โดย เริงฤทธิ์ จินดาพร – ผู้อำนวยการวางแผนและพัฒนาธุรกิจ มายด์แชร์
จากหลายๆ มุมมองที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มด้านต่างๆ ของปีล้วนเห็นว่า ปัจจัยเช่น เศรษฐกิจ สถานการณ์ทางการเมือง จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในปีนี้ โดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2014 จะมีแนวโน้มเจริญเติบโตลดลง โดยปัจจัยเหล่านี้อาจจะส่งผลในระยะสั้น หรือ ต่อเนื่องไปเป็นระยะยาวได้ ทั้งนี้หากเรามาดูในเรื่องแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค มายด์แชร์มีความเห็นว่าแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นนอกจากจะมีผลกระทบจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการเมืองแล้ว เราจะต้องพิจารณารวมเอาปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสื่อที่ผู้บริโภคเลือกที่จะรับข้อมูล ทั้งนี้โดยสรุป 5 เทรนด์ของผู้บริโภคที่มายด์แชร์คิดว่าจะเห็นได้อย่างชัดเจนชัดในปี 2014 มีดังนี้
BETTER ME
ปฎิเสธไม่ได้ว่าความสะดวกสบายจากเทคโนโลยีได้ทำให้ผู้บริโภคคนไทยมีนิสัยที่ ‘ไม่ดี’ ในไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิต การจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวเองนั้นดูเหมือนจะง่ายแต่ “ใจตัวเอง” นั้นแหละที่เป็นกำแพงสำคัญ จึงทำให้ผู้บริโภคเหล่านี้จะมองไปที่แบรนด์สินค้าและบริการที่แนะนำ คุ้มครอง ตรวจสอบ จำกัด และส่งเสริมให้ พวกเขาและคนรอบตัวเป็น คนที่ดีขึ้น ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
SYMBOLIC POWER
เราเห็นคนไทยรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงไป ระหว่าง ความเป็นปัจเจกชน (Individualism) และความเป็นส่วนรวมนิยม (Collectivism) ซึ่งคนไทยยังคงมีความเป็นเป็นกลุ่มก้อน มีความเป็นสังคมส่วนรวมนิยมอยู่มาก ผู้คนที่มีความสนใจ ความเชื่อ ทัศนคติ ตรรกกะ คล้ายคลึงกัน จะแสดงมุมมองของพวกเขาออกมาเป็นกลุ่มก้อน และวิธีที่ดีที่สุดในการแสดงนี้ก็ผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น โลโก้, สี, รูป Profile เป็นต้น การแชร์ บนความ กดไลค์ Fanpage และแสดงมุมมองของกลุ่มของตน จะมีให้เห็นเพิ่มมากขึ้น โดยแบรนด์ที่สามารถหาวิธีที่จะเชื่อมโยงและจับความสนใจ จะสามารถเข้าถึงความคิด จิตใจของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบรนด์เหล่านี้จะสามารถสร้าง symbol ที่เป็นตัวแทนของคนเหล่านั้นได้
VISUAL CRAVING
ในขณะที่อัตราการรู้หนังสืออยู่ที่ 93.5% (ที่มา: CIA World Fact Book) ได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงมาก การวิจัยของยูเนสโกอ้างว่าคนไทยโดยเฉลี่ยอ่าน 8 ประโยคต่อปีในปี 2012 และลดลงเหลือแค่ 4 ประโยค ในปี 2013 อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้ง คือ พฤติกรรมคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยจะมีความกระตือรือร้นที่จะรับข้อมูล ข่าวสาร มากขึ้น แต่พวกเขาจะบริโภคข้อมูลข่าวสารแบบที่คัดมาแล้วว่าสำคัญ เฉพาะเนื้อหาสรุปแบบเข้มข้น โดยให้ความนิยมกับข้อมูลที่เป็นภาพ พิสูจน์ได้จากความนิยมของ infographics, การดูคลิปวิดีโอและปรากฏการณ์ Line สติกเกอร์ นอกจากนี้คนเมืองยังแสดงถึง ไลฟ์สไตล์ และ ความสนใจของพวกเขาผ่านการแชร์ภาพในเครือข่ายทางสังมต่างๆ เช่น Instagram ดังนั้นสิ่งที่ท้าทายของแบรนด์ คือ การผสมผสานข้อมูล (info/data) และภาพ visual) ได้อย่างลงตัว เพื่อ impact ในการสื่อสารกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย
RIGHT FOR SPEED
ความอดทนของคนสมัยนี้ดูเหมือนจะลดลง อย่างคนใช้สมาร์ทโฟนจะเห็นว่า พวกเขาต้องการที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างทันที หรือ การใช้ แอฟพลีเคชั่นต่างๆ เพื่อความสะดวกสบาย กระแส ‘Nowism’ หรือ ลัทธิเดี๋ยวนี้ แผ่ขยายอย่างมาก เนื่องจาก เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้เร็วขึ้น ดีขึ้น เพื่อเอาใจผู้บริโภค พวกเขามีความสนใจ (attention) ต่อการเล่าเรื่อง ( story telling) สั้นลง แบรนด์ที่สามารถเข้าใจความสนใจของพวกเขา นำเสนอได้ตรงประเด็นและรวดเร็วจะได้รับประโยชน์จาการปรับตัวนี้
CONTENT IS SUPERKING
นอกเหนือจากการที่ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายในการบริโภค content จากช่องทางออนไลน์ การเกิดขึ้นของ ดิจิตอลทีวี จะทำให้ผู้บริโภคชาวไทยตั้งแต่ระดับรากหญ้า มีทางเลือกมากขึ้นในการเลือก content ที่ตรงกับความสนใจและช่วงเวลาที่พร้อมรับชม เนื้อหาที่โดนใจที่สุดจะถือเป็นผู้ชนะ นอกจากนี้ content ยังต้องมีการปรับให้เป็นหลาย platform และ รูปแบบของ screen อาจกล่าวได้ว่า เนื้อหาเป็น Superking แต่ผู้บริโภคจะกลายเป็น พระเจ้า ที่คาดหวังว่าจะได้บริโภค content ที่ต้องการ
มุมมองเกี่ยวกับ เทรนด์ของผู้บริโภคไทย ข้างต้น ไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามันยังทำให้แบรนด์และนักการตลาดตระหนักถึงพัฒนาและปรับกลยุทธ์การตลาดและทิศทางในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย
Jack Welch, former chairman and CEO of GE กล่าวไว้ว่า “ที่มาของความได้เปรียบในการแข่งขัน มีสองทาง คือ 1: ความสามารถในการเรียนรู้เกี่ยวกับลูกค้าของเราที่ต้องรวดเร็วกว่าการแข่งขันและคู่แข่งในตลาด 2: ความสามารถในการนำเอาสิ่งที่เรียนรู้นั้น ไปปฏิบัติจริง ( A final thought from Jack Welch, former chairman and CEO of GE, “There are only two sources of competitive advantage.
- 1: The ability to learn more about our customers faster than the competition.
- 2: The ability to turn that learning into action.)”