ตามติดชีวิตวัยรุ่นกับการบริโภคทีวีดิจิทัล ที่นักการตลาดต้องรู้

  • 43
  •  
  •  
  •  
  •  

ThinkstockPhotos-470754355

คนในยุค Post Digital อาจจะนับจำนวนได้เลยว่า มีกี่คนที่ยังนั่งดูทีวีเหมือนคนยุคก่อนๆ เพราะมีอินเทอร์เน็ตมาดึงความสนใจไป อยากจะค้นหา อยากจะดูย้อนหลัง อินเทอร์เน็ตมีทุกอย่างให้หมด ไม่ต้องเสียเวลานั่งรอเวลาที่หน้าจอทีวีเหมือนเดิม แต่นั่นก็มีคำถามต่อไปว่า แล้วเด็กยุคนี้มีพฤติกรรมดูทีวีกันอย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับนักการตลาดและนักโฆษณา

ดังนั้น คณะนิเทศศสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงได้ทำการสำรวจวิจัยพฤติกรรมการรับชมรายการโทรทัศน์และการรับรู้ตราสินค้าสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ของกลุ่มผู้ชมวัยรุ่น เรียกว่าสำรวจจากวัยรุ่นอายุ 15-22 ปี จำนวน 800 คน ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งได้ผลการศึกษาหลายประการที่น่าสนใจ สรุปเป็นข้อมูล Info graphic ที่เข้าใจง่ายๆ ดังนี้

12552900_10154018119004683_7943618405181566315_n

มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย บอกว่า จากการสำรวจพบว่า วัยรุ่นดูรายการผ่านทีวีดิจิทัลประมาณ 59%   แต่มีการดูผ่านสมาร์ทโฟน 41.8% โน้ตบุ๊ก 29% และแท็บเล็ต 24% ถ้านับตามจำนวนการดูผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่แล้ว ถือว่ามีสัดส่วนที่มากกว่าทีวีปกติ สะท้อนพฤติกรรมชัดเจนว่า ไม่ได้ยึดติดกับทีวี แต่เลือกดูผ่านทุกช่องทางที่สะดวกสบาย ยิ่งมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมยิ่งอำนวยความสะดวกให้อย่างมาก

อีกทั้งยังพบว่า วัยรุ่น 86% ดูรายการย้อนหลังผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เป็นการตอกย้ำว่า วัยรุ่นจะไม่รอดูรายการตามเวลาที่สถานีโทรทัศน์กำหนดไว้ เพราะเขารู้ว่าสามารถดูย้อนหลังได้ โดยช่องทางที่นิยมดูย้อนหลัง ประกอบด้วย Youtube 73% Line TV 36% และเว็บไซต์ 22% บอกให้นักการตลาดและโฆษณารู้ว่า ต้องมีการใช้งาน Youtube และ Line TV เป็นเครื่องมือทางการตลาดมากขึ้น ค้นหาวิธีการหารายได้จากทั้ง 2 ช่องทาง ผู้ผลิตรายการทีวีต้องคิดถึงกลุ่มที่นิยมดูย้อนหลังมากขึ้น

12573062_10154018119059683_4365955044394460883_n

 

12651214_10154018119074683_5073739877270272543_n

สำหรับช่องเวลาที่นิยมดูรายการ คือ 20.01 – 24.00 น. ซึ่งถือเป็นช่วงเวลา Primetime ปกติ โดยรายการยอดนิยม 3 อันดับ อันดับ 1 ยังเป็นละครไทย 47% อันดับ 2 ภาพยนตร์ 39% และ การ์ตูน 38%   นี่คือภาพสะท้อนสังคมไทยที่นิยมบริโภคสื่อบันเทิงเป็นหลัก ทั้งหมดสรุปได้ว่าวัยรุ่นมีความอิสระ และจะเลือกกำหนดวิธีการและช่องทางรับชมสื่อต่างๆ ด้วยตัวเอง นักการตลาด และสถานีโทรทัศน์ที่ต้องการจับกลุ่มเป้าหมายคนกลุ่มนี้ ต้องพัฒนาเนื้อหาหรือออกแบบการเข้าถึงให้เหมาะสม เช่น Youtube Channel ที่มีอยู่จำนวนมาก เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ หรือการพัฒนาการขายสินค้าแบบ Tie-in ที่น่าจะช่วยได้มากกว่าโฆษณาแบบเดิม

นอกจากนี้ ด้วยความนิยมดูผ่านอุปกรณ์โมบาย และดูรายการย้อนหลัง ทำให้สื่อประเภท Social Media ยังมีอิทธิพลอย่างสูงต่อคนกลุ่มนี้ ดังนั้นนักการตลาดและโฆษณาต้องเลือกสร้างปฏิสัมพันธ์กับวัยรุ่นผ่านช่องทางนี้มากขึ้น โดยอาจ Integrated สื่อในหลายช่องทาง อีกวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจคือ การให้ “ดูก่อน” ทางอินเทอร์เน็ตแทนการดู “ย้อนหลัง” เพื่อดึงคนกลุ่มนี้กลับไปดูทีวีในช่องทางปกติ เช่น มีตอนพิเศษทางออนไลน์ แต่นำไปสู่บทสรุปทางช่องทีวีปกติ เป็นต้น

12642739_10154018119174683_2061888774245441460_n

535355_10154018119274683_1507261699578714944_n

ทางคณะยังได้สำรวจต่อไปถึง การรับรู้แบรนด์สถานีโทรทัศน์ดิจิทัลของกลุ่มวัยรุ่น ว่ามีการจดจำแบรนด์และเลขช่องได้มากน้อยแค่ไหน พบว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่ตอบเลขช่องของสถานีโทรทัศน์ไม่ได้ โดยช่อง 7HD มีการจดจำได้มากที่สุด 22% ช่อง 3HD 20% และช่อง 8 ประมาณ 12.5% ขณะที่การจดจำโลโก้ ช่อง 7HD จำได้มากที่สุด 90% ช่อง Work Point จำได้ 77% และช่อง GMM 76%

ดังนั้น นักการตลาดและสถานีโทรทัศน์ต้องเร่งทำการตลาดสร้างการจดจำทั้งเลขช่องและโลโก้ให้ได้ดีกว่านี้ เพราะทั้ง 2 ส่วนนี้มีผลต่อการวัดเรทติ้ง โดยสถานีที่ผู้ชมจำเลขช่องและโลโก้ได้ มีเรทติ้งสูงกว่า แม้ส่วนหนึ่งอาจเลือกกดจากรีโมทย์กล่องทีวี โดยไม่จำเป็นต้องจำเลขช่อง แต่สุดท้ายเลขช่องและโลโก้ จะมีผลต่อการทำตลาดในระยะยาวที่ดีกว่า

12592331_10154018119349683_1252289101971629240_n


  • 43
  •  
  •  
  •  
  •