จับความเคลื่อนไหวและเทรนด์การ ‘ท่องโลกออนไลน์’ ของผู้บริโภคไทยและอาเซียน ซึ่งพบว่า 2 ใน 3 ใช้เวลากับโลกออนไลน์มากขึ้น และส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับความบันเทิง, ชอปปิ้ง และเพื่อการสื่อสาร
จากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2563 พบว่า ผู้บริโภคทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หันมาใช้เทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในชีวิตประจำวันในช่วงล็อกดาวน์จากสถานการณ์การแพร่ระบาด ผู้คนในภูมิภาคใช้เวลาว่างในแต่ละวันบนโลกอินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยมากขึ้น 1 ชั่วโมง และ 8 ใน 10 รู้สึกว่า เทคโนโลยีช่วยพวกเขารับมือกับสถานการณ์การระบาดนี้ได้ดียิ่งขึ้น
ขณะที่การระบาดระลอกใหม่กำลังส่งผลกระทบต่อภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ทาง Think with Google ได้จับมือกับ Milieu Insight เพื่อศึกษาบทบาทของเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างในช่วง 8 เดือน โดยมีสถิติน่าสนใจดังต่อไปนี้
เมื่อเทียบกับปี 2564 กับปี 2563 พบว่า 2 ใน 3 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เวลาออนไลน์มากขึ้น โดยคนไทย 74% ใช้เวลาออนไลน์มากขึ้น
ความกังวลเรื่องความปลอดภัยเมื่อต้องออกไปซื้อของหรือพบปะสังสรรค์ ทำให้ผู้คนใช้เวลาพักผ่อนนอกบ้านน้อยลงและใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น ผู้คนใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปี 2564
โดยกว่าครึ่งของผู้คนที่ใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้นในปีนี้ จะใช้เวลาออนไลน์เพิ่มขึ้น 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ว่าจะเพื่อความบันเทิง(คนไทยอยู่ที่ 83%) ชอปปิ้ง (คนไทยอยู่ที่ 64%) เพื่อติดต่อสื่อสาร (คนไทยอยู่ที่ 68%) ธุรกรรมทางการเงิน (คนไทยอยู่ที่ 64%) การศึกษาและการทำงาน (คนไทยอยู่ที่ 42%)
สัดส่วนของผู้คนที่คิดว่า เทคโนโลยีตอบโจทย์ความต้องการ
ไทย 94%
อินโดนีเซีย 89%
สิงคโปร์ 90%
ฟิลิปปินส์ 92%
มาเลเซีย 93%
เวียดนาม 95%
มากกว่า 6 ใน 10 อยากทำงานที่บ้านเป็นหลักต่อไป
นอกจากอินเทอร์เน็ตจะช่วยตอบสนองความต้องการของเราได้แล้ว อินเทอร์เน็ตยังช่วยให้เราสามารถทำงานที่บ้านในสถานการณ์ที่โรคระบาดยังคงแพร่กระจายอยู่ในปัจจุบันนี้
67% ของคนที่ทำงานที่บ้านในสถานการณ์โควิด-19 ชื่นชอบการทำงานแบบไฮบริด (hybrid work arrangement) คือ สลับระหว่างเข้าออฟฟิศกับทำงานที่บ้าน แม้จะผ่านสถานการณ์โควิด-19 ไปแล้ว เพราะการระบาดได้เปลี่ยนพฤติกรรมทางดิจิทัลของผู้คนไปอย่างถาวร ไม่ว่าจะในเรื่องส่วนตัวหรือการทำงาน
ที่มา : Think with Google