เชื่อว่าคออนิเมะไม่มีใครไม่รู้จักนาม MAPPA สตูดิโอที่สรรค์สร้างอนิเมะยอดฮิตระดับตำนานเอาไว้มากมาย ดังนั้น ต้องบอกว่าชื่อชั้นของสตูดิโอแห่งนี้ จึงเหมือนเป็นเครื่องหมายการันตีความสนุกและคุณภาพเกินบรรยายที่จะบอกได้เลยว่าอนิเมะต่อไปนี้คุณจะได้อรรถรสความบันเทิงระดับสุโค่ยอย่างแน่นอน
แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ดูหรือไม่ได้สนใจวงการอนิเมะ ถามว่าทำไมเราจำเป็นต้องรู้เรื่องนี้ด้วย ต้องไม่ลืมว่า พลังซอฟเพาเวอร์ (Soft Power) ที่สำคัญของ ‘ญี่ปุ่น’ ที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกก็คือ ‘อนิเมะ’ โลกการ์ตูนญี่ปุ่นสร้างอิทธิพลเป็นที่ประจักษ์ให้กับนานาประเทศ สะท้อนได้ชัดเจนมากผ่าน Oympic Tokyo 2020 ซึ่งจนถึงตอนนี้แทบจะไม่มีใครโค่นพลังตรงนี้ลงได้ และที่สำคัญคำว่าการ์ตูนของญี่ปุ่นนั้นไม่ได้มีเนื้อหาสำหรับเด็กเท่านั้น แต่หลายๆ เรื่องราวสอดแทรกปรัชญาการใช้ชีวิตหรือแม้แต่สอนโลกแห่งธุรกิจเอาไว้มากมาย จนทำให้โครงสร้างความแข็งแกร่งเชิงวัฒนธรรมการ์ตูนของญี่ปุ่นสตรองเกินกว่าแค่เรื่องเล่าให้เด็กๆ ได้ดูไปแล้ว ดังนั้น การที่เราได้เรียนรู้ศึกษาเรื่องราวความน่าสนใจของหนึ่งในผู้สร้างตำนานอนิเมะยอดฮิตระดับตำนานมากมายจากผู้สร้างที่เก่งที่สุดของญี่ปุ่น เพียงแค่นี้ก็ควรแค่แก่การศึกษาและทำความเข้าใจ อิทธิพลความแข็งแกร่งของโลกอนิเมะ โดยมองผ่านสตอรี่ความสำเร็จของ MAPPA สตูดิโอผู้สร้างอนิเมะระดับตำนาน ไม่ว่าจะเป็น ‘ผ่าพิภพไททัน’ (Attack on Titan) ‘มหาเวทย์ผนึกมาร’ (Jujutsu Kaisen) ‘มนุษย์เลื่อยไฟฟ้า’ (Chainsaw Man) และอีกหลายๆ เรื่องที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี
ประวัติและที่มาของชื่อ MAPPA
MAPPA (MAPPA Co., Ltd.) เป็นสตูดิโอแอนิเมชั่นญี่ปุ่นที่ก่อตั้งโดย Masao Maruyama เมื่อมิถุนายน 2011 หลังจากเขาออกจาก Madhouse มีพนักงาน 250 คน ณ เดือนธันวาคม 2021 ระหว่างสตูดิโอโตเกียวและเซนได ความตั้งใจของ Maruyama คือให้ภาพยนตร์เรื่อง Kono Sekai no Katasumi ni (In This Corner of the World) เป็นการเปิดตัวครั้งแรกของสตูดิโอ แม้ว่าโครงการจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์จนถึงปี 2016 ในเวลานั้นสตูดิโอได้ร่วมผลิต Sakamichi no Apollon (Kids on the Slope) และ Hajime no Ippo: Rising และเปิดตัวอนิเมะต้นฉบับเรื่องแรก
สำหรับชื่อ MAPPA เป็นตัวย่อของ Maruyama Animation Produce Project Association มารุยามะก้าวลงจากตําแหน่งประธาน ในปี 2016 เพื่อก่อตั้งสตูดิโอ M2 และคนที่มาแทนที่เขาก็คืออดีตพนักงาน Studio 4°C Manabu Ootsuka นั่นเอง
อนิเมะเรื่องแรก
อนิเมะเรื่องแรกที่ MAPPA ผลิต คือการดัดแปลงจากมังงะเรื่อง Kids on the Slope ของ Yuki Kodama ซีรีส์นี้เกี่ยวกับวิธีที่ดนตรีได้นำพาเอากลุ่มคนที่ไม่น่าจะเป็นไปได้มารวมตัวกัน ไม่ว่าจะเป็น นักเปียโนคลาสสิก หนุ่มเกเรที่รักดนตรีแจ๊สและเด็กผู้หญิงที่ครอบครัวเป็นเจ้าของร้านแผ่นเสียง อนิเมะเรื่องนี้กํากับโดย Shinichiro Watanabe ซึ่งเคยสร้างชื่อไว้จาก Cowboy Bebop มันเป็นซีรีส์อบอุ่นสํารวจมิตรภาพที่ทั้งสามมีร่วมกันผ่านกรอบดนตรีแจ๊ส
Kids on the Slope ยังเป็นการรวมตัวกันอีกครั้งของ “วาตานาเบะ” และ “โยโกะ คันโนะ” นักแต่งเพลงของ Cowboy Bebop ซึ่งทั้งสองสามารถรังสรรค์บทเพลงได้อย่างชํานาญในการเล่าเรื่องบอกเล่าเรื่องราวที่ทรงพลังผ่านภาพและบทสนทนา
ยุคก่อร่างสร้างตัว
อย่างที่เกริ่นๆ ไปแล้วว่า เป้าหมายในเบื้องแรกของสตูดิโอ คือจัดตั้งขึ้นโดยมีภารกิจในการผลิต In This Corner of the World ของผู้กํากับชาวญี่ปุ่น Sunao Katabuchi เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบปัญหาการผลิตที่ Madhouse ซึ่งน่าเสียดายที่แม้จะมีสตูดิโอใหม่ ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ยังไม่ได้รับการเข็นออกมา จนกระทั่ง 5 ปีหลังจากสตูดิโอได้รับการจัดตั้งขึ้น ในระหว่างนี้ MAPPA ต้องทํางานในโครงการอื่น ๆ ไปก่อน
ดังนั้น โปรเจ็คต์แรกที่ผลักดันออกมาได้สำเร็จคือ อนิเมะดัดแปลงจากมังงะเรื่อง ครั้งแรกที่ MAPPA ออกจากประตูคืออนิเมะที่ดัดแปลงจากมังงะเรื่อง Kids on the Slope ของ Yuki Kodoma กํากับโดย Shinichiro Watanabe (รู้จักกันดีในชื่อความคิดสร้างสรรค์ที่อยู่เบื้องหลังซีรีส์อนิเมะเรื่อง Cowboy Bebop) ซีรีส์นี้มีศูนย์กลางอยู่ที่ดนตรี กับบทบาทที่แจ๊สมีต่อชีวิตของหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งที่มีพื้นเพชีวิตที่แตกต่างกัน โดยที่เรื่องนี้ค่อนข้างแตกต่างจากอนิเมะหลายเรื่องอื่นๆ เนื่องจากเรื่องราวใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากกว่าเรื่องโลกแฟนตาซีเต็มรูปแบบ และเพลงเป็นจุดสําคัญของการผลิตมันถูกรวบรวมโดย Yoko Kanno ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงใน Cowboy Bebop ซีรีส์นี้ออกมาในปี 2012 และความสมจริงและความน่าทึ่งของการผลิตช่วยกําหนดทิศทางและอนาคตของสตูดิโอแห่งนี้ต่อไป
จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว MAPPA ได้ผลิตซีรีส์อนิเมะที่มีชื่อเสียงมากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าและได้รับชื่อเสียงในฐานะบ้านของศิลปินและผู้กํากับที่มีความสามารถ ซีรีส์อนิเมะต้นฉบับเรื่องแรกที่ MAPPA ผลิตคือ Terror in Resonance เช่นเดียวกับ Kids on the Slope Terror in Resonance นั้นแตกต่างจากการผลิตอนิเมะอื่น ๆ อีกมากมาย
ซีรีส์อนิเมะต้นฉบับเรื่องแรกที่ MAPPA ผลิตคือ Terror in Resonance เช่นเดียวกับ Kids on the Slope Terror in Resonance นั้นแตกต่างจากการผลิตอนิเมะอื่น ๆ ด้วยสไตล์งานศิลปะที่ไม่ปกติและงานสร้างที่โดดเด่น บวกกับเส้นเรื่อง ทริลเลอร์ (ระทึกขวัญ) เชิงจิตวิทยา ทำให้เรื่องนี้ได้รับความสนใจจากผู้ชมอย่างรวดเร็ว โดยเรื่องราวนำเสนอเกี่ยวกับเด็กชายอัจฉริยะสองคนที่ต้องการทำลายล้างโตเกียว แต่จะหยุดพวกเขาได้ก็ต่อเมื่อปริศนาที่พวกเขาวางเอาไว้ได้รับการคลี่คลายได้ทันเวลา อีกจุดเด่นของเรื่องที่ไม่พูดถึงเลยคงไม่ได้ก็คือฉากหลังที่มีงานภาพประกอบ (Illustrated) ที่รายละเอียดต่างๆ สมจริงและโดดเด่นมากของเรื่องนี้
กระทั่งปี 2016 Maruyama ซึ่งยังคงเป็นคีย์แมนผู้ขับเคลื่อนคนสำคัญของสตูดิโอ เขายังร่วมพัฒนาทําให้อนิเมะดัดแปลงจากมังงะ Ushio & Tora เกิดขึ้น มี Yutaka Uemura กํากับ Punch Line โดยตรง และได้ Keeichi Satou มากํากับให้ Shingeki no Bahamut: Genesis และอีกมากมาย ซึ่งหากดูรวมๆ แล้วเหมือนว่าสตูดิโอกำลังจะเป็นไปด้วยดี แต่นี่กำลังจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา
การเปลี่ยนแปลงในยุคสั่นไหว
ต้องย้อนกลับไปว่าเหตุผลดั้งเดิมที่ Maruyama ก่อตั้ง MAPPA ตั้งแต่แรก เพราะเขาต้องการหลบหนีจากแรงกดดันและข้อ จํากัดขององค์กรที่เขาเคยประสบมากับที่ Madhouse แต่ว่าหลังจากที่เขาก่อตั้ง MAPPA ขึ้นมาแค่ช่วงแรกมันก็ประสบความสำเร็จมากแล้วเป็นแรงดึงดูดการสร้างงานมากมาย ซึ่งกลับมาเป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน นั่นแปลว่าบริษัทอยู่ในช่วงที่เติบโต และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทำให้เกิดแรงกดดันละงานที่เพิ่มขึ้นอย่างที่เขาเคยเจอกับที่เก่า ทำให้ Maruyama รู้สึกว่าเขากำลังตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับที่เขาเคยเจอกับ Madhouse ดังนั้น อาจจะพอพูดได้ว่า MAPPA กลายเป็นเหยื่อของความสําเร็จของตัวเอง
ดังนั้นในปี 2016 Maruyama จึงตัดสินใจที่จะก้าวลงจากตำแหน่งออกจาก MAPPA ในวันที่เขาอายุ 75 ปี แล้วก็ออกไปก่อตั้งบริษัทใหม่ที่ชื่อ Studio M2 เพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้สามารถทำงานตามโปรเจ็คต์ที่ต้องการได้ และก็ตัดสินใจส่งมอบ การควบคุม MAPPA ให้กับผู้มีความสามารถรุ่นใหม่โดย Manabu Otsuka รับตําแหน่งซีอีโอ ต่อไป
เช่นเดียวกับหลายๆ บริษัทช่วงเปลี่ยนแปลงผู้นำ MAPPA ประสบความสําเร็จอย่างมาก พร้อมๆ กับที่ปริมาณการผลิตจํานวนมากที่ถาโถมเข้ามา
ความสำเร็จและความก้าวหน้า
มาถึงยุคที่สตูดิโอประสบความสําเร็จในระดับที่ดีมาก ในปี 2016 ซึ่งนับว่าเป็นปีแห่งความก้าวหน้าครั้งใหญ่ของสตูดิโอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอนิแมะเรื่อง Yuri On Ice อนิเมะซีรีส์เรื่องนี้ ไม่ได้ประสบความสำเร็จแค่ในญี่ปุ่น แต่ยังได้รับการยกย่องจากนานาชาติอีกด้วย โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักสเก็ตลีลาชาวญี่ปุ่นชื่อ Yuri Katsuki ที่ตัดสินใจออกจากอาชีพนักไอซ์สเก็ต จนได้มาเจอกับ Victor Nikiforov นักเสก็ตอีกคน ที่ได้มาเห็นผลงานของเขาและตัดสินใจเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อไปเป็นโค้ชซึ่งจุดนี้ทำให้โชคชะตาของเขาเปลี่ยนไปในทันที อนิเมะเรื่องนี้กลายเป็นตำนานขึ้นหิ้ง พร้อมกับได้รับคำชมเรื่องความสัมพันธ์ในเชิงความสัมพันธ์แบบ LGBTQ+ ได้อย่างดีอีกด้วย (ไม่ขอสปอยด์มากละกัน)
แต่อย่างที่เกริ่นไว้ว่า ในความสำเร็จที่ท่วมท้นก็นำมาซึ่งแรงกดดันและงานที่มากมาย สตูดิโอต้องเผชิญกับภาวะงานหนักเดดไลน์ที่กระชั้นชิดและตารางงานที่ยุ่งเหยิง อย่างไรก็ตาม Yuri On Ice ก็กวาดรางวัลมากมาย และกลายเป็นหนึ่งแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในญี่ปุ่น ในปี 2017 ทำยอดขาย DVD และ Blu-Ray ได้มหาศาลซึ่งรวมๆ แล้วมันช่วยสตูดิโอเอาไว้มากกว่า
ยังอยู่กันที่ปี 2016 ซึ่งเป็นปีที่ดี เป็นปีที่เปิดตัว In This Corner of the World (ยังจำกันได้ไหม เป็นโปรเจ็คต์แรกที่ Maruyama หมายมั่นปั้นมือว่าจะสร้างให้ได้) หลังจากที่ผลิตช้ากว่าเดิมถึง 5 ปี ทว่า มันก็คุ้มค่ากับการรอคอย เพราะหลายเสียงยกย่องให้เป็ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของ MAPPA โดยได้มือดีอย่าง Sunao Katabuchi ที่ทั้งกำกับและร่วมเขียนเรื่อง (co-writer) ให้ โดยเรื่องนี้สร้างจากมังงะโดย Fumiyo Kōno
เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วง ทศวรรษที่ 1930 และ 40 นำเสนอชีวิตของหญิงสาวที่ชื่อ “ซูซุ” ซึ่งย้ายจากบ้านเกิดของเธอที่ฮิโรชูมะ ไปยังเมืองที่เรียกว่าคุเระ หลังจากที่เธอแต่งงานแล้ว โดยเป็นเรื่องราวชีวิตของเธอในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเธอต้องดูแลครอบครัวในเวลานั้น ภาพยนตร์ได้รับการยกย่องในเรื่องการแสดงและการถ่ายทอดชีวิตในช่วงสงครามในมุมที่แตกต่างได้เป็นอย่างดีซึ่งไม่ค่อยเห็นกันทั่วไปนัก พร้อมกวาดรางวัลมากมายจากทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ
ยุคเก็บเกี่ยวความสำเร็จ
หลังจากประสบความสำเร็จจากปี 2016 MAPPA เดินหน้าผลิตซีรีส์อนิเมะยอดนิยมออกมามากมาย กระทั่งปี 2018 ก็เปิดตัว Banana Fish กํากับโดย Akimi Yoshida ซีรีส์นี้สร้างจากมังงะตั้งแต่ปี 1985-1994 และ MAPPA ผลิตให้ตรงกับวันครบรอบ 30 ปีของชื่อเรื่อง เรื่องราวมีพื้นฐานมาจากความสัมพันธ์ระหว่าง Ash Lynx หัวหน้าแก๊งวัยรุ่นในนิวยอร์กและ Eiji Okumura ช่างภาพชาวญี่ปุ่น และเช่นเดียวกับที่เกิดกับเรื่อง Yuri On Ice ก็คือ Banana Fish ได้รับการยกย่องถึงวิถีในการนำเสนอแนวทาง LGBTQ+ ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน รวมถึงวิธีที่จะจัดการกับความรู้สึกและความสัมพันธ์ต่างๆ ได้ออกมาเป็นอย่างดี ซึ่งรวมไปปัญหาต่างๆ ในสังคมด้วย ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด ความรุนแรงทางเพศ และเรื่องชาวแก๊ง อาจเรียกได้ว่าเป็นการสะท้อนสังคมได้ดีเลย
ต่อด้วยอีกเรื่องที่ประสบความสำเร็จของ MAPPA ที่เกิดจากการดัดแปลงมังงะ ได้แก่เรื่อง Dorohedoro (ชื่อไทย สาปพันธุ์อสูร มีฉายใน Netflix ด้วยนะ) เรื่องราวของ Caiman ที่เขาตามหาหมอผีที่เปลี่ยนหัวของเขาไปเป็นสัตว์เลื้อยคลานและลบความทรงจําของเขาจนหมด โครงการนี้ใช้การผสมผสานระหว่างแอนิเมชั่น 2D และ 3D ซึ่งได้รับคําวิจารณ์ที่หลากหลาย แต่ก็ได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นอย่างมาก
และต่อมา MAPPA ก็ผลิตอนิเมะอีกหลายเรื่องที่น่าประทับใจหลังจากได้ ผู้กํากับ Sunghoo Park เข้ามาดูแลในหลายๆ เรื่อง ที่โด่งดัง ก็อย่างเช่น Garo: Vanishing Line, The God of High School รวมไปถึง Jujutsu Kaisen ที่ฮิตและได้รับความนิยมอย่างมากที่ไทยด้วย
ยุคลุยต่อไม่รอละนะ
และไม่พูดถึงเลยคือความสำเร็จในยุคปัจจุบัน ซึ่งอาจตีคร่าวๆ ว่าเริ่มในช่วงปี 2020 MAPPA เป็นที่จดจำในฐานสุดยอดสตูดิโอ จากการเข้ามารับช่วงต่อของ ‘Attack on Titan ผ่าพิภพไททัน’ โดยที่อนิเมะเรื่องนี้ซีรีส์สามเรื่องแรกผลิตโดย Wit Studio มาก่อน และเมื่อ MAPPA เข้ารับตําแหน่งในซีซันที่ 4 โดยเรียกว่า Final Season แม้ว่าในตอนแรกจะเกิดความกังขาว่าจะสามารถสานต่องานชิ้นนี้ได้หรือไม่ แต่ MAPPA ก็ไม่ทำให้แฟนๆ AOT ผิดหวัง ซีซัส 4 ได้รับคำชื่นชมทั้งเนื้อเรื่องและภาพวิชวลที่สวยงาม
และตามที่แฟนๆ AOT รอคอยความเคลื่อนไหวก็คือ Attack on Titan The Final Season Part 3 ทางสตูดิโอ MAPPA ได้แบ่งเรื่องราวออกเป็น 2 พาร์ท เพื่อให้เป็นภาคจบของ Attack on Titan ออกมาดีที่สุด ซึ่งพาร์ท 3.1 จะเริ่มฉายในวันที่ 3 มีนาคม (ในไทย 4 มีนาคม) ขณะที่ครึ่งหลังยังไม่มีกำหนดออนแอร์แน่ชัด แต่ทางสตูดิโอยืนยันว่าจะมาภายในปี 2023 นี้แน่นอน สำหรับตัวอย่างแรกที่ปล่อยออกมานี้ทำให้เห็นถึงรายละเอียดของตัวละคร และงานภาพเดือดๆ จากฝีมือของทีมงานและ ผู้กำกับ Yuchiro Hayashi ที่ได้ลงมือวาด รวมถึงแก้ไขตัวงาน รับผิดชอบมากกว่า 2,000 คัทเลยทีเดียว
และความสำเร็จล่าสุด ที่ไม่พูดเลยคงไม่ได้นั่นคือ Chainsaw Man ผลงานของ Tatsuki Fujimoto กํากับโดย Ryū Nakayama และ Makoto Nakazono เรื่องราวของหนุ่มน้อยนักล่าปีศาจ Denji ที่ตัวเองก็เป็นลูกผสมระหว่างมนุษย์และปีศาจเลื่อย ที่เกิดการรวมกับปีศาจสุนัขเลื่อย Pochita ความเดือดดาลแบบเลือดสาด พร้อมเพลงร็อคมันส์ๆ ทำให้ Chainsaw Man ครองใจผู้ชมอย่างรวดเร็ว ซึ่งหลังจบซีซันแรกแฟนๆ ก็ใจจดใจจ่อรอคอยซีซัน 2 กันแล้ว
เติบโตบนความเจ็บปวด
แม้ว่าจะประสบความสำเร็จทั้งในซีรีส์และภาพยนตร์ เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าคออนิเมะ แต่ก็ต้องยอมรับว่า MAPPA ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องสภาพการทำงานอย่างหนัก ทั้งการทำงานกำกับและโปรดิวเซอร์ทำงานกันอย่างดุเดือดไม่แพ้ตัวอนิเมะเลย โดยมีรายงานว่าชั่วโมงการทำงานของที่นี่ยาวนานมากในขณะที่เดดไลน์สั้นเกินไปบนความคาดหวังที่สูงเกินไป รวมไปถึงอัตราค่าจ้างตอบแทนที่ไม่คุ้มกับการทำงานหนักของศิลปินจุดนี้ MAPPA ก็ได้รับคำวิจารณ์ในเรื่องนี้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ทาง Manabu Otsuka ได้ออกมาปกป้องบริษัท โดยระบุว่า ปัญหานี้เป็นกันทั้งอุตสาหกรรมอนิเมะโดยทั่วไป จะมาจับจ้องที่ MAPPA เจ้าเดียวไม่ได้
อันที่จริงก็ไม่ผิดเลย การทำงานหนักภายใต้แรงกดดันถือเป็นเรื่องปกติในอุตสาหกรรมนี้ในญี่ปุ่นกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Madhouse หรือสิ่งที่ MAPPA ต้องเผชิญปัญหาในการผลิตงาน สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยแรงกกดันในการทำงาน แต่ทางบริษัทก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยมีข่าวว่า มีการปรับปรุงอย่างหนักเพื่อให้การทำงานดีขึ้น ทั้งการเปิดตัวสตูดิโอใหม่ที่มีขนาดกว้างขวาง 5,000 ตารางฟุต ในกรุงโตเกียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานให้กับทีม
เวลาเท่านั้นที่จะบอกได้ว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่ MAPPA จะเป็นอย่างไร แต่อย่างน้อยสตูดิโอก็ตระหนักถึงปัญหาและพยายามแก้ไข เราหวังว่า MAPPA จะเติบโตต่อไปและยังคงผลิตอนิเมะที่น่าทึ่งซึ่งกลายเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนต่อไปรวมทั้งผู้เขียนเองด้วย
ก่อนจากไป ในฐานะโอตาคุเราขอแนะนำเรื่องนี้ที่มีความสนุกและแหวกแนวในแบบฉบับ MAPPA เช่นเดิม ได้แก่เรื่อง “สกิลพิสดารกับมื้ออาหารต่างโลก” (Campingfire Cooking in Another World with My Absurd Skill) หวังว่าคุณจะหลงรักเรื่องนี้เหมือนกัน
Source
https://www.vectornator.io/blog/mappa-studio/
https://www.cbr.com/rise-of-mappa-terror-in-resonance-attack-on-titan/
https://otaku.fandom.com/wiki/MAPPA#:~:text=(%E6%A0%AA%E5%BC%8F%E4%BC%9A%E7%A4%BEMAPPA%2C%20Kabushiki%2D,Maruyama%20Animation%20Produce%20Project%20Association%22.
https://www.cbr.com/best-mappa-anime-imdb/#chainsaw-man
https://en.wikipedia.org/wiki/MAPPA
Credit ภาพ
https://fancons.com/guests/bio/7324/manabu-otsuka