เปิดอินไซต์โซเชียลมีเดีย ที่นิยมทำ Influencer Marketing มากที่สุดในเอเชีย พร้อม 5 เทรนด์สำคัญที่ไม่ควรพลาด

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

Influencer Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดที่ต้องยอมรับว่าเติบโตอย่างไม่หยุด และมีหลายแพล็ตฟอร์มที่ใช้ แต่แพล็ตฟอร์มไหนที่ประสบความสำเร็จและเหมาะสมกับแคมเปญการตลาดของคุณ ทั้งนี้  AnyMind Group ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มที่ช่วยส่งเสริมธุรกิจครบทุกขั้นตอน (End-to-end Commerce Enablement Platform) เปิดเผย รายงานเจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับการตลาดด้านอินฟลูเอนเซอร์และเศรษฐกิจของครีเอเตอร์ในเอเชีย ประจำปี 2564 โดยมีข้อมูลอ้างอิงจากรายงาน The State of Influencer Marketing in Asia 2020 ที่เผยแพร่ไปเมื่อเดือนกันยายน 2563 ซึ่งทำให้เราเห็นภาพ Influencer Marketing และภาพกว้างของเศรษฐกิจครีเอเตอร์โดยเฉพาะในเอเชีย

 

สำหรับรายงานฉบับนี้ รวบรวมข้อมูลจาก Influencer มากกว่า 200,000 คน จากแพลตฟอร์ม AnyTag และข้อมูลแคมเปญการตลาดด้าน Influencer มากกว่า 2,000 แคมเปญ ทั่วทั้งเอเชียตลอดช่วงที่ผ่านมา โดยตัวเลขความถูกต้อง ณ วันที่ทำการเผยแพร่

 

อย่างไรก็ตาม ไม่มีการรวมแพล็ตฟอร์ม TikTok โดยผู้รวบรวมอ้างว่า เนื่องจากยังต้องการคงเสียรภาพในการให้ผลข้อมูลเชิงลึก อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการเพิ่มเข้ามาในปีหน้า เมื่อแพล็ตฟอร์มดังกล่าวสามารถวัดผลและเก็บข้อมูลได้มากขึ้น

 

สำหรับรายงาน The State of Influencer Marketing in Asia 2020 รวบรวมข้อมูลจากหลายประเทศด้วยกัน ทั้ง กัมพูชา ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม รวมไปถึงอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดที่น่าจับตามองทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ปลายปี 2020 มีการใช้ Influencer สูงสุด ก่อนจะลดต่ำลง

ถึงแม้ว่าในช่วงแรกของการเกิดโรคระบาด จะทำให้ตัวเลขของการทำแคมเปญการตลาดด้วย Influencer ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีจำนวนมากขึ้น เช่น แคมเปญจากแบรนด์ต่างๆ ที่สนับสนุนให้ผู้ชมอยู่บ้าน แต่ตัวเลขนั้นกลับลดลงในช่วงเวลาต่อมา ในขณะเดียวกันแบรนด์ก็ได้เริ่มกลับมาทำแคมเปญด้าน Influencer ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แทน ด้วยปริมาณของแคมเปญเกี่ยวกับแบรนด์ยังคงสม่ำเสมอ

สำหรับตัวเลขการจัดแคมเปญที่พุ่งขึ้นสูงในช่วงเดือนพฤศกิจกายนและธันวาคม ปี 2020 เนื่องมาจากเป็นฤดูกาลที่ต้องการการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในช่วงท้ายปี โดยในระยะหลังมีแคมเปญการตลาดด้าน Influencer เพียงไม่กี่ราย ที่ยังต้องการให้ Influencer เข้าร่วมงานอีเวนท์ เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณก่อนเกิดโรคระบาด เนื่องจากข้อจำกัดในด้านการเดินทาง

 

Influencer Marketing เริ่มขยายไปสู่กลุ่ม Niche มากขึ้น

ภาพรวมของแคมเปญการตลาดด้าน Influencer จำนวนกว่า 2,000 รายการที่อยู่บนแพล็ตฟอร์ม AnyTag ในปีก่อนหน้านี้ ยังไม่มีเทรนด์ไหนที่โดดเด่นเป็นพิเศษ เมื่อเปรียบเทียบจากความต่างระหว่างแคมเปญที่ขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ (awareness-driven) และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (performance-driven) ในแต่ละเดือน เหตุผลหนึ่งคือเพราะตอนนี้การทำแคมเปญการตลาดด้าน Influencer เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิภาพยังเป็นเพียงการเริ่มต้นอยู่

แต่เมื่อลองมองที่สัดส่วนของแคมเปญที่ขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเทียบกับแคมเปญที่ขับเคลื่อนเพื่อสร้างการรับรู้ในแต่ละตลาด

  • อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย จัดทำแคมเปญที่เน้นประสิทธิภาพเป็นหลัก
  • อินเดีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม จัดทำแคมเปญเพ่อสร้างการรับรู้เป็นหลัก

เพราะฉะนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้จึงคาดหวังกันว่าจะได้เห็นแคมเปญที่ขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเกิดเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ เนื่องจากการทำการตลาดด้วย Influencer เริ่มขยายการตั้งกลุ่มเป้าหมายสู่กลุ่มคนที่เฉพาะแบบหรือกลุ่ม niche มากยิ่งขึ้น

 

Instagram ได้รับความนิยมสูงสุด ในการทำ Influencer Marketing

ในรายงานของปี 2563 ซึ่งเคยรายงานไปว่า Twitter เป็นแพล็ตอร์มที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับการตลาดด้วย Influencer และ ปัจจุบันในปี 2564 ก็ยังมีการเติบที่เพิ่มขึ้นดังที่คาดไว้

โดยตั้งแต่กันยายนปี 2563 แคมเปญบน Twitter มีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 165.03% เมื่อเทียแบบปีต่อปี ตามมาด้วย Youtube เพิ่มขึ้น 117.92% Facebook เพิ่มขึ้น 68.68% และ Instagram เพิ่มขึ้น 44.34%

ทั้งนี้ยังพบว่า  Instagram เป็นแพล็ตฟอร์มที่ถูกใช้สำหรับการทำ Influencer Marketing มากที่สุดในปีที่ผ่านมา ด้วยสัดส่วน 37.08% ตามมาด้วย Facebook 27.53%  Youtube 19.44%  และ Twitter 15.95% โดยคิดเปอร์เซ็นต์สัดส่วนมาจากจำนวนแคมเปญที่เกิดขึ้นในแต่ละแพล็ตฟอร์ม

Top Platform for Influencer Marketing

  • 08% Instagram
  • 53% Facebook
  • 44% Youtube
  • 95% Twitter

แพล็ตฟอร์มที่ Influencer ในเอเชีย เลือกใช้บ่อยที่สุด

พฤติกรรมผู้บริโภคและการใช้โซเชียลมีเดียที่หลากหลายของชาวเอเชีย สะท้อนให้เห็นถึงการนำเสนอคอนเทนต์ของเหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์ ผ่านแพล็ตฟอร์มต่างๆ ดังนี้

  • Influencer ในฮ่องกง จะนิยมใช้ Instagram มากที่สุด
  • ขณะที่ Facebook จะเป็นที่นิยมของ Influencer ที่ประเทศเมียนมาร์
  • ส่วน Youtube ยังครองเป็นแพล็ตฟอร์มอันดับ 1 ในตลาด กัมพูชา ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินเดีย
  • ขณะที่ Twitter มีตลาดที่แข็งแกร่งที่สุดจากกลุ่ม Influencer ในญี่ปุ่น

 

Micro-influencers มีปริมาณมากที่สุด แต่ Macro-influencers เติบโตสูงสุด

รายงานได้แสดงให้เห็นว่า Micro-influencers (ผู้ติดตาม 10,000 ถึง 100,000 คน) ถึงแม้จะเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของอินฟลูเอนเซอร์ 44.08% คือ แต่ Macro-influencers (ผู้ติดตาม 100,000 ถึง 1 ล้านคน) กลับมีอัตราการเติบโตในปีที่ผ่านมาสูงถึง 4.3 เท่า อยู่ที่ 65.65% เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของ Micro-influencer ซึ่งอยู่ที่ 15.05%

กลุ่มตลาดที่มีสัดส่วนของ Nano-influencer มากที่สุดคือ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ขณะที่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน มีสัดส่วน Micro-influencer มากที่สุด ส่วน เวียดนาม ถือเป็นประเทศที่มีอัตราส่วนความหลากหลายของ Influencer ประเภทต่างๆ ได้ดีที่สุด

5 เทรนด์ Influencer Marketing ที่สำคัญในเอเชีย

ในช่วงปีที่ผ่านมา เริ่มมีเทรนด์สำคัญอยู่ 5 เทรนด์ ซึ่งปรากฏขึ้นอย่างน่าสนใจ และเห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

 

1.การสร้างและเปิดตัวแบรนด์ของ Influencer

Influencer ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย เริ่มมีการเปิดแบรนด์สินค้าของตัวเองขึ้นมา ซึ่งขับเคลื่อนจากความเชี่ยวชาญของตัวเองในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความชอบหรือประสบการณื เช่น นางแบบชาวญี่ปุ่น Mirai Saittau ที่ผ่านการรับรองในการเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการนอนหลับ เปิดตัวแบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อการนอนหลับในชื่อ SLEEE ซึ่งแบรนด์นี้มีสินค้าอาทิ ชุดนอน เครื่องหอมจากเกลือ Epsom ผลิตภัณฑ์ให้ความหอมสำหรับฉีดหมอน หมอนประคบดวงตา ฯลฯ

สิ่งนี้จะหมายถึงอะไรสำหรับ Marketer and Brand

ทั้งนี้ การที่ Influencer สร้างความสัมพันธ์กับผู้ชมได้ใกล้ชิดอย่างมาก ทำให้เหล่าผู้ติดตามสามารถเข้าถึงคุณค่าของสินค้าจาก Influencer ได้ดียิ่งขึ้น และเกิดการเลือกซื้อสินค้าที่มาจาก Influencer ด้วยความชอบมากกว่าสินค้าทั่วไปในเว็บออนไลน์อื่นๆ

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสามารถของ Influencer ที่สามารถกระตุ้นพฤติกรรมของผู้ติดตาม ด้วยการเข้าไปมีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อของผู้อื่นได้ การที่ Influencer สามารถผสมผสานเรื่องราวของแบรนด์ตัวเองและแบรนด์ที่ร่วมงานได้อย่างแนบเนียนก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากผู้ติดตามจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปกติในคอนเทนต์หรือเกิดความไม่น่าเชื่อถือในภายหลังได้ ดังนั้น นักการตลาดและแบรนด์ จะต้องหาวิธีในการรับมือด้วยข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม ไม่ว่าจะโดยการใช้แพล็ตฟอร์มการตลาดด้าน Influencer ที่มีข้อมูลเหล่านี้ หรือสร้างความสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้นกับ Influencer

 

2.ธุรกิจแบบ Direct-to-Consumer และ Ecommerce

พฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดเทรนด์ธุรกิจแบบการผลิตสู่ผู้บริโภคโดยตรง (Direct-to-Consumer หรือ D2C) และธุรกิจ Ecommerce นั่นหมายความว่านักการตลาดจะมีช่องในการสื่อสาร (Touchpoint) กับกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปจัดการและเก็บข้อมูล โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการทำการตลาดด้วย Influencer จำเป็นต้องใช้การวัดผลด้วยยอดคลิกและการตอบโต้ของลุกค้า (Conversion) มากกว่าการติดตามแค่ตัวเลขคนกดไลค์ คอมเมนต์ หรือแชร์

มุมของ “นักการตลาด” – จะต้องทำงานร่วมกับ Influencer ที่หลากหลาย เพื่อหาเส้นทางใหม่ๆ สำหรับกระตุ้นการพูดคุยและการคลิกของผู้ชมผ่านคอนเทนต์ และวางแผนการใช้ประโยชน์จากเทรนด์เศรษฐกิจครีเอเตอร์ เพื่อให้เกิดการตอบโต้และโอกาสร่วมงานในอนาคตขึ้นอีก นอกจากนี้ การทำโลจิสติก ยังกลายเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญสำหรับการสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้า และสำหรับการขายของออนไลน์ จะเป็นจุดเดียวที่สามารถติดต่อลูกค้าได้ โดยทั้งข้อมูลและประสบการณ์ให้บริการลูกค้าในด้านการขนส่งถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญของนักการตลาดที่ต้องคำนึงถึง

มุมของ Influencer – ก่อนหน้านี้อาจจะมอง Influencer Marketing เป็นช่องทางการสร้างการรับรู้ (awareness) ให้กับแบรนด์เพียงอย่างเดียว แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการตลาด การเพิ่มขึ้นของเหล่า Influencer และการเติบโตขึ้นของการค้าขายออนไลน์ ทำให้นักการตลาดเกิดความเชื่อถือในการทำ Influencer Marketing มากยิ่งขึ้น ให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจ แต่ในอนาคตรายละเอียดในแคมเปญอาจะมีการตั้งค่า KPI ขึ้นมาด้วย เช่น จำนวนการตอบโต้ (Conversion) จำนวนคลิก การสั่งซื้อ การลงทะเบียน และอื่นๆ ซึ่งจะเปลี่ยนวิธีการทำงานของแคมเปญในแบบเดิมๆ ให้สามารถขับเคลื่อนคอนเทนต์ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนผู้ติดตามให้เป็นลูกค้าสำหรับแบรนด์นั้นๆ

ดังนั้น คำแนะนำคือ การทำงานร่วมกับนักการตลาดอย่างใกล้ชิดเพื่อเข้าใจว่าอะไรคือปัจจัยในการช่วยสร้างยอดขายสินค้าให้แก่แบรนด์ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จากตรงนั้นขึ้นมา

 

3.การเติบโตของโซเชียลคอมเมิร์ซ (Social Commerce)

โซเชียลคอมเมิร์ซ (Social Commerce) เป็นการค้าขายผ่านแพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แพล็ตฟอร์มเหล่านี้จึงได้มีการเพิ่มฟีเจอร์เพื่อสนับสนุนการค้าขายออนไลน์ให้พร้อมใช้งานได้แล้วในบางประเทศ โดยมี TikTok ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแพล็ตฟอร์มใหม่ล่าสุดที่กำลังจะเข้าร่วมด้วย ในขณะที่ฟีเจอร์โซเชียลคอมเมิร์ซมีในแพล็ตฟอร์มของจีนมานานหลายปีแล้ว

แบรนด์และ Influencer ที่มีช่องทางสำหรับการค้าขายอยู่แล้ว การใช้ โซเชียลคอมเมิร์ซ จะทำให้ผู้ซื้อสามารถดำเนินการซื้อทุกขั้นตอนได้อย่างง่ายดายภายในแพล็ตอร์มเดียว ตั้งแต่การค้นหาผลิตภัณฑ์ หารีวิวจากประสบการณ์ผู้ใช้ และทำการซื้อ

นอกจากนี้ ในการทำโซเชียลคอมเมิร์ซ (หรือบนแพล็ตฟอร์มอื่นๆ ก็ตาม) การค้าแบบบทสนทนา (Conversational commerce) เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้ผู้สนใจสามารถถามคำถามและทำการสั่งซื้อโดยตรงจากผู้ขายผ่านแอปพลิเคชั่นแชทได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นจุดเชื่อมต่อกับลูกค้า (touchpoint) อีกมากมายที่ต้องจัดการ และสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเติมเต็มจุดเชื่อมต่อเหล่านี้คือการนำการตลาด้าน Influencer เข้ามาใช้

นักการตลาดควรสร้างเป้าหมาและวัตถุประสงค์ พร้อมกับการเปิดช่องทางสำหรับทำโซเชียลคอมเมิร์ซให้ตรงกับแพล็ตฟอร์มที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ ซึ่งส่วนนี้จะเป็นตัวกำหนดในการวางแผนและดำเนินแคมเปญการตลาด้วย Influencer โดย Influencer จะเป็นตัวช่วยในการผลักดันผู้ติดตามไปสู่ช่องทางโซเชียลคอมเมิร์ซของแบรนด์ หรือแม้แต่จะเสนอขายแบบเดียวกันผ่านช่องทางของอินฟลูเอ็นเซอร์เองได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับช่องทางที่เลือก

 

4.การสมัครสมาชิก (Subscription) เพื่อติดตามผู้เชี่ยวชาญ

มี Influencer มากมายที่ได้สร้างชื่อให้กับตัวเองด้วยการสร้างคอนเทนต์จากความเชี่ยวชาญในด้านเฉพาะตัว และได้ทำการเก็บเนื้อหาบางส่วนไว้เผยแพร่สำหรับกลุ่มผู้ติดตามที่ได้สมัครเป็นสมาชิกหรือจ่ายค่าบริการในการรับชมแล้วเท่านั้น

Influencer จะมองข้อมูลเชิงลึกในแต่ละหัวข้อ ตั้งแต่เบื้องหลังวิดีโอ หนังสือออนไลน์ สูตรทำอาหาร ห้องเรียนออนไลน์และอื่นๆ ให้แก่ผู้ติดตามในกลุ่มเท่านั้น เพื่อสร้างกลุ่มแบบ niche โดยแพล็ตฟอร์มอย่าง Patreon และ Twitch เปิดให้ Influencer สามารถใช้บริการ out-of-box subscription ได้แล้ว ซึ่งแม้แต่บริษัทโซเชียลมีเดียก็เข้าร่วมสังสรรค์ด้วย ตั้งแต่ฟีเจอร์ WeChat Paywall, Twitter Super Follows ไปกระทั่ง Youtube Membership แม้แต่ Instagram ก็มีรายงานว่ากำลังจะสร้างสิ่งที่คล้ายกันนี้ออกมา ระบบนี้คล้ายกับการที่ Influencer เริ่มทำแบรนด์ของตัวเองเพื่อเพิ่มช่องทางรายได้จากการชำระค่าสมาชิกของผู้เข้าชม ซึ่งนี่อาจจะกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายต่อนักการตลาดและการร่วมงานกับแบรนด์ต่างๆ เนื่องจากดูเหมือนว่า Influencer ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งแต่สปอนเซอร์เพียงอย่างเดียวแล้ว ดังนั้น นักการตลาดจึงมีโอกาสใหม่ๆ ในการทำคอนเทนต์ร่วมกับ Influencer ด้วยการจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้ชมที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และขณะเดียกวัน เมื่อผู้ชมเห็นว่าแบรนด์มีการร่วมมือกับ Influencer เพื่อนำมาเผยแพร่บนพื้นที่คัดสรรสำหรับกลุ่มผู้ติดตามแบบพรีเมียมแล้ว จึงเกิดเป็นความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

เมื่อเศรษฐกิจครีเอเตอร์แข็งแกร่งขึ้น โอกาสและความท้าทายก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน สำหรับนักการตลาดจึงจำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือกับเทานด์การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้

 

5.การจัดเก็บข้อมูล

ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้นสำหรับ Influencer Marketing เพื่อให้นักการตลาดสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแคมเปญอินฟลูเอ็นเซอร์ได้โดยตรง รวมถึงข้อมูลเชิงลึกต่างๆ เกี่ยวกับ Influencer Marketing เช่น ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ได้จากแคมเปญ และด้วยการเกิดขึ้นของ 4 เทรนด์ก่อนหน้าที่กล่าวไป นักการตลาดสามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ Influencer มาใช้เพื่อช่วยกระตุ้นการขายและเพิ่มการปฏิสัมพันธ์จากผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ Influencer ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผู้ติดตามของพวกเขาได้อีกด้วย ตั้งแต่แฟนๆ ระดับต้นไปจนถึงผู้ที่มีส่วนร่วมด้วยมากที่สุด ตลอดจนประเภทของแบรนด์ที่ได้ร่วมงานด้วย ไปจนถึงกลยุทธ์ของธุรกิจร่วมค้าและการประเมินโดยใช้ข้อมูลสำรหับวางกลยุทธ์ของคอนเทต์ ซึ่งเราเริ่มจะเห็นจุดข้อมูลที่ถูกเปิดเผยมากขึ้น สำหรับทั้งนักการตลาดและ Influencer ให้สามารถเลือกใช้งานได้

ในมุมนักการตลาด – จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายเพื่อให้สามารถทำแคมเปญการตลาดในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในมุม Influencer – จะต้องทำความเข้าใจในข้อมูลเป็นอย่าดงีเพื่อสร้างคุณค่าให้ทั้งแบรนด์และผู้ติดตามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

ทั้งหมดนี้คือ ภาพรวมของแคมเปญการตลาดด้าน Influencer ในภูมิภาคเอเชีย รวมไปถึง 5 เทรนด์ที่น่าจับตามมองในวันนี้ ซึ่งไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้กลยุทธ์ Influencer Marketing สูงมากทีเดียว ดังนั้นเชื่อว่าจากรายงานชิ้นนี้น่าจะมีประโยชน์ทั้งต่อนักการตลาดไทยและแบรนด์ที่จะนำไปพัฒนา ปรับปรุงและประยุคต์ใช้กับแคมเปญให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไปได้

สามารถดาวน์โหลดรายงาน State of Influence in Asia 2021 ฉบับเต็มได้ที่  https://anymindgroup.com/th/news/report/15014/


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!