อัพเดทผ่านไปครึ่งแรกปี 63 อุตสาหกรรมโฆษณาไทยเป็นอย่างไร

  • 151
  •  
  •  
  •  
  •  

ตั้งแต่ต้นปี 63 เป็นต้นมา หลายธุรกิจต้องตกอยู่ในภาวะชะลอตัวจากการเผชิญมรสุมลูกใหญ่ ไม่เว้นกระทั่งอุตสาหกรรมโฆษณาที่ผ่านมา 6 เดือนแรกตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 63 มูลค่าตลาดยังติดลบอย่างต่อเนื่อง

ทาง เอจีบี นีลเส็น ประเทศไทย ได้มีการเปิดเผยถึงมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาในช่วงครึ่งปีแรกของปี 63 พบว่า มีมูลค่าอยู่ที่ 51,213 ล้านบาท ลดลง -13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าตลาด 58,992 ล้านบาท ซึ่งเม็ดเงินที่ลดลงมาจากผลกระทบสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

หากเจาะลึกการใช้งบโฆษณาเป็นรายสื่อ ช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 63 จะพบว่า ทุกสื่อมีการใช้เม็ดเงินโฆษณาลดลง ยกเว้นสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีการเติบโต

สื่อทีวี มีมูลค่า 29,193 ล้านบาท ลดลง 15%

สื่ออินเทอร์เน็ต มีมูลค่า 11,093 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23%

สื่อนอกบ้านและสื่อเคลื่อนที่ มีมูลค่า 5,408 ล้านบาท ลดลง 17%

สื่อโรงหนัง มีมูลค่า 1,674 ล้านบาท ลดลง 55%

สื่อสิ่งพิมพ์ มีมูลค่า 1,770 ล้านบาท ลดลง 39%

สื่อวิทยุ มีมูลค่า 1,766 ล้านบาท ลดลง 19%

สื่อ In-store มีมูลค่า 309 ล้านบาท ลดลง 40%

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาลดลง ประกอบด้วย

1.กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (Food&Beverage) มูลค่า 7,153 ล้านบาท ลดลง -22%

2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลและเครื่องสำอาง (Personal Care & Cosmetic) มูลค่า 6,669 ล้านบาท ลดลง -10%

3.กลุ่ม Media & Marketing มูลค่า 6,240 ล้านบาท ลดลง -2%

4.กลุ่มยานยนต์ (Automotive) มูลค่า 3,081 ล้านบาท ลดลง -32% .

ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่มีการใช้เม็ดเงินเพิ่มขึ้น ได้แก่

1.กลุ่มยา (Pharmaceuticals) มูลค่า 2,797 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22%

2.กลุ่มสินค้าครัวเรือนในบ้าน (Household products) มูลค่า 1,865 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3%

 

ขณะที่ บริษัทที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดช่วง 6 เดือนแรกตั้งแต่มกราคม-มิถุนายน ปี 2020 ใน 3 ลำดับแรก ได้แก่

  • ยูนิลีเวอร์ มูลค่า 1,738 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 17%
  • ทีวีไดเร็ค มูลค่า 1,271 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 48%
  • ไลฟ์สตาร์ มูลค่า 1,122 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 17%

 


  • 151
  •  
  •  
  •  
  •