รู้จัก New Collar และ New Collar Jobs แรงงานกลุ่มใหม่-ตำแหน่งงานยุคใหม่ ที่วุฒิการศึกษาไม่สำคัญอีกต่อไป

  • 25
  •  
  •  
  •  
  •  

เดิมที่เราเคยรู้จักคำศัพท์ที่แยกกลุ่มคนทำงานออกจากกันเริ่มจากในอดีตจะมีกลุ่ม Blue Collar หรือกลุ่มคนที่ไม่ได้ทำงานนออฟฟิสผู้ใช้แรงงานในโรงงาน ต่อมาเมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆก็เกิดกลุ่ม White Collar หรือกลุ่มพนักงานออฟฟิส แต่ล่าสุดเพิ่งเกิดคำจำกัดความใหม่ ที่ใช้เรียกกลุ่มคนทำงานที่เป็นที่ต้องการมากขึ้นเรียกกว่ากลุ่ม New Collar หรือกลุ่มคนที่แม้จะไม่มีวุฒิการศึกษาแต่มีความสามารถก็เป็นที่ต้องการของบริษัทต่างๆได้

New Collar คืออะไร?

เดิมนั้นกลุ่มแรงงานจะแยกเป็นแค่กลุ่ม Blue Collar กลุ่มผู้ใช้แรงงานในโรงงานที่ไม่มีวุฒิการศึกษา โดยคำว่า Blue คือมาจาก Uniform ของคนในโรงงานที่มักจะใส่สีฟ้าหรือสีน้ำเงิน อีกกลุ่มคือ White Collar กลุ่มคนทำงานออฟฟิสที่มักใส่เสื้อเชิร์ตสีขาวโดยคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีวุฒิการศึกษา ส่วน New Collar จริงๆแล้วเป็นคำศัพท์ที่ถูกพูดถึงมานานเกือบ 10 ปีแล้ว ถูกบัญญัติขึ้นครั้งแรกโดย Ginni Rometty อดีต CEO ของบริษัท IBM เพื่อใช้อธิบายแรงงานกลุ่มใหม่ ที่มีทักษะพิเศษที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน กลุ่มคนที่องค์กรหรือบริษัทที่จะจ้างงานไม่ได้สนใจในวุฒิการศึกษาเพื่อรับเข้าทำงาน

สำหรับอุตสาหกรรมที่เริ่มมีการยกเลิกใช้วุฒิการศึกษาเป็นเกณฑ์และเริ่มมองหาคนที่มีทักษะสูงเหล่านี้เข้าทำงานเพิ่มมากขึ้นก็เช่นอุตสาหกรรม Health Care, วิศวกรรม, เทคโนโลยีและซอฟท์แวร์ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แรงงานกลุ่มนี้จะมีรายได้สูงในระดับครึ่งบนของลำดับอัตราค่าจ้างแรงงานทั้งระบบ

เหตุผลที่ New Collar เป็นที่ต้องการ

คำว่า New Collar กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้หลังจากมีรายงานว่าเริ่มมีบริษัทจำนวนมากที่เริ่มไม่ใช้วุฒิการศึกษาในการรับคนเข้าทำงานแล้วแต่จะเน้นไปที่ทักษะที่มีและเหมาะสมกับการทำงานมากกว่า

กระแสนี้ยังรับกับเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่จำนวนมากเริ่มตั้งคำถามกับหลักสูตรการศึกษาในยุคปัจจุบันว่าวุฒิการศึกษาที่ได้มาจากการจ่ายค่าเล่าเรียนนั้นคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปหรือไม่ นั่นทำให้คนจำนวนมากอีกเช่นกันที่เลือกที่จะไปเทคคอร์สระยะสั้นที่เป็นทักษะเฉพาะทางมากขึ้น การฝึกอบรมแบบได้ทำจริงและได้ใบเซอร์รับรองทักษะแทนการเข้ามหาวิทยาลัย และนั่นทำให้ในหลายๆประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกามีจำนวนคนเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาลดน้อยลงเรื่อยๆ

นอกจากนี้ยังมีเหตุผลในเรื่องของพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะในเวลานี้ที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกเทคโนโลยีอีกครั้ง นั่นทำให้นายจ้างต่างก็ต้องการลูกจ้างที่มีทักษะขึ้นสูงที่พร้อมทำงานกับเทคโนโลยีใหม่ๆเหล่านี้ เรื่องนี้สอดคล้องกับสถิติของ Statista

กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ประเทศไทย คนทำงาน 36% บอกว่าตนเองกำลังมองหางานใหม่อย่างจริงจังในช่วงปีนี้ ในขณะที่ 54% บอกว่าพร้อมเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ

ตัวอย่าง New Collar Jobs ที่นายจ้างต้องการ

  • Cloud administrator
  • Computer technicians
  • Cybersecurity architect
  • Database administrator
  • Dental assistant
  • Digital marketer
  • Field service engineer
  • Graphic designer
  • IT support specialist
  • Mortgage loan originator
  • Pharmacy technician
  • Project manager
  • Social media assistant
  • Software developer
  • Web developer

โอกาสที่นายจ้างต้องปรับตัว

แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของกลุ่ม New Collar และกลุ่มอาชีพหรือตำแหน่งงานที่นายจ้างไม่ต้องใช้วุฒิการศึกษาหรือ New Collar Jobs นั้นเป็นสิ่งนายจ้างเองก็ต้องจับตามอง เพราะจะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะได้คนทำงานที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งงานที่ต้องการได้มากขึ้นโดยเฉพาะในปีนี้ที่ผลสำรวจพบว่ามีคนทำงานในประเทศไทย 36% บอกว่ากำลังมองหางานใหม่อย่างจริงจังและอีก 54% บอกว่าพร้อมเปิดรับโอกาสใหม่ๆที่จะเข้ามา

เทรนด์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เห็นว่านายจ้างไม่ควรพึ่งพาเรื่องวุฒิการศึกษามากเกินไปแต่ควรที่จะต้องหากลไกในการสัมภาษณ์หรือแบบทดสอบหลากหลายสถานการณ์ในการวัดทักษะในรูปบบต่างๆ เพื่อให้ได้คนที่มีทักษะตามตำแหน่งงานที่ต้องการมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะของการเป็นคนเรียนรู้เร็ว มี Critical Thinking และสามารถปรับตัวได้ดีเป็นต้น และเทรนด์นี้ยังเป็นโอกาสให้ผู้บริหารสามารถเน้นและนำไปสู่การสร้างองค์กรที่เน้นทักษะหรือ Skills-First Organization ขึ้นมาได้อีกด้วย


  • 25
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE