ดร. KF Lai, ซีอีโอ จาก BuzzCity เผยสำรวจข้อมูลคนไทยกับการทำธุรกรรมการเงินบนมือถือ พบว่าคนไทยก็มีลักษณะที่ไม่แตกต่างจากคนอีกกว่าพันล้านคนทั่วโลก ที่ใช้อุปกรณ์มือถือ เทคโนโลยี ตลอดจนแอพพลิเคชั่นต่างๆทุกวัน ด้วยความสนใจในการใช้อุปกรณ์มือถือนี้เอง ทำให้มีการสำรวจทั่วโลกทั้งจากผู้ที่ชอบและไม่ชอบเทคโนโลยี ในเดือนตุลาคม 2556 เราได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างกว่า 17,000 คนจาก 22 ประเทศทั่วโลก (รวมถึงประเทศไทยด้วย) เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ
ผลการสำรวจ
กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนทำงานกว่า 26% มีการทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ และอีก 16% ตั้งใจว่าจะลองใช้บริการธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ
กลุ่มที่ “ไม่มีปัญชีธนาคาร” เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตมากในตลาด
เป็นที่น่าแปลกว่า กลุ่มที่ไม่มีบัญชีธนาคารกลับมีแนวโน้มที่จะทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือมากกว่ากลุ่มที่มีบัญชีธนาคาร และยังมีการคาดการณ์อีกว่าในก้าวต่อไปของการเติบโตด้านธุรกรรมบนมือถือนั้น จะมาจากกลุ่มที่มีบัญชีธนาคารแต่ไม่เคยทำธุรกรรมบนมือถือที่มีถึง 44%
การทำธุรกรรมบนมือถือเป็นสิ่งที่ “ไม่จำเป็น”
จากผลสำรวจพบว่าคนกังวลเรื่องความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินน้อยลง แต่ก็ยังรู้สึกไม่สนใจและไม่มีความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินอยู่ดี
เราทำการสำรวจผู้ใหญ่จำนวน 6,000 คน ใน 20 ประเทศ พบว่าแม้ว่าจะมีการทำธุรกรรมบนมือถือมากขึ้น แต่มีคนอีกกว่า 2 ใน 3 หรือกว่า 33% ไม่รู้สึกว่าการทำธุรกรรมบนมือถือเป็นสิ่งจำเป็น โดยเหตุผลด้านความปลอดภัยตามที่เคยเปิดเผยได้ลดลงเหลือเพียง 19% เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วที่สูงถึง 34%
ชี้ให้เห็นข้อดี พร้อมทั้งกระตุ้นให้เห็นความจำเป็น
จุดขายของการทำธุรกรรมบนมือถือคือต้องสามารถใช้งานได้จริงและต้องเกิดประโยชน์ แต่ถ้าคนไม่รับรู้ถึงบริการและข้อดีดังกล่าวแล้ว ก็อาจเข้าใจผิดระหว่างคำว่า “ความต้องการ” กับ “ความจำเป็น”
หากผู้ให้บริการด้านการเงินไม่เห็นความสำคัญของแอพพลิเคชั่นบนมือถือ แต่กลับให้ความสำคัญในเชิงโฆษณาแทน ประกอบกับด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยและความกังวลอื่นๆยังคงมีอยู่ ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการทำธุรกรรมบนมือถือ
ผู้ให้บริการทางการเงินจึงควรตระหนักถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ ซึ่ง 17% ของกลุ่มตัวอย่างมองว่าจำเป็นที่ต้องได้รับการเสนอบริการดังกล่าวจากทางธนาคาร 11% มองว่าการทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือเป็นเรื่องยุ่งยาก และอีก 11% เช่นกันที่มองว่าโทรศัพท์มือถือของพวกเขาไม่สามารถใช้บริการดังกล่าวได้
ไม่มีความแตกต่างด้านผลสำรวจในประเทศไทย
แนวโน้มและทัศนคติของผู้ใช้ไทยที่ว่าการทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือเป็นเรื่องที่ง่ายและมีประโยชน์นั้นสูงถึง 26% ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วถึง 6%
อย่างไรก็ตาม อีกกว่า 51% ของผลสำรวจแสดงว่าพวกเขาไม่เห็นถึงความจำเป็นในการทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ ในขณะที่ความกังวลด้านความปลอดภัยนั้นลดลงจาก 41% เมื่อปีที่แล้ว เหลือ 36% ในปีนี้
สำหรับธนาคารที่ได้รับความนิยมสูงสุดได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย รองลงมาคือธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงศรีอยุธยาตามลำดับ
ใครและอะไรที่กำลังอิน
โดยภาพรวมแล้วธนาคารที่ได้รับความนิยมสูงสุดได้แก่ Barclays ตามมาด้วย Lloyds HSBC และRoyal Bank of Scotland ตามลำดับ
ในประเทศกำลังพัฒนา ที่มีการเชื่มต่อระหว่างบัญชีธนาคารและซิมการ์ด พบว่าได้รับความนิยมด้านการทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือเพิ่มมากขึ้น ซึ่งบริการธนาคารบนมือถือนี้เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในเวลาอันรวดเร็ว
กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มที่ใช้โทรศัพท์มือถือและผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ
ปรากฏการณ์การเติบโตของธนาคารบนมือถือเรียกได้ว่าเป็นโอกาสของทั้งธุรกิจการเงิน ธุรกิจโฆษณาบนมือถือ และธุรกิจธนาคารบนมือถือนั้น แต่หากภาคบริการทางการเงินไม่สามารถสื่อสารข้อดีของบริการดังกล่าวได้ ก็ไม่สามารถที่จะดุงดูดผู้ใช้ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการเผยแพร่ข้อดีและความพร้อมในด้านการใช้งานให้คนได้รับรู้