“มีเหตุผลอะไร ที่พวกเราไม่กลับมาล่ะ” ถ้าหลายคนยังจำได้ประโยคสุดไวรัลข้างต้นกล่าวโดยวง PREP ในคอนเสิร์ต PREP Live in Bangkok 2022 เมื่อปลายปีที่ผ่านมkโดยศิลปินได้เอ่ยชมแฟนคลับชาวไทยที่ร้องเพลงของพวกเขาได้ทุกท่อนไม่ใช่แค่ท่อนฮุก ทำให้วงดนตรีชาวอังกฤษประทับใจชาวไทยเป็นอย่างมาก นี่คือตัวอย่างของศิลปินที่มีความประทับใจต่อประเทศไทยและแฟนคลับชาวไทย รวมถึงศิลปิน K pop อีกหลายวงที่ตบเท้าเข้ามาจัดคนเสิร์ตในประเทศไทยและมองประเทศไทยเป็นแลนมาร์กของการจัดคอนเสิร์ต
โดยสถิติคอนเสิร์ต ประเทศไทยในปี 2022 นั้น มีคอนเสิร์ตทั้งหมด 210 งาน เพิ่มขึ้นจากปี 2019 กว่า 22% โดยคอนเสิร์ตทั้งหมดบางเป็น ศิลปินไทย 120 งาน ศิลปินเกาหลี 51 งาน ศิลปินตะวันตก 28 งาน และศิลปินจีนรวมถึงศิลปินนานาชาติ ฯลฯ 11 งาน โดยรุปแบบการจัดแบ่งเป้น คอนเสิร์ต 118 งาน เฟสติวัล 49 งาน และแฟนมีตติ้ง 43 งาน (อ้างอิงข้อมูล Info: THE STANDARD POP) ในปี 2023 ถือว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2022 อย่างมีนัยสำคัญ เพราะแค่เปิดปีมามีคอนเสิร์ตใหญ่ๆ กว่า 30 งาน
คอนเสิร์ตมากขึ้นสะท้อนคนไทยมีกำลังซื้อ? หรือคือความสุขสุดท้าย?
หลังจากคลายล็อกโควิด-19 คอนเสิร์ตทั้งไทยและต่างประเทศเริ่มจัดแสดงอย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าใน 1 วันมีมากกว่า 1 คอนเสิร์ต บางวงประกาศ Sold out หลังประกาศขายบัตรไปไม่ถึง 1 ชั่วโมง สถานที่การจัดคอนเสิร์ตเริ่มขยายวงกว้างจากในกรุงเทพฯ ขยับขยายสู่ต่างจังหวัด ราคาบัตรงานคอนเสิร์ตรวมถึงเทศกาลดนตรีต่างๆ ในประเทศไทย ราคาบัตรถูกที่สุดอยู่ที่ 200 บาท ไปจนถึงแพงที่สุดอยู่ที่ราตา 18,000 บาท
ซึ่งถ้าเปิดสถิติรายได้ มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 248,468 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งฐานรายได้ดังกล่าวเป็นข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ประมาณการรายได้ต่อหัวคนไทยล่าสุด ปี 2565 และยังเปิข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับที่นอกเหนือไปจากการประเมินเศรษฐกิจไทยทั้งปี GDP จะขยายตัว 2.5 – 3.5% แน่นอนว่าในสังคมไทยช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนนั้นห่างชั้น ค่า GDP อาจจะเป็นแค่ตัวเลขชี้วัดได้แต่ไม่ใช้คำตอบว่าผู้คนมีกำลังซื้อสูงขึ้น เนื่องจากค่าอุปโภคบริโภคนั้นก็มีราคาสูงขึ้นตาม
‘ดูคอนเสิร์ตบ่อย ชีวิตยิ่งยืนยาว’ ประโยคสุดกระแทกใจ จากงานวิจัย โอทู (O2) ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ไร้สายของอังกฤษ งานวิจัยชิ้นนี้อ้างอิงจากการทดสอบทางจิตวิทยาและจังหวะการเต้นของหัวใจ แค่ไปดูคอนเสิร์ต 20 นาทีก็ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ถึง 21 เปอร์เซ็นต์ และการไปคอนเสิร์ตอย่างน้อยสองสัปดาห์ต่อครั้งจะช่วยให้มีอัตราความสุข ความพอใจ ความมีประสิทธิภาพ และความเชื่อมั่นในตัวเองอยู่ในระดับสูงสุด มีอายุยืนขึ้นไปอีกเก้าปี
นักวิเคราะห์และนักวิชาการเคยเห็นความเห็นไว้ว่า แฟนเพลงของศิลปินคือส่วนเล็ก ๆ ของเศรษฐกิจผู้บริโภค แต่มันก็บอกได้ว่า ยุคหลังโควิด-19 พฤติกรรมผู้บริโภคต้องการอะไร คือ กลุ่มผู้บริโภคเต็มใจที่จะใช้จ่ายเงินให้กับสิ่งที่พวกเขาพลาดไปในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะต้องแลกด้วยอะไรก็ตาม และก็ยังเป็นเทรนด์ให้นักการตลาดมองเห็นอะไรบางอย่างได้ขึ้นมา
คอนเสิร์ตเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจดีขึ้นจริงหรือไม่?
ในสหรัฐอเมริกาเคยมีปรากฎการณ์ที่ถูกเรียกว่า Swiftonomics ปรากฎการณ์การซื้อตั๋วชมคอนเสิร์ตของนักร้องสาว ‘เทย์เลอร์ สวิฟต์’ ที่สามารถจับภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในเรื่องของ กำลังซื้อ และ เศรษฐกิจของผู้บริโภค เรื่องราวเกิดขึ้นในปี 2023 ตอนที่นักร้องสาวชื่อดัง ‘เทย์เลอร์ สวิฟต์’ ประกาศทัวร์คอนเสิร์ต “The Eras Tour” ที่จะแสดงมากถึง 52 รอบ ใน 20 เมืองทั่วสหรัฐบัตรคอนเสิร์ตถูกขายไปกว่า 2.4 ล้านใบ แน่นอนว่าการกดบัตรนั้นเหมือนเกิดสงคราม ราคาบัตรพุ่งสูงขึ้นเมื่อมีดีมานต์มากขึ้น หลายคนนำบัตรไปขายต่อในราคาที่แพงว่าบัตรจริงหลายเท่าโดยสำนักข่าวต่างประเทศ ต่างรายงานว่า ตอนนี้นอกจากจะซื้อตั๋วคอนเสิร์ตเทย์เลอร์ สวิฟต์ แบบซื้อตรง ๆ ปกติไม่ได้แล้ว ราคาตั๋วที่ถูกนำมาขายต่อตามตลาดรอง ตลาดใต้ดิน พุ่งไปถึง 338-28,000 ดอลลาร์ต่อใบ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า มีถึงขนาดตั้งราคาปล่อยตั๋วถึง 40,000 ดอลลาร์!! คิดเป็นเงินไทยก็คือตั๋วคอนเสิร์ตแตะหลักล้านบาทต้นๆไฟลามทุ่งไปถึงการผูกขาดการขายตั๋วจากกรณีที่ Ticketmaster สงวนสิทธิ์ซื้อตั๋วรอบพรีเซลให้ผู้ถือบัตรพิเศษบางประเภท เรื่องใหญ่โตถีงขนาดหน่วยงานต่อต้านการผูกขาดของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯเข้ามาสืบสวนสอบสวนบริษัท Live Nation Entertainment ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Ticketmaster ที่เป็นบริษัทจัดจำหน่ายตั๋ว ถูกสอบสวนว่าแพลทฟอร์มขายตั๋วนี้ใช้อำนาจในทางมิชอบหรือไม่
นักการเงิน นักเศรษฐศาสตร์ และสื่อบางสำนักออกมาเรียก Swiftonomics เพราะปรากฎการณ์แย่งชิงตั๋วคอนเสิร์ตนับล้านใบในวันเดียว สะท้อนให้เห็นถึง ‘ความต้องการของผู้บริโภค’ สหรัฐฯได้ดีในช่วงเวลานี้ แม้จะมีความเสี่ยงและความวิตกกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจจะเกิดขึ้นในสหรัฐก็ตามที
ซึ่งแน่นอนว่าในประเทศไทยมีเหตุการณ์คล้าย ๆ กันเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งในเรื่องของการอัพราคาค่าบัตรที่ถูกนำมาขายใต้ดินในราคาที่สูงกว่าราคาจริงหลายเท่าเพราะ คำว่า ‘มีความต้องการของบริโภค’ นั้นสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีดีมานด์ก็จริงแต่ไม่ได้สะท้อนสภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวมทั้งหมด ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อในราคาที่แพงขนาดนี้มีแค่กลุ่มเล็กๆ เท่านั้น อย่างนั้นแล้วคอนเสิร์ตเป็นภาพสะท้อนเศรษฐกิจภาพรวมไม่ได้ทั้งหมด
เปิดบริษัทจัดคอนเสิร์ตของศิลปินชื่อดังระดับโลก ทั้งอินเตอร์ และ K-Pop ในประเทศไทย
- 411 Entertainment ผู้จัดโชว์รายใหญ่ที่แฟนคลับศิลปินเกาหลีรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งผู้บริหาร คือหนุ่มกึ้ง เฉลิมชัย มหากิจศิริ นั่นเอง ในปี 2564 บริษัท 411 Entertainment มีรายได้รวมอยู่ที่ 53,064,964.48 บาท และขาดทุนสุทธิจำนวน 31,334,043.05 บาท สำหรับ 411 Entertainment เป็นผู้จัดอีเวนต์และคอนเสิร์ตมากมาย อาทิ งาน ‘The Rose [HEAL TOGETHER] WORLD TOUR IN BANGKOK’ ที่อัลตร้า อารีน่า ฮอลล์ ชั้น 6 ศูนย์การค้า SHOW DC ในวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา, ‘TWICE WORLD TOUR 2019 ‘TWICELIGHTS’ IN BANGKOK’ ที่อิมแพค อารีนา เมืองทองธานี เมื่อปี 2562 รวมถึงงาน ‘BLACKPINK 2019 WORLD TOUR [IN YOUR AREA] BANGKOK’ เมื่อปี 2562 ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี และคอนเสิร์ตอื่น ๆ อีกมากมาย
- บริษัท ไลฟ์ เนชั่น เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด บริษัทเป็นชื่อดังที่ได้จัดคอนเสิร์ต ‘BLACKPINK WORLD TOUR [BORN PINK] BANGKOK’ ที่สนามศุภชลาศัย เมื่อวันที่ 7-8 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา รวมถึงคอนเสิร์ต ‘Harry Styles: Love On Tour 2023’ วันที่ 11 มีนาคม 2566 ที่ราชมังคลากีฬาสถาน และอีกมากมาย โดยรายได้รวมปี 2564 ของไลฟ์ เนชั่นฯ อยู่ที่ 4,483,352.62 บาท และขาดทุนสุทธิ 7,343,487.49 บาท
- APPLEWOOD THAILAND หรือ บริษัท แอ๊ปเปิ้ลวูด (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้จัดงานประกาศรางวัล Golden Disc Awards ครั้งที่ 37 ที่ราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อวันเสาร์ที่ 7 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา สำหรับรายได้ปีล่าสุดของ แอ๊ปเปิ้ลวูด (ไทยแลนด์) ตามที่แจ้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คือปี 2564 บริษัทมีรายได้รวม 15,237,556.26 บาท และมีกำไรสุทธิ 74,462.82 บาท
สุดท้ายแล้วดัชนีชี้วัดขอระบบเศรษฐกิจไม่ได้วัดจากการที่ประเทศไทยเป็นฮับของการจัดคอนเสิร์ต สิ่งนี้คือความต้องการของผู้บริโภคที่มีกำลังจะจ่ายเพื่อความบันเทิงเป็นจุดเล็กๆ ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้แต่ไม่ใช่ทั้งหมด หวังว่าคอนเสิร์ตในครึ่งปีหลังที่กำลังจะมาจัดแบบจัดเต็มทำให้คนไทยหลายคนมีตวามสุข!