ประเทศไทยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาขับเคลื่อนสังคมและช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เป็นเหตุให้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว เริ่มมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการดำเนินการของธุรกิจในทุกแง่มุม ทั้งยังกำลังก้าวเข้ามาทดแทนทักษะการทำงานของคน
อย่างไรก็ตาม “พนักงานยังคงเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของบริษัท” หลายองค์กรจึงมองหาคนที่มีทักษะความรู้ความสามารถเพื่อมาร่วมพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะผู้ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี เช่น ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะการเขียนโค้ดดิ้ง (Coding) รวมถึงทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นต้น
ล่าสุด “Experis” บริษัทจัดหารงานด้านไอทีในเครือ “แมนพาวเวอร์กรุ๊ป” (Manpower Group) ได้ทําการสํารวจการตัดสินใจรับพนักงานจํานวน 39,000 คน จาก 40 ประเทศ และได้สัมภาษณ์ผู้นําทีมงานและเทคโนโลยีจากอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เผยผลสำรวจในรายงาน “New Age of Tech Talent” หรือ “ยุคใหม่แห่งสายเทคโนโลยี” พบว่า
– กว่า 98% ของผู้สมัครงานจะถูกเลือกจากทักษะความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และประสบการณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า 3 ปี
– 98% ของผู้สมัครเข้าตําแหน่งวิเคราะห์ข้อมูลวิทยาศาสตร์ จะถูกคัดออกโดยผู้ว่าจ้างที่ต้องการทักษะ 4 ด้าน และประสบการณ์ทํางาน 3 ปี
– 34% ของผู้จ้างงานระบุว่าผู้สมัครงานสายดิจิทัลมีคุณสมบัติตรงกับที่ต้องการไม่เพียงพอ
– 32% ของผู้จ้างงานระบุว่าผู้สมัครงานมีประสบการณ์ไม่เพียงพอ
– 32% ของผู้จ้างงานระบุว่ามากกว่า 1 ใน 4 หรือ 27% ของผู้สมัครงานสายดิจิทัลขาดทักษะ Soft Skills ที่เหมาะสม
ตามดู 11 ตำแหน่งงานไอทีมาแรงที่น่าจับตามองครึ่งปีหลัง 2565
ผลวิจัยครั้งนี้ได้เผยถึง 11 ตำแหน่งงานสายไอทีที่เป็นที่ต้องการของตลาดงานสูง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ประกอบด้วยตำแหน่ง
1. IT Project Managers (ผู้จัดการโปรเจ็กต์ IT) มีสัดส่วนความต้องการมากที่สุด: 22%
2. Encryption / Information Security / Cybersecurity Analysis (การเข้ารหัส / ความปลอดภัยของข้อมูล / นักวิเคราะห์ความปลอดภัยทาง cyber): 20%
3. Software and Applications Developers (นักพัฒนา software และ application): 20%
4. AI and Machine Learning Specialists (ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning): 20%
5. Database and Network Professionals (ผู้เชี่ยวชาญด้านฐานข้อมูลและเครือข่าย): 18%
6. Big Data Analysts & Specialists (ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ Big Data): 18%
7. Digital Marketing and Content Specialists (ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล): 17%
8. Cloud Computing Specialists (ผู้เชี่ยวชาญระบบ Cloud): 17%
9. Digital Transformation Specialists (ผู้เชี่ยวชาญการปรับเปลี่ยนทางดิจิทัล): 16%
10. Augmented & Virtual Reality Specialists (ผู้เชี่ยวชาญด้าน Augmented และ Virtual Reality): 16%
11. Internet of Things Specialists (ผู้เชี่ยวชาญด้าน Internet of Things: IoT): 14%
12. ไม่ระบุตำแหน่ง: 16%
“ปัจจุบันเทคโนโลยีที่พัฒนาเร็วกว่าคน เริ่มส่งผลให้ตลาดแรงงานมีแข่งขันที่สูงและเข้มข้นมากขึ้น องค์กรต่างต้องการคนเก่งที่มีศักยภาพ และพร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้เทคโนโลยีแห่งโลกดิจิทัล เพื่อสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง
จากรายงาน “The New Age of Tech Talent” หรือ “ยุคใหม่แห่งสายเทคโนโลยี” ของ Experis พบว่หลายองค์กรกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะการทำงาน ความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในสายงานดิจิทัล โดยเฉพาะตำแหน่งผู้จัดการโปรเจ็กต์ IT หรือ IT Project Managers ที่มีสัดส่วนความต้องการมากที่สุดถึง 22%
ในขณะที่ตำแหน่ง Encryption / Information Security / Cybersecurity Analysts (การเข้ารหัส / ความปลอดภัยของข้อมูล / นักวิเคราะห์ความปลอดภัยทาง cyber) ตำแหน่ง Software and Applications Developers นักพัฒนา software และ application และตำแหน่ง AI and Machine Learning Specialists ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning มีสัดส่วนความต้องการอยู่ที่ 20%” คุณลิลลี่ งามตระกูลพานิช ผู้จัดการประจำประเทศไทย แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ฉายภาพความต้องการของตลาดงาน
“5 Power Skills” ที่องค์กรต้องการ
นอกจากนี้ในรายงานยังระบุว่า กว่า 7 ใน 10 ของพนักงานกล่าวว่าการมีผู้นําที่พึ่งพาและเชื่อถือได้นั้นสําคัญ และกว่า 2 ใน 3 อยากทํางานกับองค์กรที่เห็นคุณค่าในตัวพนักงาน
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรต้องการ คือ “Soft Skills” หรือทักษะ “ภายใน” ของแต่ละคนที่มีผลต่อการปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน คู่ค้า ลูกค้า เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในการทำงานได้ ซึ่งทักษะเหล่านี้ เปรียบเสมือน “Power Skills” อันทรงพลังในการขับเคลื่อนให้งานสำเร็จ และเป็นจุดแข็งของแรงงานที่เทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่สามารถเรียนรู้และเข้ามาทดแทนคนได้ โดยเฉพาะทักษะที่หายากที่สุด 5 ทักษะประกอบด้วย
– ทักษะการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา
– ทักษะด้านการพึ่งพา ความไว้ใจ และวินัย
– ทักษะด้านการคิดเชิงวิพากษ์ และวิเคราะห์
– ทักษะด้านความสร้างสรรค์ และเป็นต้นฉบับ มีความคิดเป็นของตัวเอง
– ทักษะความยืดหยุ่น ความอดทน อดกลั้น และการปรับตัว