เจาะ 3 ด้านการตัดสินใจที่เปลี่ยนไปจนเกิดเป็นพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภค (New Normal) หลังสิ้นสุด COVID-19

  • 224
  •  
  •  
  •  
  •  

The New World

นับว่าเป็นเรื่องนี่น่ายินดีของประเทศไทยพี่จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่องจะอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และมีแนวโน้มที่จะสามารถควบคุมได้ แม้ว่าจะไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการยาแรง (Lockdown) แต่ถึงกระนั้นก็มีการออกมาเตือนให้ยังคงรักษามาตราการ Social Distancing ไว้ เพราะยังมีโอกาสที่ COVID-19 จะกลับมาระบาดได้อีกครั้ง

จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมาจนทำให้เกิดมาตรการต่างๆ ออกมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน จนนำไปสู่การเกิดเป็นพฤติกรรมใหม่ชั่วคราวและถาวรหรือ New Normal ซึ่งเป็นผลมาจากการตัดสินใจใน 3 ด้านที่เปลี่ยนไป ทั้งในด้านความพึงพอใจ (Gratification), ด้านเทคโนโลยีตัวแทน (Agency) และด้านความมั่นคง (Stability)

 

Gratification

กลยุทธ์แบบเจาะจงช่วยสร้างความพึงพอใจ (Gratification)

หลังสิ้นสุดการระบาด COVID-19 ความรู้สึกปลดปล่อยและอิสระเสรีจะกลับมาท่วมท้น พร้อมๆ กับความต้องการเฉพาะบุคคลก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นผลพวงจากการที่ต้องกักตัวอยู่ในบ้านตลอดช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้หลายธุรกิจพยายามใช้กลยุทธ์เพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละคน (Personalized) เพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากที่สุด

โดยเฉพาะในเรื่องของสินค้าทดแทนที่อยู่นอกประเภท (Category) ในราคาที่ถูกลง (เป็นผลมาจากข้อจำกัดด้านการเงินช่วงที่ต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้าน) หรือการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ขนาดและปริมาณ (Sizing) โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนจากซื้อน้ำหอมในราคาแพง มาเป็นซื้อสบู่ที่ผลิตจากบริษัทน้ำหอมในราคาที่ถูกลง

คาดว่าธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์เพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละคน (Personalized) จนเกิดการเปลี่ยนแปลงจนนำไปสู่พฤติกรรมผู้บริโภคใหม่ จะอยู่ในกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ, e-Sport, อุปกรณ์ออกกำลังกายในบ้าน, การศึกษาออนไลน์, Video Streaming, AR เป็นต้น

 

grocery-delivery-agency

ตรวจสอบและดำเนินการจัดซื้อด้วยเทคโนโลยี (Agency)

ในช่วงเวลาที่ต้องกักตัวอยู่ในบ้าน แน่นอนว่าสิทธิและเสรีภาพบางส่วนหายไป เพื่อให้สถานการณ์การระบาด COVID-19 คลี่คลายลง แต่ถึงกระนั้นหลายคนก็ต้องการสิทธิและเสรีภาพบางอย่างเข้ามาทดแทน เช่น การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยตรวจสอบสินค้าที่เหลืออยู่ในตู้เย็น ซึ่งระบบสามารถสั่งซื้อได้อัตโนมัติ ช่วยให้ยังคงมีเสบียงไว้ใช้ในช่วงกักตัว

โดยธุรกิจที่ให้ความสำคัญด้านนี้ จะเป็นกลุ่มช้อปปิ้งออนไลน์เป็นหลัก แม้ในประเทศไทยจะยังไม่ถึงกับต้องใช้มาตราการยาแรง (Lockdown) จนต้องถึงขั้นให้เทคโนโลยีสั่งสินค้าให้ เพราะห้างสรรพสินค้าในส่วนซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อก็ยังสามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ หากแต่ประเทศไทยจะเน้นไปที่บริการ Delivery ซึ่งเป็นเทคโนโลยีตัวแทนในการสั่งอาหารเป็นหลัก

 

Worker

ความมั่นคงของแบรนด์ดูได้จากความแข็งแกร่งช่วงวิกฤติ (Stability)

นอกจากเรื่องของกลยุทธ์แบบเจาะจงเฉพาะบุคคลและเรื่องของเทคโนโลยีแล้ว สิ่งที่เป็นพฤติกรรมใหม่ (New Normal) ในการตัดสินใจซื้อสินค้า คือ เรื่องความมั่นคงของแบรนด์ที่มีต่อสังคม เช่น ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม หรืออย่างในช่วงสถานการณ์ COVID-19 บริษัทใดยังสามารถรับมือสถานการณ์ได้โดยไม่มีผลกระทบต่อพนักงาน ผู้บริโภคจะมองบริษัทนั้นว่ามีความมั่นคง ซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของแบรนด์นั้นๆ

 

Source: Forbes


  • 224
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา