“เงินบาทดิจิทัล” (CBDC) Digital Currency ของคนไทย สำคัญอย่างไร ทำไมประเทศไทยถึงต้องมี?

  • 3
  •  
  •  
  •  
  •  

Digital Currency

ต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีทางการเงินทุกวันนี้ มีระบบการชำระเงินที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องพกเงินสดติดตัว โดยการผ่านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ เช่น QR Code หรือแม้กระทั่งการใช้ pay wave ในการใช้บัตรเครดิตแตะด้วยตัวเองแทนการรูดช่วยให้ประชาชนใช้จ่ายและมีช่องทางชำระเงินสะดวกยิ่งขึ้น

ล่าสุดนวัตกรรมทางการเงินได้เพิ่มโอกาสให้ภาคเอกชนสร้างสกุลเงินดิจิทัลเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น ในหลากหลายรูปแบบ เช่น คริปโตเคอร์เรนซี เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างกันไม่ต้องผ่านตัวกลางทางการเงิน สะดวกรวดเร็ว มีต้นทุนการทำธุรกรรมที่ต่ำลง และใช้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลได้ง่าย แต่ต้องประสบกับความเสี่ยงที่ผันผวนสูง และอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือฟอกเงินหรือใช้ในทางที่ผิดกฎหมายได้เพราะไม่จำเป็นต้องระบุตัวตน

ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธปท. ได้เห็นถึงความความปลอดภัยที่ประชาชนจะต้องได้รับเป็นสิ่งสำคัญ จึงได้ทำการการถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และได้มีมาตรการ การออกใช้สกุลบาทเงินดิจิทัลสำหรับรายย่อย (CBDC) เพื่อจะช่วยเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนได้เข้าถึงสกุลเงินดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยสูง และเชื่อถือได้ รวมทั้งเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมหลายด้าน เช่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการเงินของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเปิดกว้างให้ประชาชนและภาคธุรกิจใช้ได้ทั่วถึง รวมทั้งเปิดโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินดิจิทัลมากขึ้น และลดต้นทุนการบริหารจัดการเงินสดของประเทศ และยังช่วยป้องกันการผูกขาดของธุรกิจการเงินภาคเอกชน ซึ่งอาจให้บริการที่ไม่เป็นธรรมหรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในทางที่ไม่ถูกต้อง

สำหรับเงินบาทดิจิทัลที่จะออกใช้ในประเทศไทย จะเน้นให้คล้ายเงินสดที่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ทั้งแบบเชื่อมต่อและไม่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นการชำระสินค้า บริการ หรือทำธุรกรรมต่างๆทั้งรัฐบาลและเอกชน ซึ่งจะช่วยให้คนไทยอาจไม่จำเป็นต้องพกเงินสดไปไหนมาไหนอีกต่อไป เพื่อให้ประชาชนใช้ได้อย่างราบรื่นในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยมีการได้เร่งพัฒนาและทดลองใช้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของระบบการชำระเงินในไทยให้ดีขึ้น

Cryptocurrency

เงินบาทดิจิทัล ต่างจากเงินประเภทอื่นอย่างไร

• เงินสดต่างจากเงินดิจิทัล ปกติเวลาจะใช้เงินสดหลายคนต้องถอนเงินฝากมานับและใช้จ่ายเงินผ่านมือกัน ซึ่งจะต่างจากเงินบาทดิจิทัล ไม่มีอะไรให้จับต้องได้ แต่เป็นเงินที่ออกโดยธนาคารกลาง โดยสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย แต่จะใช้เงินบาทดิจิทัลได้ต้องนำเงินสดหรือเงินฝากมาแลกเก็บไว้ในกระเป๋าเงินดิจิทัล และกรณีคนทั่วไปที่ไม่มีสมาร์ทโฟน อินเตอร์เน็ต หรือบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินก็จะสามารถเข้าถึงใช้งานได้ด้วย เช่น ผ่านการ์ดที่ใช้แตะเพื่อรับจ่ายเงินได้

• เงินบาทดิจิทัล ต่างจากคริปโทเคอร์เรนซีมีมูลค่าผันผวนสูง สร้างขึ้นโดยภาคเอกชน ซึ่งมีมูลค่าผันผวนมากและยังไม่มีกฎหมายเงินตรารองรับ ยกเว้นในบางประเทศที่มีการประกาศยอมรับบิตคอยน์เป็นเงินตราใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ขณะที่เงินบาทดิจิทัล มีกลไกตรึงมูลค่ากับสกุลเงินหลักหรือสินทรัพย์อื่นให้ราคาผันผวนน้อยลง

• เงินบาทดิจิทัลต่างจากการโอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากบนแอพในสมาร์ทโฟน อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง ซึ่งคนไทยใช้งานคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะมีสภาพคล่องสูง ขณะที่เงินบาทดิจิทัลนอกจากจะเข้ามาช่วยลดการสัมผัส ช่วยลดต้นทุนเดินทางฝากถอน รวมถึงเก็บรักษาเงินสด และเพิ่มประสิทธิภาพให้เงินสดน่าใช้ขึ้นด้วยเทคโนโลยีทางการเงินแบบใหม่ เหมือนตัดถนนใหม่ที่ใครก็ใช้ได้ หรือมาต่อยอดนวัตกรรมบริการการเงินใหม่ ๆ เพิ่มได้ในอนาคต ทำให้ธุรกรรมเงินสดดิจิทัลวิ่งฉิว ถึงไว ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมถ้าใช้จ่ายทั่วไปวงเงินไม่ได้สูงมาก เป็นอีกทางเลือกที่ไม่ต้องโอนเงินฝากผ่านระบบสถาบันการเงิน ซึ่งอาจมีข้อจำกัดบางเวลาหากคนใช้เยอะ หรือให้ใช้ได้เฉพาะกลุ่มลูกค้าของสถาบันการเงินนั้น ๆ

• เงินบาทดิจิทัลต่างจากเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money) เพราะ e-money เป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยสถาบันการเงินและผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) ภายใต้กฎหมายระบบการชำระเงิน ผู้ให้บริการจะออก e-money ให้แก่ผู้ใช้ที่เติมเงินไว้ล่วงหน้าเพื่อเอาไปจ่ายชำระค่าสินค้าและค่าบริการในวงปิด เฉพาะเครือข่ายที่รับชำระ e-money นั้นๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปการ์ด เช่น บัตรรถไฟฟ้า บัตรเติมเงิน หรืออยู่ในเครือข่ายของผู้ให้บริการ เช่น ทรูมันนี่ Rabbit LINE Pay ShopeePay GrabPay ซึ่งมูลค่าของ e-money ในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์จะเท่ากับมูลค่าเงินที่เติมไว้ ซึ่งต่างจากเงินบาทดิจิทัลที่ออกใช้โดยธนาคารกลาง ใช้จ่ายชำระได้ในวงกว้างประชาชนใช้งานกันได้อย่างทั่วถึงมากกว่า

การพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ประชาชนนั้นเกิดความสะดวกรวดเร็ว และต้องได้รับความปลอดภัย จึงถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินของประเทศของประเทศไทย ให้ทัดเทียมกับทั่วโลกได้

ข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย


  • 3
  •  
  •  
  •  
  •  
sabuysuk
การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวัน ล้วนแล้วแต่ได้กำไร