สงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทบน้ำมันโลกแพง ดันต้นทุนการผลิตพุ่ง สินค้าอุปโภคบริโภคปรับขึ้นอีก 5 รายการ

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

น้ำมันแพง

จากสงครามรัสเซีย-ยูเครนยังคงยืดเยื้อทวีความรุนแรงไม่จบสิ้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้นทุนการขนส่งก็พุ่งเป็นเงาตามตัว ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคจึงต้องปรับเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จนต้องออกมาประกาศปรับราคาขึ้นสินค้าใหม่ ส่งผลกระทบต่อประชาชนคนไทยที่เตรียมใจรับมือกับราคาสินค้าแพงจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นด้วย

ผลการสำรวจราคาสินค้าขายปลีกในกรุงเทพฯ โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ปัจจุบันราคาเนื้อหมูมีการปรับขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมารับประทานเนื้อไก่แทนมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการไก่มีเป็นจำนวนมากแต่กำลังผลิตยังมีอยู่เท่าเดิม บวกกับต้นทุน ทั้งค่าขนส่งและค่าอาหารสัตว์ต่างทยอยปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุผลทำให้ราคาไก่ต้องมีการปรับเพิ่มขึ้นตามมา โดยราคาไก่ทั้งตัวและเนื้อไก่ปรับขึ้นมารายการละ 5 บาท ซึ่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องในราคาตัวละ 65-75 บาท ไก่สดทั้งตัวไม่รวมเครื่องในราคาอยู่ที่ตัวละ 75-85 บาท และไก่สดชำแหละเนื้ออก ราคาอยู่ที่ 90-100 บาทต่อกิโลกรัม โดยราคาดังกล่าวได้มีการปรับขึ้นมาแล้วตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ นอกจากราคาเนื้อไก่ที่มีการปรับขึ้นราคาไปแล้ว ยังมีผักกวางตุ้ง และปลาดุก ราคาก็ปรับขึ้นมาอีก 5 บาทต่อกิโลกรัม โดยผักกวางตุ้งราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 35-40 บาท ส่วนปลาดุกราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 80-85 บาท สาเหตุที่สินค้าหลายรายการปรับขึ้นราคานอกจากปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครนแล้ว ฤดูฝนก็เป็นอีกหนึ่งปัจนัยที่ทำให้ผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ซึ่งสวนทางกับความต้องการที่ยังเท่าเดิมทำให้ราคามีการปรับเพิ่มแพงขึ้นนั่นเอง

น้ำมันแพง

ขณะที่กะหล่ำปลี ปรับราคาขึ้นกิโลกรัมละ 5 บาท อยู่ที่กิโลกรัมละ 25-30 บาท กล้วยหอมทองใหญ่ ขึ้นมาถึงหวีละ 20 บาท มาอยู่ที่ 100-120 บาทต่อหวี ส้มเขียวหวานเบอร์ 5 ขึ้นมากิโลกรัมละ 10 บาท มาอยู่ที่กิโลกรัมละ 55-60 บาท และแป้งมันประเภทสตาร์ชชั้นพิเศษปรับเพิ่มขึ้น 10 บาท ต่อ 100 กิโลกรัม มาอยู่ที่ 1,750 บาท ต่อ 100 กิโลกรัม ส่วนสินค้าที่ยังทรงตัว เช่น เนื้อหมูชำแหละ ส่วนสะโพกกิโลกรัมละ 185-190 บาท หมูสามชั้นกิโลกรัมละ 225-245 บาทพริกขี้หนูจินดากิโลกรัมละ 120-140 บาท ไข่ไก่เบอร์ 2 ฟองละ 3.80-4.00 บาท

กรมการค้าภายใน เร่งหารือผู้ประกอบการตรึงราคาสินค้า

จากการวิเคราะห์ราคาน้ำมันดีเซลที่มีการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง พบว่าราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับขึ้นจากลิตรละ 30 บาท เป็นลิตรละ 35 บาท ส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 14% หากราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้นไปอยู่ที่ลิตรละ 40 บาท จะทำให้ต้นทุนขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 28% ร.ต.จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า จากปัญหาดังกล่าวได้ทยอยหารือกับผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคต้องแบกรับภาระต้นทุนที่จำเป็นหลายรายการอย่างต่อเนื่อง โดยขอความร่วมมือให้ช่วยตรึงราคาออกไปก่อนให้นานที่สุด เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถือเป็นสินค้าพื้นฐานทั่วไปปัจจุบันราคาขายอยู่ปัจจุบันซองละ 6 บาท แต่กระทรวงพาณิชย์ยังไม่มีการอนุญาตให้ปรับขึ้น และปลากระป๋อง รวมทั้งขอให้ผลิตสินค้าให้เพียงพอต้องความต้องการเพื่อป้องกันปัญหาสินค้าขาดแคลนในท้องตลาด ซึ่งอาจกระทบต่อผู้บริโภคได้

น้ำมันแพง

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ออกนโยบาย วิน-วินโมเดล เพื่อผู้บริโภคได้ประโยชน์ โดยการเข้ามาดูแลราคาสินค้าเพื่อสร้างสมดุลให้ทั้งเกษตรกร ผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ประกอบการ โดยที่ผ่านมาขอความร่วมมือในการตรึงราคาสินค้า 18 กลุ่มสินค้า ไม่อนุญาตให้ขึ้นราคา ได่แก่ 1.บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 2.อาหารกระป๋อง 3.หมวดอาหารสด 4.ข้าวสารถุง 5.น้ำมันพืช 6.ซอสปรุงรส 7.น้ำอัดลม 8.อาหารสัตว์ 9.เครื่องใช้ไฟฟ้า 10.ยาฆ่าแมลง 11.ปุ๋ย 12.ผลิตภัณฑ์ซักล้าง 13.นมและผลิตภัณฑ์จากนม 14.เหล็ก 15.ปูนซีเมนต์ 16.กระดาษ 17.บริการผ่านห้าง ค้าปลีก-ส่ง 18.ยา เวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์จนถึงขณะนี้ตรึงราคาไว้ได้หลายหมวด และรายการสินค้าควบคุมมี 56 รายการ

โดยพบว่าเดือนพฤษภาคม 2565 มีมีสินค้าบางรายการปรับลดราคาลงมา เช่น ข้าวหอมมะลิบรรจุถุง ลดลง 22% ข้าวขาว 100% บรรจุถุง 5 กิโลกรัม ลดลง 28% ปลาทูน่ากระป๋อง ลดลง 2% ซอสหอยนางรม ลดลง 6% ซีอิ๊วดำ ลดลง 10% น้ำปลา ลดลง 20% วัสดุก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ ลดลง 5%

อย่างไรก็ตาม จากการปรับขึ้นราคาสินค้า ถือเป็นปัญหาอันใหญ่หลวงของประชาชนผู้ที่มีรายได้ปานกลางไปจนถึงรายได้น้อยเพราะเกิดความกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุดกับรายรับจะไม่เพียงพอกับรายจ่ายหากราคาสินค้าและค่าครองชีพยังขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
sabuysuk
การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวัน ล้วนแล้วแต่ได้กำไร