หลังจากที่ประเทศไทยพบการระบาดเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วจนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวแบบควบคุมไม่อยู่ ส่งผลให้หลายฝ่ายโดยเฉพาะหน่วยงานด้านการแพทย์ต้องปรึกษาเพื่อวิเคาะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการคาดการณ์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายๆ ด้าน โดย ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ชี้แจงถึงผลการคาดการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้
ซึ่งหากมองประเทศที่ติดเชื้อทั่วโลก จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มทั้งกลุ่มที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ อย่าง สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ อย่าง อิตาลี เยอรมนี และหลายประเทศในกลุ่มยุโรป เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 2 กลุ่มแล้วจะตัวเลขผู้ติดเชื้อช่วง 100 คนแพร่ระบาดไปจนถึง 300 คน กลุ่มประเทศที่ที่ไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้จะใช้ระยะเวลาเพียง 3 วัน
ประเทศไทยกำลังอยู่ช่วงที่การแพร่ระบาดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างการเป็นประเทศที่ไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้หรือประเทศที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ (Golden Period) ถ้าทุกคนอยู่กับบ้านยอดผู้ติดเชื้อจะเหลือ 24,269 คน จากเดิมคาดการณ์ไว้หากไม่อยู่กับบ้านจะมีผู้ติดเชื้อ 351,948 คน และจะทำให้ยอดผู้เสียชีวิตเหลือเพียง 485 คน จากที่คาดการณ์หากไม่อยู่บ้านจะมีผู้เสียชีวิตถึง 7,039 คน
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้อิตาลีมียอดผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 เป็นจำนวนมาก เพราะความพร้อมทางการแพทย์ไม่เพียงพอ เมื่อเทียบตัวเลขคาดการณ์ในกรณีที่ไม่อยู่กับบ้านจะพบว่า คาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อ 351,948 คน ในขณะที่เตียงที่ใช้ในการรักษาเฉพาะ COVID-19 มีไม่เกิน 7,100 เตียงทั่วประเทศ และมีหมอที่พร้อมให้การรักษาอยู่ประมาณ 30,000 กว่าคน ซึ่งเทียบไม่ได้กับจำนวนผู้ติดเชื้อ
มาตรการ Social Distancing จะช่วยหยุดการระบาดได้ ทั้งการไม่รวมกลุ่มกัน ไม่กินข้าวนอกบ้าน ไม่ไปสถานบันเทิง เวลาคุยกันปกติควรยืนให้ห่างกันอย่างน้อย 2 เมตรขึ้นไป รวมถึงการยกเลิกกิจกรรมต่างๆ ที่มีการรวมตัวกันของคนจำนวนมาก