาย แบบไหนที่แบรนด์ฮิต

ในส่วนของช่องทางการขาย พบว่า Direct to Customer is a Trend แบรนด์นิยมขายสินค้าไปยังลูกค้าโดยตรงมากขึ้น ซึ่งหากแบ่งมูลค่า E-commerce ตามช่องทางขาย จะพบว่ามีสัดส่วน ดังนี้

E-tailer คิดเป็น 39.54%

Social Commerce คิดเป็น 21.79%

EDI คิดเป็น 15.49%

E-marketplace คิดเป็น 13.24%

OTA คิดเป็น 5.54%

ช่องทางอื่น คิดเป็น 4.40%

อย่างไรก็ตาม พบว่า E-tailer ถูกใช้เป็นช่องทางหลักในการขาย สำหรับภาคบริการทั้งหมด ขณะที่ Social Commerce และ EDI เป็นช่องทางหลักในการขายของการค้าปลีกและการค้าส่ง และการผลิต

โดย 3 อันดับแรกของอุตสาหกรรมที่มีมูลค่า E-commerce ผ่าน E-tailer สูงสุด คือ การค้าปลีกและการค้าส่ง 457,477 ล้านบาท ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 360,013 ล้านบาท และการให้บริการที่พัก 185,179 ล้านบาท

E-commerce 06

 

ผู้บริโภคชอบ จ่าย ผ่านช่องทางไหน

หากพิจารณาช่องทางที่ผู้บริโภคเลือกจ่ายค่าสินค้าและบริการแก่ผู้ประกอบการ โดยจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ SME กับ เอ็นเตอร์ไพรส์ จะพบว่าผู้บริโภคบน E-commerce นิยมใช้จ่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่

SME: เว็บไซต์/แอปพลิเคชันธนาคาร 58.56%, บัตรเครดิต/บัตรเดบิต 21.57% และเก็บเงินปลายทาง 7.62%

เอ็นเตอร์ไพรส์: เว็บไซต์/แอปพลิเคชันธนาคาร 31.52%, เช็ค 28.81% และบัตรเครดิต/บัตรเดบิต 21.15%

E-commerce 07

 

ผู้ประกอบการปรับตัวอย่างไรในยุค New Normal

จากการปรับตัวในช่วง COVID-19 พบว่าผู้ประกอบการหันมาทำธุรกิจออนไลน์ ด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ ดังนี้

เลือกใช้ Social Commerce 71.38% เพื่อเป็นช่องทางการขายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนการเริ่มต้นและการจัดการต่ำ

ใช้ VDO Conference 44.35% เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากที่สุด เนื่องจากเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่าง Work from home

เลือกเว็บไซต์ / แอปพลิเคชัน การชำระเงิน 39.64% ถือเป็นช่องทางการชำระเงินที่เพิ่มขึ้นเป็นอันดับแรก เนื่องจากผู้บริโภคคุ้นเคยกับการใช้โมบายแบงก์กิ้ง

E-commerce 09

E-commerce 08

 

ส่วนช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่ธุรกิจเลือกใช้ ได้แก่

SME: ใช้ Facebook 40.85%, Google 33.97%, LINE 9.36% และอื่น ๆ 15.82%

เอ็นเตอร์ไพรส์: ใช้ Facebook 24.28%, Google 19.85%, Influencer Marketing 16.44% และอื่น ๆ 39.43%


  • 10
  •  
  •  
  •  
  •  
Ms.นกยูง
เมื่อโลกไม่เคยหยุดหมุน เราก็ไม่ควรหยุดเรียนรู้... ชวนคุณมาทำความรู้จักหลากหลายเรื่องราว ทั้งสาระและสีสันบนโลกดิจิทัลไปพร้อมกัน