เฮ้อ… เครียด เครียด เครียด งานก็เยอะ เรื่องก็แยะ แถมยังมีแฟนขี้บ่นอีกต่างหาก (อันหลังเติมเอง ฮ่าฮ่าฮ่า) วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าเครื่องดื่มชนิดไหนจะช่วยคุณสลายกองงานล้นโต๊ะที่กองสุมกันมาเป็นสัปดาห์ๆ อย่างหมดจด วัดกันไปเลย! ระหว่างเบียร์กับกาแฟ แก้วไหนจะเจ๋งกว่ากัน! สนับสนุนข่าวและห้ามมวยโดย ilovecoffee ซึ่งนำผลทดลองทางวิทยาศาสตร์ของ Mikael Cho มาตีแผ่เป็น infographic ให้เราดูกัน ยกหนึ่งเริ่ม! เป๋ง!
เนื้อหาสำคัญ
สมองของคุณเมื่อได้รับเบียร์ หรือ กาแฟ
มุมน้ำเงิน: ฝ่ายเบียร์
ส่วนนี้ของสมองเรียกว่า ซีเรบรัม คอร์เทกซ์ ซึ่งควบคุมสติ ความคิด ภาษาและการตอบสนอง
เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ซิริบรัม คอร์เทกซ์ คุณจะสามารถตั้งสมาธิได้ดีขึ้นเพราะมันทำให้สมองคุณปลอดจากสิ่งกวนใจอื่นๆ
และเมื่อปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดถึง 0.07 (ประมาณ 2 แก้ว)
คุณก็จะ MORE CREATIVE!
ข้อดี
เบียร์ทำให้คุณไม่ค่อยกังวลโลกรอบๆ ตัวคุณ และทำให้สมองสามารถเชื่อมโยงไอเดียในส่วนลึกของสมอง คุณจึงสามารถสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว
ข้อเสีย
เบียร์เพียงสองแก้วอาจทำให้คุณไม่สามารถตั้งสมาธิและลดความสามารถในการจดจำ
เวลาที่ดีที่สุดในการดื่ม
เบียร์ดีที่สุดหากคุณต้องการหาความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ
มุมแดง: กาแฟ
เมื่อสารอเดโนเซียเข้าไปกระตุ้นอเดโนเซียรีเซฟเตอร์ คุณจะรู้สึกเซื่องซึม
แต่เมื่อสารคาฟเฟอีนเข้าไปแทนที่และทำการกระตุ้นอเดโนเซียรีเซฟเตอร์แท
นั้นหมายความว่า 5 นาทีให้หลังคุณจะมีพลังงานมากขึ้น
ข้อดี
คาฟเฟอีนจะมีผลอยู่เพียง 5 นาทีซึ่งจะทำให้คุณมีพลังงานและเพิ่มความสามารถในการโฟกัสสิ่งต่างๆ
ข้อเสีย
ดื่มเพียงเล็กน้อยจะทำให้ร่างกายของคุณเริ่มด้านชาและต้องการดื่มมากขึ้นเรื่อยๆ
เวลาที่ดีที่สุดในการดื่ม
ดีเมื่อคุณมีไอเดียอยู่แล้วและต้องการลุยกับงานตรงหน้าให้เสร็จ
อย่างไรก็ตาม! การดื่มมากเกินไปจะไม่เกิดผลดีใดๆ เดินทางสายกลางนะพวก!
แถมท้ายตอนจบกับหัวข้อ…
อะไรคือความคิดสร้างสรรค์
เว็บ medium อ้างอิงมุมมองทางวิทยาศาสตร์ให้คำจำกัดความ “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้ว่า ความสามารถในการคิดถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดแบบต้นฉบับ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างไอเดียก่อนหน้านี้ที่มีสุมอยู่ในสมองคุณ การสร้างควาเชื่อมโยงดังกล่าวเกิดจากสารอะดิโนซีนซึ่งช่วยให้สมองตื่นตัวเมื่อหมดแรงและทำให้กระบวนการเชื่อมโยงเซลล์ประสาทช้าลงเพื่อค้นหาพลังงานที่แอบซ่อนอยู่ในร่างกายขณะนั้น ข้างต้นเป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่อคุณทำงานอย่างเคร่งเครียดติดต่อกันหลายชั่วโมงจึงเริ่มรู้สึกเหนื่อยหอบ นั้นเพราะของเหลวในสมองเหือดหายไปหมดนั้นเอง