วิเคราะห์กรณี Spotify Stations กำลังจะปิดให้บริการหลังเปิดได้ 4 ปี สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างไร?

  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  

Credit: Spotify

 

ในระยะเวลาเพียง 4 ปีที่ Spotify แพลตฟอร์มให้บริการสตรีมเพลงดิจิทัล พอดแคสต์ และวิดีโอ ได้เปิดตัวแอปพลิเคชั่นแยกต่างหากคือ Spotify Stations ซึ่งเป็นบริการสตรีมเพลงเหมือนวิทยุ random แนวเพลงไปเรื่อยๆ ตามที่ผู้ฟังเลือก แต่ล่าสุด Spotify ประกาศจะปิดตัวให้บริการวันที่ 16 พ.ค.ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะมีผลทั้งในแอปฯ มือถือและการใช้งานผ่านเว็บ

การวิเคราะห์จาก 9to5Google ระบุว่า การทดสอบพฤติกรรมผู้ใช้ Spotify Stations กำลังจะจบลงช่วงกลางเดือนนี้ ส่วนหนึ่งเพราะว่าพฤติกรรมผู้บริโภคจริงๆ แล้วไม่นิยมการ random หรือการสุ่ม ที่สำคัญแอปฯ นี้ของ Spotify ผู้ฟังไม่สามารถกดข้าม (skip) เพลงที่ไม่ต้องการฟังได้ รวมถึงไม่สามารถเลือกศิลปินที่ต้องการฟังได้ นี่คือเหตุผลหลักว่าทำไมบริการนี้ยังไม่ปอปปูล่าเท่าที่ควร

นอกจากนี้ยังมีคำอธิบายบางส่วนที่ Spotify บอกกับ TechCrunch ว่าสำหรับแอปฯ ดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและเป็นส่วนหนึ่งเพื่อขยายฐานผู้ฟังให้กว้างขึ้น โดยจะนำไปวิเคราะห์ต่อโดยเฉพาะในฟีเจอร์ที่เป็นบริการ ‘เลือกแนวเพลง’ ซึ่งปกติจะปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ บนแอปฯ ฟังเพลงหลัก Spotify หากสังเกตดูจะเห็นว่าบน Spotify หลักจะมีการรวมสถานีวิทยุส่วนบุคคลเอาไว้ รวมไปถึงข่าวสารและรายการเพลงสำหรับคนที่กำลังขับรถด้วย

9to5Google ได้ให้มุมมองเพิ่มว่า เมื่อก่อนที่พฤติกรรมคนฟังเพลงที่โตมากับรายงานในวิทยุจะรู้สึกว่าเพลิดเพลินกับเพลงที่ DJ เลือกมาให้ ตื่นเต้น สนุกกับการลุ้นว่าเพลงอะไร ของศิลปินคนไหน ซึ่งผู้บริโภคในปัจจุบันยังมีความชอบการ random อยู่บ้าง แต่สิ่งที่พวกเขาไม่ชอบคือ ‘ความรู้สึกว่าไม่มีตัวเลือก’ นั่นก็คือ ไม่สามารถเลือกเพลงเองได้ ไม่สามารถกดข้ามเพลงที่ไม่ชอบได้ ฯลฯ

ทั้งนี้ สิ่งที่ 9to5Google สรุปจากกรณีของ Spotify Stations ก็คือ เชื่อว่าผุ้บริโภคยังต้องการความตื่นเต้น การลุ้น การเสี่ยงต่างๆ เพียงแต่การพัฒนาฟีเจอร์ หรือบริการใหม่ควรต้องสร้างความรู้สึกให้ผู้บริโภคมีทางเลือกด้วย ซึ่งในยุคนี้ถือว่าเป็นเรื่องอ่อนไหวสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่

 

 

 

 

ที่มา: the verge, techcrunch


  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม