10 ข้อที่จะทำให้คุณรู้จัก “กูลิโกะ ป๊อกกี้” ในมุมที่คุณอาจไม่เคยรู้

  • 44
  •  
  •  
  •  
  •  

กูลิโกะป๊อกกี้ กับเกร็ดความรู้ยิบย่อยที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน กูลิโกะเป็นแบรนด์ญี่ปุ่นที่ผลิตและจำหน่านผลิตภัณฑ์ขนมหลากหลายไลน์สินค้า ก่อตั้งครั้งแรกที่ Nishi-ku, Osaka ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 1922  ขนมจาก กูลิโกะ ที่เข้ามาในไทยครั้งแรกเมื่อปี 1970 และเป็นประเทศแรกอีกด้วยที่ กูลิโกะ เลือกเข้ามาขยายกิจการ ปัจจุบัน กูลิโกะมีวางจำหน่ายไปทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในแทบเอเซีย และ

โอกาสหน้าเราสัญญาว่า จะนำเรื่องราวของ กูลิโกะ ในประเทศไทยมาเล่าสู่กันฟังอย่างแน่นอน แต่สำหรับบทความนี้ เราไปดูกันดีกว่าว่า Fact ทั้ง 10 ข้อ ของกูลิโกะป๊อกกี้จะมีอะไรบ้าง

pocky_050_s__2

 

 

1.   รู้หรือไม่ กูลิโกะ มีจุดเริ่มต้นจาก ‘หอยนางรม’ เรื่องราวคือ นาย Ri-ichi Ezaki ผู้ก่อตั้ง กูลิโกะ เคยอ่านเจอในหนังสือพิมพ์ว่า Glycogen (ไกลโคเจ้น) ที่อยู่ในหอยนางรมมีประโยชน์ต่อร่างกาย และเขามักเห็นเป็นประจำว่าชาวประมงในหมู่บ้านมักจะต้มหอย และน้ำที่ต้มเททิ้งทุกครั้ง เขาจึงขอซื้อหอยนางรมจากชาวประมงมาต้มและวิจัยที่มหาวิทยาลัยคิวชู แต่ในระหว่างนั้น ลูกชายของ Ri-ichi Ezakio ก็ล้มป่วยเป็นไทฟอยด์ ซึ่งหมอยังไม่สามารถหาทางรักษาได้ แม้จะดูสิ้นหวังแต่คนเป็นพ่อก็ไม่ย้อท้อ เขาจึงขออนุญาติหมอ ลองให้ลูกชายได้ดื่มน้ำต้มหอยนางรม

ปรากฎว่าอาการของลูกชายเขาดีขึ้นเรื่อยๆ (ตอนนั้นเขาเองก็ยังไม่รู้ว่า Glycogen จะช่วยบำบัดโรคไทฟอยด์ได้) จนกระทั่งลูกชายเขาหายจากอาการป่วย Ri-ichi Ezaki จึงรู้ว่า Glycogen เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และช่วยเยียวยาโรคได้ เขาจึงคิดอยากผลิตขนมที่เด็กญี่ปุ่นกินแล้วร่างกายแข็งแรง มีประโยชน์ โดยจะใช้ Glycogen เป็นส่วนผสม จึงเป็นที่มาของชื่อยี่ห้อ Glico แปลงมาจาก Glycogen (ญี่ปุ่นจะออกเสียงว่า กูลิโกะ) และใช้ชื่อบริษัทว่า Ezaki Glico Co., Ltd. 

01(66)

 

2.   โลโก้ของ กูลิโกะ มาจากการที่ นาย ริอิจิ มักจะไปดูการแข่งขันกรีฑาบ่อยๆ เขาเห็นว่าคนที่วิ่งเข้าเส้นชัยเป็นคนแรกมักจะชูมือด้วยสีหน้าปีติดีใจและก็เป็น symbolic ของคนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง จึงเป็นแรงบันดาลใจมาสู่การสร้างสรรค์โลโก้ของ กูลิโกะ

04(42)-2 

 

3.   ขนมรุ่นแรกที่ กูลิโกะ ทำออกมา เป็นเม็ดอมคาราเมลผสม Glycogen รูปหัวใจ

image138-400x300

 

4.   ในตอนแรก กูลิโกะตั้งใจจะทำป๊อกกี้แบบเคลือบช็อกโกแลตทั้งแท่ง แล้วมีฟอยด์สำหรับจับขนมกันมือเลอะ แต่ต้นทุนฟอยด์แพงมาก  ป๊อกกี้ เลยเคลือบช็อกโกแลตโดยเหลือบริเวณปลายแท่งไว้สำหรับจับเพื่อไม่ให้มือเลอะเวลากิน

img_main

 

5.   ไทย เป็นประเทศแรกที่กูลิโกะเลือกเข้ามาลงทุน เมื่อปี 1970 ณ ตอนนั้นขนม ป๊อกกี้ ถือเป็นขนมที่เป็นที่ฮือฮาและมีราคาสูงในยุคนั้น

rangsit_contact

 

6.  Pocky ป๊อกกี้ มีขายขึ้นครั้งแรกที่ญี่ปุ่น ปี 1966 เป็นบิสกิตแบบแท่งเคลือบช็อกโกแลต ต่อมาในปี 1971 มีการนำอัลมอนด์มาเคลือบทับอยู่บนช็อกโกแลต และสำหรับรสสตรอเบอร์รี่นั้นออกมาในปี 1977 เป็นขนมที่ได้รับความนิยมอย่างมาก 

Screen-Shot-2556-09-29-at-9.27.39-PM

 

7.   สำหรับป Pocky ในยุโรปจะเรียกป๊อกกี้ว่า มิกาโดะ ซึ่งผู้จัดจำหน่านในยุโรปคือบริษัท Mondelēz International

47598011_H-400x400 

 

8.   มาเลเซียเรียก Rocky เพื่อไม่ให้ไปพ้องเสียงกับคำว่า Porky ที่แปลว่าหมู แต่คำว่า Rocky ที่ปรากฎนั้นเป็นเพียงแพคเกจจิ้งดีไซน์ ชื่อทางการค้ายังคงเป็น Pocky

201112112153308d7-400x299

 

 

8.   Pretz เพรทซ์ เป็นขนมบิสกิตแบบแท่งคล้าย ป๊อกกี้ แต่รสชาติและต้นแบบห่างไกลกับป๊อกกี้นัก เพราะเพรทซ์มีต้นแบบมาจาก เพรทเซิล ซึ่งจุกแตกต่างจากกป๊อกกี้คือ เพรทซ์ จะโรยด้วยผงปรุงรสซึ่งทำรสชาติที่แตกต่างกันออกมากว่า 80 รสชาติ (รวมที่จำหน่ายอยู่ในแต่ละประเทศ)

20110512-japanese-snacks-pretz-boxes

 

9.   ในฮ่องกงมีเพรทซ์ รสหูฉลาม กับ รสหอยเป๋าฮื้อ

5949994202_c7f01b70c8_o

 

10.  วันที่ 11 เดือน 11 เป็นวัน “Pretz & Pocky Day”  ซึ่งเป็นวันที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อรำลึกถึงการเกิดขึ้นของขนมที่เป็นที่ถูกอกถูกใจของคนทั่วโลก โดยมีแนวคิดมาจากความต้องการของ Ri-ichi Ezaki ที่อยากเด็กญี่ปุ่นได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไปพร้อมๆกับการได้ทานขนมที่มีรสอร่อย

ซึ่งในวันที่ 11 พ.ย. 2012  คำว่า “Pocky” ถูก mention ในทวิตเตอร์มากถึง 1,843,733  ครั้งในวันเดียว เป็นสถิติใหม่ที่ถูกบันทึกใน Guinness World Records และปีถัดมาในวันเดียวกัน สถิตินั้นถูกทำลายลงเพราะมีการ mention ถึงคำว่า “Pocky” ในทวิตเตอร์เพิ่มขึ้นเป็น 3,710,044 ภายในหนึ่งวัน

Pocky-e1446688101828

 

Source: Glico


  • 44
  •  
  •  
  •  
  •