ทำไมทักษะ ‘Soft skills’ จึงเป็นที่ต้องการมากขึ้นจากหลายองค์กร โดยเฉพาะในยุคการทำงานแบบ Hybrid และ Remote Working

  • 455
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ความสามารถด้านเทคนิค หรือที่เราคุ้นเคยกับคำที่เรียกง่ายๆ ว่า ‘Soft skills’ ปัจจุบันกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะรักษางานของคุณเอาไว้ได้ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะทางการสื่อสารที่ดี ทักษะทางความคิดวิเคราะห์ ฯลฯ มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น

 

ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพแน่นอนว่า Hard Skill ซึ่งได้แก่ ความรู้ด้านเทคนิค องค์ความรู้ตามความเชี่ยวชาญ เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่แล้วเพื่อให้สามารถทำงานตามที่คุณรับผิดชอบได้ลุล่วง แต่เมื่อโลกของการทำงานเปลี่ยนไป (และยังเปลี่ยนแปลงเร็วอยู่ตลอด) ปรากฏว่าสิ่งที่เรียกว่า ‘Soft skills’ กลับกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญมากพอๆ กัน

 

อย่างไรก็ตาม มันก็มีความแตกต่างอยู่เล็กน้อยระหว่างลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมที่ทำให้คุณเป็นผู้นำที่ดีหรือสมาชิกในทีมที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณต้องทำงานในแบบ Remote work หรือ Hybrid working ซึ่งวิธีการทำงานแบบคอลลาบอเรชั่น รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป บริษัทจึงเริ่มที่จะจับตามองไปที่ความสามารถแบบ Soft Skill ที่อาจจะจับต้องไม่ได้เหล่านี้มากขึ้น เพื่อสร้างทีมที่หลากหลายทีมที่สร้างความสำเร็จได้ และด้วยเหตุนี้นี่เองที่ทำให้ หัวหน้างานหรือบริษัทพิจารณาทักษะที่เป็น Soft Skill มากขึ้นในการพิจารณารับคนเข้างาน พอๆ กับความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์การทำงาน และความชำนาญทางเทคนิคด้านอื่นๆ

สำหรับคนบางคนแล้วทักษะ Soft Skill ก็อาจจะมีติดตัวอยุ่แล้ว แต่กับบางคนบุคลิภาพเหล่านี้ เช่น การเป็นนักสื่อสารหรือเป็นนักคิดก็ดี อาจจะเป็นเรื่องที่ท้าทายมากกว่าคนอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งนี้จะพัฒนาไม่ได้เลย ก็ยังมีวิธีในการเรียนรู้ที่จะเพิ่มสกิลนี้ให้ติดตัวและนำไปใช้ในการทำงานได้

 

แล้วอะไรคือ Soft Skill ??

อันที่จริงก็ไม่มีนิยามที่ชัดเจน หรือลิสต์ของทักษะที่เรียกว่า Soft Skill ที่จำเป็นนัก แต่ที่พอจะชัดๆ ได้คือเป็นทักษะอื่นที่นอกเหลือจากทักษะหลัก (Hard Skill) นั่นเอง เช่น ทักษะด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทั้งกับเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้า ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความชำนาญและความฉลาดทางอารมณ์อย่างสูง หรือ การเอาใจใส่ในการทำงาน, การทำงานแบบทีมเวิร์คได้ดี, ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ลักษณะนี้ก็เป็นกลุ่มสกิลที่ค่อนข้างคล้ายกัน

 

คำว่า Soft Skill เป็นเพียงศัพท์แสงที่นักวิชาการชื่อ Eric Frazer ผู้เขียน The Psychology of Top Talent และผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเยล เคยได้ระบุเอาไว้ โดยบอกว่า  “จากมุมมองของพฤติกรรมศาสตร์มันหมายถึงชุดของความคิดและพฤติกรรม ตัวอย่างของความคิดแบบ Soft Skill อาจเป็นคนที่มีรู้อย่างต่อเนื่อง หรือคนที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นพฤติกรรมหลายอย่าง อาทิ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การฟังอย่างกระตือรือร้น, การแก้ปัญหาเชิงจินตนาการเป็นต้น เหล่านี้ก็เป็นทักษะ Soft Skill เช่นกัน”

นอกจากนี้คำว่า Soft Skill ก็อาจจะเป็นเพียงอีกวลีหนึ่งของคำว่า ‘People skills’ ก็ได้ ซึ่งหมายถึง “การเกี่ยวข้องกับความรู้สึกของตัวเองของบุคคลและวิธีที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น ๆ”

 

Eric Frazer ยังระบุด้วยว่า หลายๆ Soft Skill นั้นก็อาจเกี่ยวข้องกับการลงมือทำงาน เช่น การจัดลำดับความสำคัญขององค์กรและการจัดสรรด้านเวลา ซึ่งค่อนข้างจำเป็นทีเดียวกับการทำงานแบบ Remote และ Hybrid working คือเป็นคนที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำงาน เป็นคนมีระเบียบวินัยสูงในการจัดโครงสร้างการทำงานแต่ละวัน และสามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนดเวลา

 

มากไปกว่านั้น การมี Soft Skill ที่ดีไม่ได้ช่วยแค่เรื่องที่ทำงานเท่านั้น อันที่จริงอาจจะประเมินค่าไม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะในทักษะเดียวกันนั้น อาจจะช่วยทำให้การทำงานของคุณประสบความสำเร็จในการเลื่อนขั้น เลื่อนลำดับชั้น และเป็นไปได้ที่จะก้าวสู่จุดสูงสุดในสายการทำงาน เพราะสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เขาประสบความสำเร็จก็ได้

 

สิ่งที่ทำให้ การมี Soft Skill เป็นเรื่องสำคัญก็คือ ต้องไม่ลืมว่า ปัจจุบันการทำงานที่ต้องใช้เทคนิคขั้นสูง กำลังจะกลายเป็นระบบอัตโนมัติหรืออาจจะมีเครื่องมือทางเทคโนโลยีเข้ามาทำงานแทนที่มากขึ้น ดังนั้น บริษัทส่วนใหญ่จึงมองหาคนที่สามารถทำงานในเชิงการแก้ปัญหาจิปาถะได้ หรือทำงานกับคนอื่นได้ดี ประกอบกับ วิกฤตการขาดแคลนแรงงานหรือแรงงานอยู่ไม่ยาว การที่มีพนักงานที่มีทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความฉลาดทางอารมณ์ ก็จะสามารถช่วยงานบริษัทในมุมอื่นๆ ได้ รวมถึงจะสร้างความเติบโตในตำแห่งผู้นำให้กับคนๆ นั้นเองด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ทักษะ Soft Skill ยังมีความสําคัญมากยิ่งขึ้นในฉากหลังการระบาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแนวการทํางานระยะไกล ตัวอย่างเช่น  การสื่อสารอาจมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนมากขึ้น เมื่อพนักงานไม่เห็นเพื่อนร่วมงานแบบเห็นหน้ากัน ดังนั้น การปรับตัวเข้าหากันก็เป็น Soft Skill ที่ดีที่ควรนำมาใช้

 

และด้วยเหตุนี้เองทำให้นายจ้างหลายแห่งพยายามมองหาสิ่งเหล่านี้จากบรรดาผู้ที่เข้ามาสมัครงาน ทั้งนี้ ข้อมูลจาก America Succeeds องค์กรการศึกษาไม่แสวงหาผลกำไร ค้นพบว่า 2 ใน 3 ของตำแหน่งงาน จาก 22 อุตสาหกรรม จะมีการระบุทักษะ Soft Skill ลงไปในคุณสมบัติของการรับสมัครงานด้วย ไม่ว่าจะเป็น ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการแก้ปัญหา และทักษะในการวางแผน เป็นต้น

 

นอกจากนี้ในรายงานฉบับเดียวกันยังระบุอีกว่า มีบางตำแหน่งงานที่ให้ความสำคัญกับ Soft Skill อาทิ งานตำแหน่งด้านการจัดการที่ต้องการถึง 91%  งานด้านการจัดการด้านธุรกิจ 86%  งานด้านวิศวกรรมต้องการ 81% ซึ่งค่อนข้างน่าแปลกใจเพราะว่างานดังกล่าวนี้ดดยทั่วไปน่าจะเน้นทางด้านเทคนิคมากกว่า

 

ด้านเว็บไซต์หางานระดับโลก Monster เปิดเผยผ่านรายงาน  The Future of Work 2021: Global Employment Outlook เปิดเผยสิ่งทีเป็น Soft Skill เช่น การทํางานร่วมกัน ความน่าเชื่อถือ และความยืดหยุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่นายจ้างได้รับรางวัลมากที่สุดในกลุ่มลูกจ้าง อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารรายงานว่าขวนขวายในการหาผู้สมัครที่มีชุด Soft Skill ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างดี

ข้อสังเกตที่น่าสนใจจาก Frazer โดยเขาระบุว่า ทักษะอย่างการจินตนาการ หรือความยืดหยุ่นนั้น ยากที่จะหาได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าคุณสมบัติเหล่านี้ผู้สมัครมองว่าไม่จําเป็นต้องเน้นความสามารถเหล่านั้นในหน้า CV หรือ LinkedIn ทั้งๆ ที่บางทีสามารถนำเสริมได้ และช่วยในการเป็นที่สนใจจากผู้ว่าจ้างได้ด้วย

 

อย่างไรก็ตาม การเน้นทักษะ “Soft Skill” อาจจะสร้างความไม่สบายใจให้กับบางคน โดยเฉพาะคนที่ไม่ใช่นักสื่อสารโดยธรรมชาติ หรือคนที่ไม่ได้มีสกิลการเป็นผู้นำ ทั้งนี้ Frazer ระบุว่า ทักษะเหล่านี้ไม่ใช่ว่าพัฒนาไม่ได้ แต่มันสามารถเรียนรู้ได้ คนที่อยากจะพัฒนาตัวเองทำให้การทำงานดีขึ้นสามารถพัฒนาทักษะในเรื่องนี้ได้ แต่อาจจะต้องทำงานเพิ่มมากกว่าคนอื่น คนที่ต้องการทำงานให้มี work-life balance ที่ดี จะเข้าใจและมี Mind set ที่ดีในเรื่องนี้อย่างมาก ทั้งนี้ การที่จะทักษะในด้านนี้อาจจะหมายถึงการที่คุณจะต้องออกจาก comfort zone ของตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้คุณเองก็สามารถขอความเห็นจากเพื่อนร่วมงานรอบด้านเพื่อช่วยให้กับคำแนะนำถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของคุณได้

 

นอกจากนี้ ในเรื่อง Emotional Intelligence (ความฉลาดทางอารมณ์) เองก็สามารถเพิ่มได้เช่นกัน โดยการพัฒนาการตระหนักทางสังคม และการเรียนรู้เพื่อรวบคุมความรู้สึกของตัวเอง และตอบสนองผู้อื่นด้วยความเห็นอกเห็นใจ ที่สำคัญคือ การพัฒนาในเรื่อง Emotional Intelligence มีการศึกษาพบว่า กลุ่มคนเหล่านี้มีโอกาสน้อยที่จะพบกับความเครียดและความวิตกกังวลต่อการทำงาน

 

ในขณะที่มุมของการจ้างงาน ก็ยังพบว่า เมื่อบริษัทต้องการคนที่มี Soft Skill มากขึ้น ดังนั้น ก็จะส่งผลต่อคำถามที่จะใช้สัมภาษณ์งานไปด้วย โดยมีชุดคำถามเกี่ยวกับทักษะอื่นๆ นอกจากความเชี่ยวชาญของคุณ เช่น คุณแบ่งเวลาทำงานกับชีวิตอย่างไร, ลองเล่าเป้าหมายในชีวิตสูงสุด your moon-shot คืออะไร เป็นต้น

 

และแน่นอนว่า ไม่เฉพาะแค่การสัมภาษณ์แต่ทักษะเหล่านี้ คุณสามารถใส่มันได้ที่เรซูเมและบน CV ด้วยซึ่งต่อจากนี้มันจะเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น เพราะแค่ทักษะการทำงานหรือเชี่ยวชาญปกติอาจจะไม่เพียงพอต่อโลกการทำงานในปัจจุบันแล้ว ดังนั้น หากใครที่คิดว่าตัวเองยังไม่มี Soft Skill ของตัวเอง อาจจะถึงเวลาแล้วที่คุณต้องมองว่า และเพิ่มสิ่งนั้นในตัวคุณมากขึ้น.

 

Source: BBC.Com

 

 


  • 455
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!