อินโดนีเซียถือเป็นตลาดที่เสี่ยงที่สุดสำหรับการโฆษณาดิจิทัลของหลายแบรนด์ ทั้งบนแพลตฟอร์ม PC และบนแพลตฟอร์มบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Smartphone, Tablet) ตามรายงานล่าสุดจาก Integral Ad Science (IAS) ตามรายงานระบุว่า ความเสี่ยงต่อแบรนด์ในประเทศอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกบนแพลตฟอร์ม PC และเพิ่มขึ้นถึง 2.75 เท่าเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกบนแพลตฟอร์มบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Smartphone, Tablet)
นอกจากรายงาน IAS ในหัวข้อคุณภาพของการใช้สื่อ (Media Quality Report – MQR) ชี้ให้เห็นถึงช่วงครึ่งปีหลังของปี 2020 ความเสี่ยงต่อแบรนด์ในอินโดนีเซียสูงขึ้นถึง 8.2% สำหรับการแสดงผลบนแพลตฟอร์ม PC เมื่อทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 4.4% และ 16% สำหรับการแสดงผลบนแพลตฟอร์มบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Smartphone, Tablet) เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 5.8%
โดยรายงานยังได้ระบุความเสี่ยงของแบรนด์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อภาพลักษณ์หรือชื่อเสียงในระดับต่างๆ กัน ผ่านรูปแบบเนื้อหา 8 หมวดหมู่ ได้แก่ เนื้อหาเฉพาะผู้ใหญ่, เนื้อหาเกี่ยวกับแอลกอฮอล์, เนื้อหาเกี่ยวกับการพนัน, เนื้อหาแสดงคำพูดความเกลียดชัง, เนื้อหาเกี่ยวกับการดาวน์โหลดที่ผิดกฎหมาย, เนื้อหาเกี่ยวกับยาเสพติด, เนื้อหาที่มีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม และเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง
นอกจากนี้ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ติดรายการประเทศที่แบรนด์ต้องระวังความเสี่ยงในการโฆษณาดิจิทัล โดยมีความเสี่ยงต่อแบรนด์สูงถึง 5.6% สำหรับการแสดงผลบนแพลตฟอร์ม PC โดยญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 5 รองจากอินโดนีเซีย, อาร์เจนตินา, สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ขณะที่มีความเสี่ยงต่อแบรนด์สูงถึง 10.4% สำหรับการแสดงผลบนแพลตฟอร์มบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Smartphone, Tablet) เป็นรองเพียงอินโดนีเซียเท่านั้น เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปี 2019 ญี่ปุ่นมีความเสี่ยงต่อแบรนด์อยู่ที่ 3.2% บนแพลตฟอร์ม PC และ 7.6% บนมือถือ ในความเป็นจริงญี่ปุ่นมีความเสี่ยงด้านแบรนด์ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นอันดับสองในการแสดงผลบนเดสก์ท็อป (รองจากสหราชอาณาจักร) และเพิ่มขึ้นสูงสุดทั่วโลกในการแสดงผลเว็บบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
การฉ้อโกงบนโฆษณาดิจิทัล
จากรายงาน IAS พบว่า ญี่ปุ่นกลายเป็นตลาดที่มีการฉ้อโกงโฆษณาดิจิทัลทั้งบนแพลตฟอร์ม PC ถึง 2.9% และบนแพลตฟอร์มบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Smartphone, Tablet) ถึง 2.7% เมื่อเทียบค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 0.8% สำหรับบนแพลตฟอร์ม PC และ 0.4% สำหรับบนแพลตฟอร์มบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Smartphone, Tablet) ขณะที่ในประเทศออสเตรเลีย พบว่า มีการฉ้อโกงโฆษณาดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบวิดีโอบนแพลตฟอร์ม PC แม้ว่าจะมีระบบป้องกันการฉ้อโกงโฆษณาที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเพื่อลดการฉ้อโกง
การเข้าถึงโฆษณาดิจิทัลและการจัดการความเสี่ยง
นอกจากนี้ประเทศออสเตรเลียยังเป็นตลาดเดียวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่สัดส่วนการเข้าถึงโฆษณาดิจิทัลบนแพลตฟอร์มอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Smartphone, Tablet) เพิ่มขึ้นจาก 69.9% ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2019 เป็น 73.0% ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2020 ขณะที่เพื่อนบ้านอย่างประเทศนิวซีแลนด์การเข้าถึงโฆษณาดิจิทัลบนแพลตฟอร์มอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Smartphone, Tablet) กลับลดลงอย่างมาก โดยลดลงถึง 12.4% ทั้งนี้ในรายงาน IAS ยังพบว่า การแสดงผ่านวิดีโอช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อแบรนด์ทั่วโลกในปี 2020 ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณการแสดงโฆษณาดิจิทัลในรูปแบบวิดีโอที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการอยู่บ้านของผู้บริโภคจากสถานการณ์โรคระบาด โดยรายงาน IAS ยังระบุว่า เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่คือความเสี่ยงหลักของแบรนด์ที่เพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบทั่วโลก ตามมาด้วยเนื้อหาที่แสดงถึงคำพูดที่เกลียดชัง จากการวัดความเสี่ยงของแบรนด์ในกลุ่มประเทศ APAC พบว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ซึ่งแบรนด์ไม่เพียงแค่ตรวจสอบแต่ต้องปรับตัวให้เหมาะสมจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
ซึ่งความท้าทายในปี 2020 นักการตลาดต้องไม่ลืมอัปเดตความเหมาะสมของแบรนด์เป็นประจำ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในตลาดอย่างต่อเนื่องและอาจส่งผลต่อความเหมาะสมของแบรนด์ รวมถึงอาจกระทบต่อการกำหนดเป้าหมาย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมและส่งผลต่อยอดขาย (ROI)
Source: Campaign Asia