สรุปสถิติ Digital 2025 ทั้งจากทั่วโลกและในประเทศไทย

  • 38
  •  
  •  
  •  
  •  

โลกดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของทุกคนแทบจะโดยสมบูรณ์แบบแล้ว เห็นได้จากพฤติกรรมที่เข้าสู่โลกดิจิทัลตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเข้านอน จะถ้าจะให้เห็นภาพการใช้งานดิจิทัลอย่างชัดเจนคงต้องอาศัย Data พฤติกรรมการเข้าสู่โลกออนไลน์

ซึ่งจากความร่วมมือระหว่าง We Are Social และ Meltwater ในการจัดเก็บข้อมูลด้านสถิติ ข้อมูลเชิงลึกและเทรนด์ต่างๆ ในด้าน “สถานะของดิจิทัล” ในปัจจุบัน โดยสรุปรายงานพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้ใช้งานทั่วโลกเป็นประจำทุกปี โดยล่าสุดได้มีการเผยแพร่รายงาน “Digital 2025” ที่จะชี้ให้เห็นเทรนด์และพฤติกรรมของการใช้งานดิจิทัลทั่วโลกและการใช้งานดิจิทัลในประเทศไทย โดยสรุปออกมาได้ดังนี้

 

ภาพรวมประชากรชี้ไทยเริ่มเข้าสู่ยุค Aging

สำหรับภาพรวมการใช้งานดิจิทัลทั่วโลก พบว่า

– ประชากรโลกมีอยู่ประมาณ 8,200 ล้านคน เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง มีผู้ชายราว 50.3% ขณะที่มีผู้หญิงเพียง 49.7% โดยมีประชากรเพิ่มขึ้นเพียง 0.9% เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา

– สำหรับประชากรที่อยู่ในเมืองราว 58.1% และมีการเข้าถึงการศึกษาอยู่ที่ 87.4% โดยที่ผู้ชายยังเข้าถึงการศึกษาสูงถึง 90.6% ส่วนผู้หญิงเข้าถึงการศึกษาเพียง 84.1%

สำหรับในประเทศไทย มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 20 ของโลกอยู่ที่ 71,647,000 คน โดยค่าอายุเฉลี่ยของคนไทยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 40.6 ปี มีอายุมากกว่าอายุมาตรฐานของประชากรโลก ด้วยอายุเฉลี่ยมาตรฐานของประชากรโลกอยู่ที่ 30.9 ปี

จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ประเทศเข้าสู่ยุค Aging เต็มตัวด้วยค่าอายุเฉลี่ยของคนไทยที่สูงกว่าค่าอายุเฉลี่ยของประชากรโลก นอกจากนั้นจำนวนประชากรของไทยยังลดลงโดยลดลงถึง 0.06% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ยิ่งเมื่อดูประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างเวียดนามและฟิลิปปินส์จะเห็นว่า เวียดนามมีการเพิ่มขึ้นของประชากรราว 0.62% และฟิลิปปินส์มีการเพิ่มขึ้นของประชากรราว 0.82% นั่นชี้ให้เห็นถึงปัญหาด้านแรงงานในอนาคต

 

มือถือยังเป็นอุปกรณ์หลักเพื่อเชื่อมต่อดิจิทัล

เมื่อมาดูอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลจะพบว่า

– Mobile Phone และ Smartphone ยังเป็นอุปกรณ์หลักที่ผู้คนทั่วโลกใช้

– โดยมีการใช้ Mobile Phone อยู่ที่ 98% และมีการใช้ Smartphone อยู่ที่ 97.8% ขณะที่ Laptop และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะมีการใช้งานถึง 58.3%  โดยที่มีการใช้ Smart TV อยู่ที่ 48.2% และ Tablet อยู่ที่ 32.4%

– ด้านข้อมูลของ GSMA พบว่า มีผู้ใช้อุปกรณ์โทรศัพท์มือถืออยู่ที่ประมาณ 5,780 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 2% จากปีก่อนหน้า คิดเป็นจำนวนประชากรที่เข้าถึงสมาร์ทโฟนอยู่ที่ 70.5% และมีการใช้ซิมเพื่อเชื่อมต่อระบบออนไลน์สูงถึง 8,780 ล้านซิม

– ขณะที่ข้อมูลของ Ericsson ระบุว่า มีผู้ใช้อุปกรณ์โทรศัพท์มือถืออยู่ที่ประมาณ 6,740 ล้านเครื่อง และมีการใช้ซิมเพื่อเชื่อมต่อระบบออนไลน์สูงถึง 8,860 ล้านซิม ส่วนหนึ่งที่ทำให้จำนวนซิมมีมากกว่าจำนวนโทรศัพท์มือถือเพราะถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์ IoT

– โดยทั่วโลกมีการเข้าถึง Internet อยู่ที่ 5,560 ล้านคน คิดเป็นจำนวนประชากรที่เข้าถึงระบบ Internet อยู่ที่ 67.9% เพิ่มขึ้น 2.5% ขณะที่การเข้าถึง Social Media สามารถเข้าได้ถึง 5,240 ล้านคน คิดเป็นประชากรที่เข้าถึง Social Media ที่ 63.9% โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 4.1%

สำหรับประเทศไทย มีการเชื่อมต่อโลกดิจิทัลผ่านโทรศัพท์มือถือสูงถึง 138.9% สูงกว่าทั่วโลกที่มีการใช้โทรศัพท์มือถือเชื่อมต่อโลกดิจิทัลเพียง 107.1% ขณะที่การเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายความเร็วสูงทั้ง 3G, 4G และ 5G ประเทศไทยอยู่ในกลุ่ม 11 ประเทศที่เชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูงบนมือถือในระดับ 100% ซึ่งสูงกว่าทั่วโลกที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายความเร็วสูงเพียง 94.6%

 

Internet ยังคงถูกใช้เชื่อมต่อโลกดิจิทัล

จากข้อมูลผลสำรวจด้านการใช้ Internet ยังพบว่า

– มีการใช้งาน Internet ทั่วโลกราว 5,560 ล้านราย โดยมีประชากรที่เข้าถึง Internet ราว 67% เพิ่มขึ้น 1.6% เมื่อเทียบปีต่อปี มีการใช้ระยะเวลาในการท่องโลก Internet นานถึง 6.38 ชั่วโมงต่อวัน

– โดยที่ประชากรในเมืองยังสามารถเข้าถึง Internet ได้มากกว่าประชากรนอกเมือง โดยประชากรในเมืองสามารถเข้าถึง Internet ได้ราว 82.7% ขณะที่ประชากรนอกเมืองเข้าถึง Internet ราว 47.4%

– ผู้ชายมีการใช้งาน Internet มากกว่าผู้หญิง แต่แนวโน้มผู้หญิงเข้าถึง Internet สูงกว่า โดยข้อมูลพบว่า มีผู้ชายใช้ Internet ราว 70% เพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบปีต่อปี ส่วนผู้หญิงมีการใช้ Internet ราว 65.7% แต่มีการเพิ่มขึ้นสูงถึง 3.7% เมื่อเทียบปีต่อปี

– นอกจากนี้ยังมีการใช้ Internet ผ่าน Mobile Phone สูงถึง 97.8% โดยเป็นการใช้ Internet บน Mobile Phone สูงถึง 3.46 ชั่วโมงต่อวัน

– ขณะที่การใช้เชื่อมต่อกับ Social Media มีสูงถึง 93% และมีการใช้ Internet บน Laptop คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและ Tablet อยู่ที่ 90.6%

– ส่วนการใช้ทีวีเพื่อรับชมรายการทีวีทั่วไปมีสูงถึง 89.7% และการใช้ทีวีเพื่อรับชม Streaming หรือเข้าสู่โลกออนไลน์อยู่ที่ 77.1% ในด้านของทีวีมีการใช้ระยะเวลาในการรับชมนานถึง 3.13 ชั่วโมงต่อวัน

– ในส่วนของสื่อออนไลน์มีการเข้าใช้งานถึง 67.9% และใช้ระยะเวลาในการรับชมเฉลี่ยอยู่ที่ 1.40 ชั่วโมงต่อวัน

สำหรับการใช้งานหลักบน Internet จากการสำรวจพบว่า

– การค้นหาข้อมูลยังเป็นเหตุผลหลักในการใช้ Internet ถึง 62.8% ขณะที่การติดต่อกับเพื่อนและครอบครัวเป็นเหตผลรองถึง 60.2% ส่วนการติดตามข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ อยู่ที่ 55% การรับชมรายการทีวี ภาพยนตร์และความบันเทิงต่างๆ อยู่ที่ 54.7% และการค้นหาวิธีขั้นตอนการทำในสิ่งต่างๆ อยู่ที่ 51.1%

– โดยทั่วโลกมีการใช้ระบบ Android เชื่อมต่อ Internet มากที่สุดถึง 73.49% ส่วน iOS มีการเชื่อมต่อ Internet เพียง 26.04% ซึ่งมี Google, YouTube และ Facebook เป็น 3 เป้าหมายหลักในการใช้งาน

สำหรับประเทศไทย มีการใช้งาน Internet สูงถึง 91.2% ของประชากรในประเทศไทย สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 67.9% ของประชากรโลก

– ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อ Mbps ประเทศไทยถูกกว่าที่อื่นๆ ทั่วโลกโดยมีราคาเฉลี่ยเพียง 0.02 ดอลลาร์ต่อ Mbps ถูกกว่าสิงคโปร์ เวียดนามและจีน

– เมื่อคิดเฉลี่ยต่อแพ็คเกจการใช้บริการ ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 11.60 ดอลลาร์สูงกว่าราคาแพ็คเกจของเวียดนามและจีน

– ระยะเวลาในการใช้งาน Internet ของคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 7.54 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งใช้เวลามากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ใช้เพียง 6.38 ชั่วโมงต่อวัน

– โดยคนไทยนิยมเชื่อมต่อ Internet ผ่านมือถือสูงถึง 63.3% นั่นทำให้คนไทยใช้มือถือเชื่อมต่อ Internet ยาวนานถึง 5 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ใช้เวลาเพียง 3.46 ชั่วโมงต่อวัน

– ขณะที่เชื่อมต่อ Internet ผ่านคอมพิวเตอร์มีถึง 36.7% โดยคนไทยใช้คอมพิวเตอร์ต่อ Internet ยาวนานถึง 2.54 ชั่วโมงต่อวัน สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ใช้เวลาเพียง 2.52 ชั่วโมงต่อวัน

– สำหรับความเร็วเฉลี่ยในการใช้ Internet บนเครือข่าย ประเทศไทยมีความเร็วเฉลี่ย 61.21 Mbps ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก ขณะที่ความเร็วในการใช้ Internet Broadband ประเทศไทยมีความเร็วอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลกเฉลี่ยความเร็วที่ 237.85 Mbps สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 95.10 Mbps แต่ยังช้ากว่าสิงคโปร์

 

Social Media และ Entertainment ยังเป็นแอปฯ หลัก

เมื่อลงลึกข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือจะพบว่า มีการดาวน์โหลดแอปฯ จำนวนมากเข้ามาใช้งาน ซึ่งข้อมูลพบว่า

– แอปฯ Social Media ยังคงเป็นแอปฯ หลักถึง 35.1% โดยที่แอปฯ Entertainment อย่างแอปฯ ดูหนังฟังเพลงเป็นแอปฯ รองลงมาถึง 32.7% ขณะที่แอปฯ เครื่องมือเสริมประสิทธิภาพโทรศัพท์มือถือยังได้รับความสนใจที่ 13.6% แต่แอปฯ ที่เป็น Browser และ Search Engine กลับไม่ค่อยได้รับความสนใจมีการใช้เพียง 5.8%

– นั่นทำให้การใช้งานข้อมูลของแอปฯ บนโทรศัพท์มือถือสูงถึง 146.92 EB (Exabyte) โดยมีการใช้ข้อมูลเพื่อดูวิดีโอสูงถึง 111.45 EB คิดเป็น 75.9% ขณะที่ Social Network มีการใช้ข้อมูลสูงถึง 11.52 EB คิดเป็น 7.8%

– สำหรับช่องทางการเข้าสู่ Internet ทั่วโลก Chrome ยังคงเป็นบราวเซอร์ที่มีความนิยมใช้สูงถึง 68.34% ขณะที่ Safari ของ Apple นิยมใช้เพียง 17.12%

– ส่วนการใช้ Voice Assistant มีการใช้งานสูงถึง 30.4%

– Google ยังคงเป็น Search Engine ที่ผู้คนทั่วโลกนิยมสูงถึง 89.73%

แม้ในช่วงที่ผ่านมา DeepSeek จะเป็น AI ที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตาม จากรายงานของ data.ai พบว่า ChatGPT ยังคงรั้งตำแหน่งเจ้าตลาด ด้วยจำนวนผู้ใช้งานประจำ (Active Users) มากกว่า 250 ล้านรายต่อเดือน ในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา จากการจัดอันดับโดย data.ai ChatGPT ยังคงติดอันดับแอปที่มีผู้ดาวน์โหลดสูงสุดของโลกอันดับที่ 8 จากทุกหมวดของแอปในช่วงเวลาที่สำรวจ

สำหรับประเทศไทย มีการดาวน์โหลดแอปฯ อยู่ในอันดับที่ 17 ของโลกปริมาณ 519 MB

– โดย Google Chrome ในประเทศไทยมีการใช้เปิดเว็บเพจไปกว่า 69.52% สูงกว่าค่ามาตรฐานทั่วโลกเล็กน้อย ขณะที่การใช้ Voice Assistant มีการใช้เพียง 27.8% น้อยกว่าการใช้ของทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยมีการใช้ Search Engine สูงถึง 89% สูงกว่าการใช้ของทั่วโลกที่ 82.3%

 

ช้อปปิ้งออนไลน์ยังเติบโตทั่วโลก

อีกหนึ่งพฤติกรรมบนโลกดิจิทัลที่นิยมทั่วโลกคือการช้อปปิ้งบนโลกออนไลน์ ข้อมูลพบว่า

– การซื้อสินค้าออนไลน์ยังคงเป็นที่นิยมสูงจากผู้คนทั่วโลกถึง 55.8% ขณะที่การซื้อของสดบนออนไลน์ได้รับความนิยมตามมาที่ 27.3% ส่วนการซื้อสินค้ามือสองบนออนไลน์ยังเป็นสิ่งที่หลายคนตามหาอยู่ที่ 10.8% และการใช้บริการเปรียบเทียบราคาสินค้าบนออนไลน์อยู่ที่ 19.9% สุดท้ายการใช้บริการ BNPL อยู่ที่ 15.3%

โดยข้อมูลยังระบุว่า

– ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ยังเป็นเรื่องของจัดส่งฟรีสูงถึง 52.6% ขณะที่ส่วนลดและคูปองยังปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์อยู่ที่ 40.2% และการรีวิวของผู้บริโภคยังสร้างอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์อยู่ที่ 33.2%

– เมื่อลงลึกในข้อมูลพบว่า Amazon เป็นแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ที่ทั่วโลกนิยมสูงสุด ขณะที่ Shopee ตามมาลำดับที่ 2 ส่วน Temu ที่เพิ่งเข้าสู่ประเทศไทยก้าวมาอยู่ลำดับที่ 4 และ LAZADA อยู่ในลำดับที่ 9 ของโลก

เมื่อลงลึกข้อมูลลงไปอีกก็พบว่า

– มีผู้คนทั่วโลกเข้าช้อปปิ้งออนไลน์กว่า 2,540 ล้านคน โดยมีมูลค่าการช้อปปิ้งออนไลน์ทั่วโลกประมาณ 4.12 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 139 ล้านล้านบาท มีการใช้จ่ายเฉลี่ย 1,620 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี หรือราว 54,900 บาทต่อคนต่อปี

– สำหรับช่องทางหลักในการช้อปปิ้งออนไลน์ยังคงผ่านโทรศัพท์มือถือถึง 51.4%

– ขณะที่ช่องทางการชำระเงินผ่าน Digital Wallet มีสูงถึง 50% ส่วนการชำระด้วยบัตรเครดิตรองลงมาที่ 34% และการโอนผ่านบัญชีอยู่ที่ 7%

– สำหรับกลุ่มสินค้าที่ซื้อขายบนโลกออนไลน์มากที่สุดจะเป็นกลุ่มแฟชั่นสูงถึง 7.71 แสนล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยกลุ่มอาหารมูลค่า 6.8 แสนล้านดอลลาร์ และกลุ่มสินค้า DIY มูลค่า 4.94 แสนล้านดอลลาร์

สำหรับประเทศไทย มีการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์แต่ละสัปดาห์สูงถึง 69.2% ขณะที่ทั่วโลกมีการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์แต่ละสัปดาห์เพียง 55.8%

– ประมาณการใช้จ่ายออนไลน์ของคนไทยต่อรายได้อยู่ที่ 11.4% โดยเฉลี่ยค่าใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ของประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 1,183 ดอลลาร์ต่อคนหรือราว 40,000 บาทต่อคน และช้อปออนไลน์บนมือถือเป็นหลักที่ 68.3% ส่วนบนคอมพิวเตอร์อยู่ที่ 31.7%

 

การเดินทางและการเงินบนออนไลน์ยังนิยม

นอกจากนี้การท่องเที่ยวก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนโลกดิจิทัลที่ผู้คนทั่วโลกต้องการทั้งการหาข้อมูลและการใช้จ่ายด้านที่พักและการเดินทาง

– การเดินทางโดยเครื่องบินยังคงมีการใช้จ่ายสูงสุดในการท่องเที่ยว โดยมีมูลค่า 5.26 แสนล้านดอลลาร์

– ขณะที่การซื้อแพ็คเกจท่องเที่ยวมีการใช้จ่ายสูงถึง 2.06 แสนล้านดอลลาร์

– บริการเรียกรถโดยสารออนไลน์ (Ride-Hailing) ยังได้รับความนิยมโดยมีผู้ใช้บริการสูงถึง 1,790 ล้านดอลลาร์ โดยทั่วโลกมีการใช้จ่ายบริการเรียกรถโดยสารออนไลน์เฉลี่ย 93.59 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี หรือราว 3,172 บาทต่อคนต่อปี

ในด้านการเงินจากข้อมูลพบว่า

– สัดส่วนของผู้ชายเข้าถึงด้านการเงินมีมากกว่าผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นบัญชีธนาคารที่มีอยู่ 75% ของประชากรโลก โดยมีผู้ชายถือครองบัญชีธนาคารราว 76% ขณะที่ผู้หญิงถือครองบัญชีราว 71.9%

– การถือครองเครดิตการ์ดที่มีอยู่ 24.5% ของประชากรโลก โดยมีผู้ชายถือครองบัตรเครดิตการ์ดอยู่ที่ 25.4% และผู้หญิงที่ถือครองบัตรเครดิตการ์ดอยู่ที่ 23.6%

– มีผู้คนทั่วโลกชำระเงินผ่านระบบ Digital สูงถึง 3,570 ล้านคน เพิ่มขึ้น 10.1% เมื่อเทียบปีต่อปี โดยในปีที่ผ่านมามีมูลค่าการชำระเงินผ่านระบบ Digital อยู่ที่ราว 11.55 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 391 ล้านล้านบาท

– ทำให้มีมุลค่าการชำระเงินผ่านระบบ Digital ราว 3,240 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี หรือเมื่อเป็นเงินบาทอยู่ที่ราว 1.09 แสนบาทต่อคนต่อปี

สำหรับประเทศไทย มีการใช้ Online Mobility Service ใกล้เคียงกับทั่วโลกที่ 34.3% ขณะที่ทั่วโลกอยู่ที่ 34.4% โดยค่าใช้จ่ายบริการเรียกรถโดยสารออนไลน์ (Ride-Hailing) ของคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 94.07 ดอลลาร์ หรือราว 3,200 บาท

– ขณะที่การให้บริการด้านการเงินของไทยในแต่ละเดือนมีสัดส่วนการใช้อยู่ที่ 31% ในขณะที่ทั่วโลกมีการใช้ในแต่ละเดือนอยู่ที่ 37.8% ส่วนมูลค่าการชำระเงินดิจิทัลของไทยต่อคนอยู่ที่ 1,170 ดอลลาร์หรือราว 39,000 บาทต่อคน ซึ่งประเทศไทยมีการใช้จ่าย Digital Payment ผ่านมือถืออยู่ที่ 30.4% สูงกว่าทั่วโลกที่อยู่ที่ 24% ขณะที่การใช้จ่ายบัตรเครดิตอยู่ที่ 22.6%

– นอกจากนี้ประเทศไทยยังถือครอง Cryptocurrency ในสัดส่วน 13.4% และประเทศไทยยังเข้าถึงการพนันออนไลน์ที่สัดส่วน 15.6% สูงกว่าทั่วโลกที่ 7.6% โดยประเทศไทยมีการใช้จ่ายด้านการพนันออนไลน์อยู่ที่ 398 ดอลลาร์ หรือกว่า 13,000 บาท

 

เข้าถึงระบบสุขภาพออนไลน์

ในด้านของการเช็คสุขภาพดิจิทัลและการออกกำลังกายทางออนไลน์ พบว่า

– ประชากรโลกที่เข้าถึงระบบสุขภาพและการออกกำลังกายทางออนไลน์ มีถึง 1,330 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 11%  และมีการใช้จ่ายทางด้านการดูแลรักษาผ่านระบบดิจิทัลอยู่ที่ราว 1.03 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 3.49 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายราว 78.16 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี หรือราว 2,600 บาทต่อคนต่อปี

– ประชากรโลกที่เข้าถึงระบบการหาหมอทางออนไลน์มีถึง 122.4 ล้านคน เพิ่มขึ้น 5.4% ส่งผลให้มีมูลค่าระบบการหาหมอทางออนไลน์สูงถึง 9,460 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3.2 แสนล้านบาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายราว 77.32 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี หรือราว 2,600 บาทต่อคนต่อปี

– ประชากรโลกที่เข้าถึงการออกกำลังกายและสุขภาพด้านดิจิทัลอยู่ที่ 1,620 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.5% คิดเป็นมูลค่าการออกกำลังกายและสุขภาพด้านดิจิทัลสูงถึง 5.86 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 1.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายราว 36.11 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี หรือราว 1,200  บาทต่อคนต่อปี

สำหรับประเทศไทย เข้าถึงบริการด้านสุขภาพทางออนไลน์อยู่ที่ประมาณ 20.6% ต่ำกว่าทั่วโลกที่อยู่ในระดับ 23.3% โดยค่าใช้จ่ายทางด้านการรักษาและการดูแลสุขภาพทางออนไลน์ของไทยจะอยู่ที่ราว 82.33 ดอลลาร์หรือราว 2,700 บาท สูงกว่าทั่วโลกเล็กน้อย ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการปรึกษาคุณหมอทางออนไลน์ของไทยจะอยู่ที่ราว 25.76 ดอลลาร์ หรือราว 870 บาท ซึ่งต่ำกว่าทั่วโลกที่ค่าใช้จ่ายสูงถึง 77.32 ดอลลาร์

 

ความปลอดภัยข้อมูลยังเป็นเรื่องหลัก

สำหรับในเรื่องของระบบความปลอดภัยข้อมูลทางด้านดิจิทัล จากข้อมูลพบว่าสัดส่วนของผู้หญิงให้ความสำคัญกับเรื่องของระบบความปลอดภัยข้อมูลทางดิจิทัลมากกว่าผู้ชาย ในทุกช่วงอายุโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่ผู้หญิงจะให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยทางข้อมูลดิจิทัลสูงถึง 47% ขณะที่ผู้ชายในวัยเดียวกันให้ความสำคัญเพียง 43.5%

แต่จากการสำรวจข้อมูลกลับพบว่า กลุ่มผู้ชายนิยมใช้ระบบ VPN หรือการจำลอง Network ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นช่วงอายุ 16-24 ปี ที่นิยมใช้สูงถึง 33.7% ในขณะที่ผู้หญิงนิยมใช้  VPN เพียง 21.1%

สำหรับประเทศไทย ยังคงให้ความสนใจในเรื่องของการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้น้อยมาก โดยให้ความสนใจเพียง 25.8% น้อยกว่าทั่วโลกที่ให้ความสำคัญสูงถึง 29.9% ขณะที่ความกังวลเรื่องข้อมูลผิดพลาดประเทศไทยค่อนข้างให้ความสำคัญถึง 62.6% สูงกว่าทั่วโลกที่ให้ความสำคัญเพียง 58.8%

 

ทีวียังคงเป็นช่องทางในการรับสื่อ

ในด้านของการรับชม TV จะพบว่า

– สัดส่วนของผู้หญิงในการรับชมทีวีมีมากกว่าผู้ชาย โดยในกลุ่มช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้หญิงมีการรับชมทีวีมากถึง 4.28 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ผู้ชายรับชมเพียง 4.06 ชั่วโมงต่อวัน

– ทั่วโลกมีการรับชมทีวีสูงถึง 97.5% โดยเป็นการรับชมผ่านโปรแกรมรายการทีวีปกติประมาณ 87.8%  ขณะที่การรับชมทีวีผ่านระบบ Streaming หรือบนออนไลน์อยู่ที่ 91.9% และการรับชมรายการทีวีจากการบันทึกด้วยทีวีดิจิทัลมีมากถึง 22.9% ขณะที่สัดส่วนการไม่รับชมทีวีใดๆ เลยมีอยู่เพียง 2.5%

– เมื่อแยกย่อยลงมาที่กลุ่มออนไลน์วีดีโอจะพบว่า Music Video เป็น Content ที่มีผู้ชมรับชมมากที่สุดสูงถึง 48.8% ขณะที่รายการตลกหรือรายการที่เป็น Viral  มีผู้รับชมมากถึง 35.2% และวีดีโอ Live Streaming มีผู้ชมรับชมสูงถึง 28.4%

– โดยช่องทางหลักที่มีผู้รับชมวีดีโอออนไลน์มากที่สุดยังคงเป็น YouTube ตามมาด้วย Instagram และ TikTok แต่เมื่อดูการใช้ระยะเวลาบนแพลตฟอร์มจะพบว่า YouTube TikTok และ Instagram เป็น 3 แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้เวลาในการดูมากที่สุด

– การฟังเพลงออนไลน์มีสัดส่วนถึง 48.8% โดยเป็นการฟังเพลงออนไลน์สูงถึง 38.2% ขณะที่การฟังวิทยุทางออนไลน์มีเพียง 17.4% ด้าน Podcasts เองมีการฟังสูงถึง 22.1%  และการฟัง Audio Book อยู่ที่ 17% สำหรับการฟังเพลงออนไลน์

– กลุ่มผู้หญิงจะฟังเพลงออนไลน์มากกว่าผู้ชายในช่วงอายุ 16-44 ปี โดยจะใช้ระยะเวลาในการฟังอยู่ที่ 1.21 ชั่วโมงถึง 1.58 ชั่วโมง ขณะที่กลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไปผู้ชายจะฟังเพลงออนไลน์มากกว่าผู้หญิง โดยจะใช้ระยะเวลาในการฟังที่ 24 นาทีถึง 1.22 ชั่วโมง โดย 3 ช่องทางหลักในการฟังเพลงออนไลน์จะเป็น Spotify, YouTube Music และ MX Player

– ด้านวีดีโอเกม กลุ่มผู้ชายยังนิยมเล่นวีดีโอเกมมากกว่ากลุ่มผู้หญิงทุกช่วงอายุ ยกเว้นกลุ่ม 65 ปีขึ้นไปที่ผู้หญิงมีการเล่นเกมมากกว่าผู้ชาย สำหรับช่องทางหลักในการเล่นเกมจะเป็นสมาร์ทโฟนอยู่ที่ 67.6% ขณะที่คอมพิวเตอร์มีเพียง 34.7% และเครื่องเกมคอนโซล 23.7% สำหรับประเภทเกมที่นิยมเล่นกันมากที่สุดจะเป็นประเภทเกม Shooter

สำหรับประเทศไทย ใช้ระยะเวลาในการรับชมทีวีเฉลี่ยอยู่ที่ 3.24 ชั่วโมง สูงกว่าทั่วโลกที่ใช้เวลาเพียง 3.13 ชั่วโมง และยังมีการใช้ทีวีเชื่อมต่อ Internet ถึง 29.1% น้อยกว่าทั่วโลกที่ใช้ถึง 31.7%

– ประเทศไทยรับชม Streaming สูงถึง 95.3% สูงกว่าทั่วโลกที่รับชมเพียง 91.9% ส่วนการรับชม Online Video ของไทยอยู่ที่ 94.7% สูงกว่าทั่วโลกที่รับชมเพียง 92%

– สำหรับการฟังเพลงออนไลน์ของไทยอยู่ที่ 35.8% น้อยกว่าทั่วโลกที่ฟังถึง 38.2% โดยคนไทยใช้ระยะเวลาในการฟังเพลงเฉลี่ยต่อวันที่ 1.36 ชั่วโมง

– คนไทยยังมีการเล่นเกมสูงถึง 93.5% สูงกว่าทั่วโลกที่เล่นเพียง 83.6% โดยมีการใช้เวลาในการเล่นเกมเฉลี่ย 1.32 ชั่วโมงสูงกว่าทั่วโลกที่ใช้เวลาเล่นเพียง 1.03 ชั่วโมง

 

Social Media ช่องทางการติดต่อสื่อสารหลัก

Social Media ยังเป็นช่องทางสำคัญของผู้คนทั่วโลก

– โดยทั่วโลกมีจำนวนผู้ใช้งานบัญชี Social Media กว่า 5,240 ล้านบัญชี เมื่อเทียบจำนวนประชากรโลกผู้ที่มีบัญชี Social Media จะมีอยู่ราว 63.9% โดยมีการใช้ระยะเวลาบน Social Media เฉลี่ย 2.21 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน

– ผู้คนทั่วโลกมีการใช้แพลตฟอร์ม Social Media ที่หลากหลายโดยเฉลี่ย 6.8 แพลตฟอร์มต่อเดือน และผู้ชายใช้งานบนโลก Social Media สูงกว่าผู้หญิง โดยมีผู้ชายใช้งานราว 54.6% และมีผู้หญิงใช้งานราว 45.4%

– เหตุผลหลักในการใช้ Social Media จะเป็นการสื่อสารระหว่างเพื่อนและครอบครัวสูงถึง 50.8% ขณะที่เป็นการใช้เวลาว่างอยู่ที่ 39% และใช้สำหรับติดตามข่าวสารอยู่ที่ 34.5%

– ผู้หญิงมีการใช้ระยะเวลาบน Social Media สูงกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิงใช้ระยะเวลาประมาณ 51 นาทีถึง 2.59 ชั่วโมง ขณะที่ผู้ชายใช้ระยะเวลาประมาณ 40 นาทีถึง 2.35 ชั่วโมง

– Facebook ยังเป็นแพลตฟอร์ม Social Media ที่มีผู้ใช้มากที่สุดถึงประมาณ 3,070 ล้านราย ขณะที่ YouTube มีผู้ใช้งานสูงประมาณ 2,530 ล้านราย ส่วน WhatsApp และ Instagram มีการใช้งานสูงถึง 2,000 ล้านราย

– TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ทั่วโลกใช้ระยะเวลามากที่สุดถึง 34.56 ชั่วโมงต่อคนต่อเดือน รองลงมาคือแพลตฟอร์ม YouTube ที่มีการใช้ระยะเวลาสูงถึง 27.10 ชั่วโมงต่อเดือนต่อคน และ Facebook ที่มีการใช้ระยะเวลา 17.17 ชั่วโมงต่อคนต่อเดือน

– สำหรับการติดตามบน Social Media ส่วนใหญ่จะเป็นการติดตามเพื่อนฝูงและครอบครัวสูงถึง 48.8% โดยมีการติดตามบรรดาผู้มีชื่อเสียงอย่างนักแสดงจะอยู่ที่ 28.5%

สำหรับประเทศไทย มีการใช้ Social Media สูงถึง 71.1% สูงกว่าทั่วโลกที่มีการใช้เพียง 63.9% โดยประเทศไทยมีการใช้ระยะเวลาบน Social Media ถึง 2.32 ชั่วโมง สูงกว่าทั่วโลกที่ใช้เวลาเพียง 2.21 ชั่วโมง

– ประเทศไทยยังมีการใช้ Social Media แพลตฟอร์มจำนวนสูงถึง 7.11 แพลตฟอร์ม ทำให้คนไทยเลือกค้นหาแบรนด์ผ่าน Social Media อยู่ที่ 56.4% รวมไปถึงยังมีการค้นหาข้อมูลของแบรนด์เพื่อประกอบการตัดสินใจสูงถึง 68.4%

 

6 แพลตฟอร์ม Social Media หลัก

เมื่อลงลึกในรายละเอียดของแพลตฟอร์ม Social Media หลักแต่ละตัวจะพบว่า

YouTube เข้าถึงประชากรทั่วโลกราว 2,530 ล้านคน โดยโฆษณาบนแพลตฟอร์ม YouTube สามารถเข้าถึงประชากรราว 30.9% สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชายมากกว่ากลุ่มผู้หญิง แบ่งเป็นเข้าถึงกลุ่มผู้ชายได้ 42.4% และเข้าถึงกลุ่มผู้หญิงได้ 35.7%

– สำหรับการค้นหาบน YouTube ส่วนใหญ่จะเป็นการค้นหา เกี่ยวกับเพลงมากถึง 100% ขณะที่การค้นหาภาพยนตร์มีถึง 63% ส่วนการค้นหาวิดีโอต่างๆ อยู่ที่ 42%

Facebook มีการเข้าถึงประชากรราว 2,280 ล้านคน โดยมีโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Facebook สามารถเข้าถึงประชากรราว 27.9% สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชายได้ 44.7% และสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้หญิงได้ 33.8%

– มีการโพสต์ Facebook เฉลี่ยอยู่ที่ 1.73 โพสต์ต่อวัน ขณะที่เป็นการโพสต์รูปภาพอยู่ที่ 37.3% และเป็นการโพสต์วิดีโออยู่ที่ 19.1% ขณะที่โพสต์แนบลิงค์จะอยู่ที่ 39.5% ส่งผลให้ Engagement จากการโพสต์รูปภาพบน Facebook อยู่ที่ 0.07% ขณะที่ Engagement ของการโพสต์วิดีโออยู่ที่ 0.06% และการโพสต์แนบลิงค์จะอยู่ที่ 0.02%

– ทั่วโลกเพจที่มีผู้ติดตามน้อยกว่า 10,000 รายมีอยู่ 0.15% ขณะที่เพจที่มีผู้ติดตามระหว่าง 10,000-100,000 รายมีอยู่ 0.17% และเพจที่มีผู้ติดตามมากกว่า 100,000 รายมีอยู่ 0.05%

– เพจที่มีผู้ติดตามมากสุดจะเป็นเพจ Cristiano Ronaldo โดยมีผู้ติดตาม 170 ล้านราย ขณะที่เพจ Samsung มีผู้ติดตาม 162 ล้านรายและเพจ Facebook App มีผู้ติดตามอยู่ที่ 150 ล้านราย

Instagram มีการเข้าถึงประชากรราว 1,740 ล้านคน โดยมีโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Facebook สามารถเข้าถึงประชากรราว 21.3% สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชายได้ 30.3% และสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้หญิงได้ 27%

– แบ่งเป็นการโพสต์รูปภาพสูงถึง 37.5% และเป็นการโพสต์วิดีโออยู่ที่ 41.6% ขณะที่การโพสต์รูปภาพแบบต่อเนื่องจะอยู่ที่ 20.8%

– สำหรับบัญชีที่มีผู้ติดตามน้อยกว่า 10,000 รายมีอยู่ 0.60% ผู้ติดตามระหว่าง 10,000-100,000 รายมีอยู่ 0.59% และผู้ติดตามมากกว่า 100,000 รายมีอยู่ 0.47%

– บัญชีที่มีผู้ติดตามมากสุดจะเป็น Instagram โดยมีผู้ติดตาม 684.7 ล้านราย ขณะที่ Cristiano Ronaldo มีผู้ติดตาม 646.8 ล้านรายและ Lionel Messi มีผู้ติดตามอยู่ที่ 504.9 ล้านราย

– ส่วนการใช้แฮชแท็ก #LOVE มีสูงถึง 2,150 ล้านโพสต์ #INSTAGOOD มีสูงถึง 1,910 ล้านโพสต์และ #INSTAGRAM มีสูงถึง 1,470 ล้านโพสต์

TikTok มีการเข้าถึงประชากรราว 1,590 ล้านคน โดยมีโฆษณาบนแพลตฟอร์ม TikTok สามารถเข้าถึงประชากรราว 19.4% สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชายได้ 30.8% และเข้าถึงกลุ่มผู้หญิงได้ 24.3%

– มีการโพสต์ในเชิงธุรกิจถึง 3.70% โดยมีการกดถูกใจถึง 3% และมีการคอมเม้นต์ตอบกลับอยู่ที่ 0.05% ขณะที่มีการแชร์ต่ออยู่ที่ 0.06%

– สำหรับบัญชีผู้ใช้ TikTok ที่มีผู้ติดตามมากที่สุดคือ Khabane Lame มีผู้ติดตาม 162.4 ล้านราย ส่วน Charli D’Amelio มีผู้ติดตาม 155.6 ล้านราย และ MRBEAT มีผู้ติดตาม 107.2 ล้านราย

– ส่วนแฮชแท็กที่มีการใช้มากที่สุดจะเป็น #CAPCUT มีจำนวน 7,200 ล้านโพสต์ ส่วน #FYP มีจำนวน 6,600 ล้านโพสต์ และ #FORYOU มีจำนวน 4,800 ล้านโพสต์

– ส่วนแฮชแท็กที่มียอดวิวสูงสุดจะเป็น #FYP มีจำนวนยอดวิว 79.54 ล้านล้านครั้ง ส่วน #FORYOU มีจำนวนยอดวิว 43.69 ล้านล้านครั้ง และ #VIRAL มีจำนวนยอดวิว 31.97 ล้านล้านครั้ง

X มีการเข้าถึงประชากรราว 585 ล้านคน โดยมีโฆษณาบนแพลตฟอร์ม X สามารถเข้าถึงประชากรราว 7.1% และสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชายได้ 12.6% และเข้าถึงกลุ่มผู้หญิงได้ 7.2%

– บัญชีผู้ใช้ X ที่มีผู้ติดตามมากที่สุดคือ Elon Musk มีผู้ติดตาม 210.8 ล้านบัญชี ส่วน Barack Obama มีผู้ติดตาม 131 ล้านบัญชี และ Cristiano Ronaldo มีผู้ติดตาม 114.4 ล้านบัญชี

Pinterest มีการเข้าถึงประชากรราว 340.1 ล้านคน โดยมีโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Pinterest สามารถเข้าถึงประชากรราว 4.1% โดยสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้หญิงได้ถึง 7.2% และสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชายได้ 2.3%

– บัญชีผู้ใช้ Pinterest ที่มีผู้ติดตามมากที่สุดคือ WATTPAD มีผู้ติดตาม 32.4 ล้านบัญชี ส่วน OH JOY มีผู้ติดตาม 15.1 ล้านบัญชี และ ETSY มีผู้ติดตาม 11 ล้านบัญชี

สำหรับประเทศไทย YouTube สามารถเข้าถึงประชากรราว 73.6% สูงกว่าทั่วโลกที่เข้าถึงเพียง 39% ขณะที่คนไทยมีการใช้เวลาบน YouTube สูงอันดับต้นๆ ของโลกที่ 42.14 ชั่วโมงต่อเดือน ขณะที่ทั่วโลกใช้เวลาเพียง 27.10 ชั่วโมงต่อเดือน

–  Facebook สามารถเข้าถึงประชากรคนไทยที่ 86.6% สูงกว่าทั่วโลกที่เข้าถึงเพียง 39.4% และพบว่าคนไทยใช้เวลากับ Facebook ผ่านแอปฯ บนมือถืออยู่ที่ 16.23 ชั่วโมง น้อยกว่าทั่วโลกที่ใช้สูงถึง 17.17 ชั่วโมง

– ในด้านของ Instagram สามารถเข้าถึงประชากรคนไทยที่ 30.9% สูงกว่าทั่วโลกที่เข้าถึงเพียง 28.8% และพบว่าคนไทยใช้เวลากับ Instagram ผ่านแอปฯ บนมือถืออยู่ที่ 8.44 ชั่วโมง น้อยกว่าทั่วโลกที่ใช้สูงถึง 16.13 ชั่วโมง

– TikTok สามารถเข้าถึงประชากรคนไทยที่ 57.8% สูงกว่าทั่วโลกที่เข้าถึงเพียง 27.9% และพบว่าคนไทยใช้เวลากับ TikTok ผ่านแอปฯ บนมือถืออยู่ที่ 37.40 ชั่วโมง สูงกว่าระยะเวลาที่ทั่วโลกใช้ 34.56 ชั่วโมง

– แพลตฟอร์ม X สามารถเข้าถึงประชากรคนไทยที่ 22.1% สูงกว่าทั่วโลกที่เข้าถึงเพียง 9.9% และพบว่าคนไทยใช้เวลากับ X ผ่านแอปฯ บนมือถืออยู่ที่ 2.53 ชั่วโมง น้อยกว่าทั่วโลกที่ใช้สูงถึง 4.57 ชั่วโมง

– คนไทยใช้เวลากับแพลตฟอร์ม Pinterest ผ่านแอปฯ บนมือถืออยู่ที่ 1.38 ชั่วโมง

 

โฆษณาออนไลน์ยังเติบโตได้อยู่

ในการสำรวจด้านโฆษณาออนไลน์ยังพบว่า

– ช่องทางหลักที่ผู้บริโภคใช้ในการค้นหาแบรนด์ต่างๆ มาจาก Search Engine สูงถึง 32.8% ขณะที่โฆษณาทาง TV มีถึง 32.3% และการบอกปากต่อปากอยู่ที่ 29.9% ขณะที่โฆษณาบนช่องทาง Social Media มีถึง 29.7% และจากเว็บไซต์ของแบรนด์เองอีก 25.8%

– ทั่วโลกมีเม็ดเงินในการโฆษณาราว 1.09 ล้านล้านดอลลาร์หรือราว 36 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3% เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา โดยเป็นเม็ดเงินโฆษณาบนโลกออนไลน์จะอยู่ที่ 7.9 แสนล้านดอลลาร์ คิดเป็น 72.7% ของเม็ดเงินโฆษณาทั้งหมด

– มีการโฆษณาผ่านรูปแบบ IN-APP Ads อยู่ที่ 3.52 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่โฆษณาทางทีวีใช้งบอยู่ที่ 3.39 แสนล้านดอลลาร์ และ Online Search Ads จะใช้งบราว 3.16 แสนล้านดอลลาร์ สำหรับโฆษณาบน Social Media จะใช้เม็ดเงินราว 2.44 แสนล้านดอลลาร์

– การโฆษณาผ่าน Programmatic มีเม็ดเงินการใช้อยู่ที่ 6.51 แสนล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา

– ขณะที่การโฆษณาบน Online Retail Platform มีการใช้เม็ดเงินราว 1.67 แสนล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 22.4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

-ด้านการโฆษณาบนช่องทาง Search มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาราว 3.16 แสนล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 12.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

– ในฝั่งของ Influencer เองก็มีการใช้งบโฆษณาสูง โดยมีการใช้เม็ดเงินโฆษณาผ่าน Influencer ต่อปีอยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์  เพิ่มขึ้น 13.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

– ผู้บริโภคทั่วโลกก็ยังใช้โปรแกรม AD Blocker ซึ่งสาเหตุหลักในการใช้โปรแกรมดังกล่าว ส่วนใหญ่มาจากโฆษณาที่มากเกินไปถึง 64.4% นอกจากนี้โฆษณาเข้ามาขัดขวางการใช้งานเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่สูงถึง 55.2% รวมไปถึงความกังวลเรื่องความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคลที่ยังสูงถึง 40.2% และโฆษณาที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวผู้บริโภคมีสูงถึง 39.9%

สำหรับประเทศไทย การใช้จ่ายโฆษณาประเทศไทยครองผู้นำของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก เมื่อเทียบกับ GDP ของคนในประเทศ สำหรับรายได้รวมจากโฆษณาในทุกช่องทางของประเทศไทยคิดเป็น 0.92% ของ GDP เมื่อคิดเป็นการใช้จ่ายโฆษณาต่อหัวจะอยู่ที่ 67.40 ดอลลาร์ หรือราว 2,200 บาท

– รายได้จากโฆษณาดิจิทัลของไทยจะมีสัดส่วนอยู่ที่ 42.4% ของรายได้โฆษณาทั้งหมด ขณะที่รายได้จากการโฆษณาผ่านรูปแบบ Programatic จะมีสัดส่วนอยู่ที่ 75.2% ของรายได้โฆษณาทั้งหมด ส่วนรายได้จากการโฆษณาผ่านรูปแบบ IN-APP Ads จะมีสัดส่วนอยู่ที่ 30.3% ของรายได้โฆษณาทั้งหมด และค่าใช้จ่ายโฆษณาบน Social Media ต่อผู้ใช้งานจริงของประเทศไทยจะอยู่ที่ 11.58 ดอลลาร์หรือราว 390 บาท

– ส่วนรายได้จากการโฆษณาผ่านช่องทาง Social Media จะมีสัดส่วนอยู่ที่ 28.8% ของรายได้โฆษณาทั้งหมด

– ประเทศไทย มีการใช้โปรแกรม AD Blocker อยู่ที่ประมาณ 23.7%  และคนไทยยังชอบเข้าเว็บไซต์ของแบรนด์ถึง 48.7% สูงกว่าทั่วโลกที่ชอบเข้าเว็บไซต์ของแบรนด์ที่ 45%


  • 38
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา