จับกระแสฮิต “Butterbear” น้องหมีเนยมาสคอตสุดคิวท์ที่กำลังมาแรง กวาด 13 ล้านเอนเกจเมนต์บนโซเชียลมีเดีย

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

Butterbear
Photo Credit: Instagram butterbear.th

เวลานี้ใครที่ไปศูนย์การค้า EMSPHERE จะเห็นปรากฏการณ์ห้างแตก! คนตามมาดูมาสคอตหมีบริเวณร้าน Butter Bear ร้านเบเกอรี่ในเครือ Coffee Bean by Dao กลายเป็นกระแสไวรัลในโซเชียลมีเดีย ทั้งในกลุ่มคนไทย และชาวต่างชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน

มาสคอตหมีสุดน่ารักนี้ มีชื่อว่า Butterbear” หรือ “น้องหมีเนย” และด้วยคาแรกเตอร์สดใสร่าเริง มีความสามารถด้านการเต้น และเทคแคร์แฟนคลับ ทำให้ปัจจุบันหลายคนมองว่าน้องหมีเนยไม่ใช่แค่มาสคอตแบรนด์เท่านั้น แต่เป็น “ไอดอลสาวดาวรุ่ง” ก็ว่าได้ และยังได้ร่วมขึ้นเวทีคอนเสิร์ตมาย-ภาคภูมิมาแล้ว!

จากกระแสความแรงของน้องหมีเนย ล่าสุด “แสนรู้” (Zanroo) ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลดาต้า ได้วิเคราะห์แบรนด์หมีเนย หรือ Butterbear ที่กำลังเป็นกระแสจากมาสคอตที่น่ารักมัดใจคนไทยและต่างชาติ ด้วยฟีเจอร์ AI Summary ซึ่งเป็น AI ที่พัฒนาโดยคนไทยจาก Zanroo เพื่อช่วยวิเคราะห์กระแสแบรนด์ในโลกออนไลน์และความรู้สึกของผู้บริโภค พร้อมอินไซต์น่าสนใจจากการถูกกล่าวถึงในสื่อสังคมออนไลน์

AI Summary ได้วิเคราะห์แบรนด์ Butterbear ในช่วงวันที่ 1 – 12 มิถุนายน 2567 จากช่องทาง Facebook, X (Twitter), Instagram, TikTok และ YouTube พบว่า

ความนิยมของแบรนด์ Butterbear มียอดการมีส่วนร่วมการดู ไลค์ แชร์ คอมเมนต์ (Engagement) รวมทั้งหมด 13,599,968 เอ็นเกจเมนต์

ช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ

– TikTok ถึง 9,971,877 เอ็นเกจเมนต์ หรือคิดเป็น 73.3%

– รองลงมาคือ X (Twitter) มียอดการมีส่วนร่วม 3,554,490 (26.1%)

– ตามมาด้วย Instagram ได้รับ 41,184 เอ็นเกจเมนต์ (0.3%) Facebook ได้รับ 25,587 เอ็นเกจเมนต์ (0.2%)

– YouTube ได้รับ 6,820 เอ็นเกจเมนต์ (0.1%)

จะเห็นได้ว่าแบรนด์ Butterbear จะเห็นว่าแบรนด์ Butterbear ได้รับความสนใจจากช่องทาง TikTok และ X (Twitter) รวมกันกว่า 99%

ดังนั้นแบรนด์ควรให้ความสำคัญและเน้นการสื่อสารบนสองช่องทางนี้เพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงและสื่อสารได้ตรงจุดในกลุ่มคนที่สนใจ ButterBear

 

ในส่วนของความรู้สึกต่อแบรนด์ จากข้อมูลการวิเคราะห์ความรู้สึกต่อแบรนด์ Butterbear พบว่า การกล่าวถึงในเชิงบวก (Positive) อยู่ที่ 9.78% ส่วนความรู้สึกเป็นกลาง (Neutral) 90.01% และความรู้สึกในเชิงลบ (Negative) 0.21% เท่านั้น

โดยปัจจัยเชิงบวก ได้แก่ ให้ความเป็นธรรมชาติ, รสชาติอร่อย ในขณะที่ปัจจัยเชิงลบ คือ บรรจุภัณฑ์ไม่โดดเด่นและราคาสูงเกินไป

ทั้งนี้โดยภาพรวมแบรนด์ Butterbear มีแนวโน้มที่ดีและได้รับการกล่าวถึงเชิงบวกค่อนข้างสูง แต่ก็มีบางประเด็นที่ผู้บริโภคกังวลเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ ความน่าเชื่อถือของสินค้าปลอม รวมถึงราคาที่ค่อนข้างสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ

จากข้อมูลดังกล่าว แสนรู้ AI ขอเสนอแนะว่าแบรนด์ Butterbear ควรเพิ่มการสื่อสารผ่านช่องทางยอดนิยม โดยเฉพาะ TikTok และ X (Twitter) รวมถึงปรับปรุงจุดอ่อนด้านบรรจุภัณฑ์และกลยุทธ์ด้านราคา เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ของแท้จากการเลียนแบบแบรนด์ Butterbear  อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรด์ได้

จากข้อมูลที่แสนรู้ AI Summary ได้มีการวิเคราห์ทางแบรนด์สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการต่อยอดทางการตลาดได้ควรเพิ่มการสื่อสารช่องทางไหน เสริมจุดแข็งและลบจุดอ่อนของแบรนด์ได้อย่างไรบ้าง

Zanroo AI Summry


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
WP
อยู่ในแวดวงนิตยสารธุรกิจการตลาดกว่าสิบปี สนุกและชอบติตตามเทรนด์ ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ และอยากเรียนรู้เพิ่มเติมในแพลตฟอร์มดิจิทัล มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การตลาดและดิจิทัลร่วมกันนะคะ