สรุป! Landscape “อีคอมเมิร์ซ” ปี 2024 ในไทย มูลค่าตลาดพุ่งทะลุ 9 แสนล้าน ก้าวสู่ยุคซื้อขายออนไลน์เต็มรูปแบบ

  • 12
  •  
  •  
  •  
  •  

ประเทศไทยในเวลานี้เรียกได้ว่าเข้าสู่การซื้อขายออนไลน์เต็มรูปแบบแล้ว โดยมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศไทยในปี 2023 คาดการณ์ว่าจะไปแตะอยู่ที่ 932,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 14% เมื่อเทียบกับปี 2022 อยู่ที่ 818,000 ล้านบาท นั่นทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศไทยมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคาดหมายว่าจะมีมูลค่าทะลุ 1 ล้านล้านบาทในปี 2025 และทะลุ 2 ล้านล้านบาทในปี 2030

ด้วยตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล มีการแข่งขันสูงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านแพลทฟอร์มการให้บริการ เทคโนโลยี รวมถึงเกิดโอกาสใหม่ๆเพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว ล่าสุด Priceza จึงได้ฉายภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย ผ่านรายงาน Thailand E-commerce Landscape ปี 2024 เพื่อธุรกิจให้ได้มองเห็นภาพรวมตลาด ปรับตัวตามนวัตกรรมและเทรนด์ใหม่ๆ รวมถึงสามารถคว้าโอกาสและยกระดับมาตรฐานในการแข่งขันให้ทัดเทียมระดับสากลได้

โดย Priceza สรุปภาพรวมตลาด อีคอมเมิร์ซในไทยและฉายภาพตลาดโดยแบ่งระบบนิเวศน์อีคอมเมิร์ซออกเป็น 4 กลุ่มก็คือ 1.Marketing & Supporting (การตลาดและการสนับสนุน), 2. Ecommerce Chanels (ช่องทางอีคอมเมิร์ซ), 3.Payment (การชำระเงิน) และ 4.Delivery (การจัดส่ง)

ภาพรวมของภูมิทัศน์อีคอมเมิร์ซในประเทศไทย

รายงานเปิดเผยว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านแพลตฟอร์มการให้บริการ เทคโนโลยี รวมถึงโอกาสใหม่ ๆ เพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเริ่มมีการฟื้นตัว รวมถึงระบบนิเวศทั้งหลายของธุรกิจที่เข้าสู่ออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบหลังจากช่วงหลังโควิดที่ผ่านมา โดยการใช้จ่ายเงินไปกับการใช้บริการ E-Commerce ไม่เพียงเฉพาะสินค้าที่จับต้องได้ แต่ยังรวมถึงบริการที่เน้นทั้งด้านอาหาร (Food Delivery) การซื้อของกินของใช้ (Online Grocery) การท่องเที่ยว (Travel) และการซื้อตามความต้องการ (On-Demand Delivery)

ในด้าน ‘Retail Commerce’ การพึ่งพาแพลตฟอร์มอย่าง E-Marketplace อาจเป็นสิ่งที่ท้าทายมากขึ้น นั่นจึงเป็นแรงผลักดันให้แบรนด์ เริ่มเห็นความสำคัญของการมี ‘First party data’ เป็นของตัวเองมากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดกับการใช้ Gen AI การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้เพื่อ Personalization สร้างประสบการณ์ ‘Commerce Experience’ ในการช่วยแบรนด์สร้างยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้บริการ E-Commerce สามารถดึงดูดและรักษาลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เราจะเห็นผู้เล่นหลายรายที่เร่งพัฒนาแอปพลิเคชั่นเป็น ‘Super App’ หรือ ‘Everyday App’ ที่ครอบคลุมทุกบริการทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน โดยไม่ต้องออกไปใช้บริการแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ สามารถสร้าง ‘Ecosystem’ ที่มีความแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง

Thailand E-Commerce Landscape 2024

สำหรับภูมิทัศน์ตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศไทย Priceza อัพเดทผู้เล่นในแต่ละกลุ่มว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผู้เล่นรายไหนยังอยู่ มีใครเป็นผู้เล่นใหม่ในปี 2024 นี้บ้าง

1. Marketing & Supporting (การตลาดและการสนับสนุน)

การตลาดออนไลน์และการสนับสนุนลูกค้ามีบทบาทสำคัญในการสร้างกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมเพื่อโปรโมทสินค้าหรือบริการในระบบนิเวศน์อีคอมเมิร์ซการใช้เทคโนโลยีข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจและการปรับกลยุทธ์ตลาด

  • ตัวอย่างกลุ่ม Retail Media – Google, Priceza, Lazada, Shopee, Grab, LINE MAN, Robinhood
  • ตัวอย่างกลุ่ม Social Media – Facebook, Instagram , Youtube, X (Twitter), Tiktok, Pantip
  • ตัวอย่างกลุ่ม Affiliate Marketing – Priceza Affiliate, Pundai, ShopBack, RadarPoint, MyCashback, Access Trade,Involve Asia, Ecomobi
  • ตัวอย่างกลุ่ม CRM for B2C – LINE OA, ChocoCRM, BuzzeBees, Primo
  • ตัวอย่างกลุ่ม Data Insights – Etailligence, KaloData, Wisesight, Mandala

2. E-Commerce Channels (ช่องทางอีคอมเมิร์ซ)

คือการใช้แพลตฟอร์ม E-Commerce เพื่อขายสินค้าหรือบริการ, เช่นเว็บไซต์E-Commerce แอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มการขายผ่านโซเชียลมีเดียการบริหารจัดการและปรับปรุงระบบ E-Commerce เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้

  • ตัวอย่างกลุ่ม E-Marketplace- Shopee, Lazada, Tiktok, Central, MOnline
  • ตัวอย่างกลุ่ม E-Tailer (Vertical)
    • Apparel & Footwear : Pomelo, SuperSports, RevRunnr, JDsports, ICC Shopping, Decathlon
    • Health & Beauty : Konvy, Watsons, Boots, EVE andBOY
    • Home & Living : HomePro, บุญถาวร, NocNoc, IndexLivingMall, DoHome
    • Electronics & Gadget : Advice, JIB, Banana, PWB, 425, Mercular
    • Grocery: Tops, BigC, Lotus’s, MakroPro

  • ตัวอย่างกลุ่ม Chat Commerce – LINE, Messenger, IG
  • ตัวอย่างกลุ่ม Own Shop – Shop ify, LnwShop, KetShopWeb, LINE SHOPPING, Bento, iGetWeb,MakeWebEasy
  • ตัวอย่างกลุ่ม Quick Commerce – Grab, LINE MAN, FoodPanda, Robinhood, 7-11 ALL Online

3. Payment (การชำระเงิน)

คือการให้บริการตัวเลือกการชำระเงินที่สะดวกและปลอดภัย, ช่นบัตรเครดิต, การโอนเงินออนไลน์, หรือการใช้บริการการชำระเงินอื่น ๆ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลการชำระเงินเพื่อสร้างความเชื่อถือจากลูกค้า

  • ตัวอย่างกลุ่ม Cards – Visa, Master, JCB, Amex
  • ตัวอย่างกลุ่ม Domestics Payment – Promptpay
  • ตัวอย่างกลุ่ม Digital Wallets –TrueMoney Wallet, LINE Pay, ShopeePay, GrabPay, LazWallet, Paotang
  • ตัวอย่างกลุ่ม BNPL – Atome, K Pay Later, SCB Pay Later, TrueMoney Pay Next, ThisShop, Ulite

4.Delivery (การจัดส่ง)

คือการจัดส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าในที่ต่าง ๆ ในประเทศ การพัฒนาระบบการจัดส่งที่มีประสิทธิภาพ, การติดตามพัสดุ, และการจัดการความต้องการในด้านการจัดส่ง

  • ตัวอย่างกลุ่ม Express Delivery – ปณ.ไทย, Kerry, Flash, DHL, J&T
  • ตัวอย่างกลุ่ม On-Demand Delivery- Grab, LINE MAN, Robinhood, Lalamove, Deliveree, GizTix, 360truck
  • ตัวอย่างกลุ่ม Fulfillment – MyCloud, SokoChan, SiamOutlet, Akita
  • ตัวอย่างกลุ่ม Shipping Aggregator – ShipPop, FastShip

ความท้าทายของผู้เล่นตลาดอีคอมเมิร์ซ

รายงานระบุว่า ความท้าทายของผู้เล่นไทยในตลาดอีคอมเมิร์ซ นอกจากปัจจัยเรื่องราคา และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโกคยุคดิจิทัลแล้วยังมีความท้าทายจากสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาผ่านแพลตฟอร์ม E-Marketplace ปัญหาสินค้าราคาถูกที่เข้ามาทุ่มตลาดในไทยผ่านช่องทาง E-Commerce และการเข้ามาใช้ประโยชน์จาก Free Trade Zone เพื่อขายสินค้าในประเทศ รวมถึงการลักลอบนำเข้าสินค้าผ่านด่านศุลกากรโดยการสำแดงข้อมูลเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งทำให้สินค้าราคาถูกรวมถึงสินค้าที่ไม่มีมาตรฐานทะลักเข้าตลาดในประเทศ ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ที่ไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้

ทั้งนี้ทางภาครัฐเองก็เริ่มตระหนักและหันมาทบทวนนโยบายการเรียกเก็บภาษีที่เหลื่อมล้ำเพื่อส่งเสริมและเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้เติบโตได้และไม่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าจากสินนค้าประเทศจีนและมีการแข่งอย่างเสรีและเป็นธรรมซึ่งเราคงได้เห็นการปรับโครงสร้างภาษีในปีนี้

ทั้งหมดนี้คือภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงไปในปี 2024 ทำให้ได้เห็นภาพทั้งผุ้เล่นเก่าที่ยังคงอยู่รวมถึงผู้เล่นหน้าใหม่ที่ก้าวเข้ามาในตลาด นอกจากนี้ยังได้เห็นถึงโอกาสและความท้าทายที่จะทำให้ธุรกิจสามารถปรับตัวตามและคว้าโอกาสกับตลาดนี้ได้ และเชื่อว่าในปี 2024 และปีต่อๆไปตลาดอีคอมเมิร์ซจะมีการแข่งขันที่ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆอย่างแน่นอน


  • 12
  •  
  •  
  •  
  •