กันตาร์ เวิลด์พาแนล ไทยแลนด์ (Kantar Worldpanel) บริษัทผู้เชียวชาญการวิจัยพฤติกรรมของผู้บริโภคเชิงลึกโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภคอัหรือ FMCG (Fast Moving Consumer Goods) ได้เผยรายงานวิจัยเรื่อง “แนวโน้มสื่อรุ่ง สื่อร่วง” พร้อมพฤติกรรมการบริโภคสื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และการสื่อสารต่อแบรนด์สินค้าที่มีผลต่อการจับจ่ายและวางแผนด้านสื่อ โดยเก็บรวบรวมพฤติกรรมและความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างกว่า 4,000 ราย ซึ่งเป็นจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เพียงพอต่อการเป็นตัวแทนแสดงผลของผู้บริโภคจำนวน 23 ล้านครัวเรือนในไทย โดยวิจัยสื่อทีวี 21 สถานี แยกเป็นฟรีทีวี 11 สถานี และเคเบิ้ลอีก 10 สถานี / เว็บไซต์ไทย 25 เว็บ รวมทั้ง Facebook และ Youtube / นิตยสาร 25 สำนักพิมพ์ / หนังสือพิมพ์ 17 สำนักพิมพ์ / วิทยุ / สื่อโฆษณาบนขนส่งสาธารณะ /สื่อ Outdoor และ In-store รวมถึงการรับสื่อจาก มือถือ, PC/Laptop และแท็บเล็ต
ปัจจัยสำคัญที่จะให้ได้ข้อมูลวิจัยที่แม่นยำ ต้องเริ่มจากการพิจารณาโปรไฟล์ของกลุ่มตัวอย่าง การรวบรวมข้อมูลผู้ที่ซื้อจริง ผู้ค้าปลีก โปรโมชั่น และราคา ที่มีผลต่อพฤติกรรมการจับจ่าย โดยลงรายละเอียดถึงกลุ่มสินค้าและแบรนด์ที่ซื้อ คู่แข่งของแบรนด์ที่ได้เลือกซื้อ ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ที่ซื้อประจำ แบรนด์ที่ซื้อโดยไม่จงใจ ตลอดจนระบุถึงกลุ่มผู้ซื้อรายใหญ่ และ กลุ่มผู้ซื้อรายใหญ่ที่ไม่ภักดีกับแบรนด์ของเรา พร้อมทั้ง การทำแบบสำรวจของการบริโภคสื่อพร้อมๆกัน โดยการวิเคราะห์บทบาทของสื่อและแนวโน้มของสื่ออิทธิพล กับการตอบรับของเหล่านักช้อป พฤติกรรมผู้บริโภคกับสื่อโซเชียล และการสื่อสารต่อแบรนด์ในทุกช่องทางสื่อ
นายอิษณาติ วุฒิธนากุล – ผู้จัดการด้านพัฒนาธุรกิจ, Kantar Worldpanel Thailand กล่าว….
เริ่มต้นด้วย 5 อันดับจากสื่อ 5 ประเภท ที่มีการเข้าถึงมากที่สุด ในปี 2016
* เรียงจากบนลงล่าง
เมื่อพิจารณาการบริโภคกับการสื่อสารต่อแบรนด์พบว่า สื่อดิจิทัลมีแนวโน้มโตขึ้น ขณะที่สื่อทีวียังคงมีความแรงอยู่ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันการโฆษณาในสื่อนิตยสารลดลงอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่น่าสังเกตว่าสื่อหนังสือพิมพ์มีอัตราลดลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงวิทยุก็เช่นกัน ทั้งนี้สื่อวิทยุจะใช้ได้ผลดีกับผู้บริโภคที่อยู่พื้นที่ต่างจังหวัดและเป็นผู้ใหญ่ ส่วนหนังสือพิมพ์ จับกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเป็นหลัก และการโฆษณา ณ จุดขาย หรือ In Store Ad มีอ้ตราเข้าถึงมากกว่าการโฆษณาบน สื่อบนขนส่งมวลชน (Public Transportation)
(ภาพล่าง) สัดส่วนการใช้งานสื่อต่างๆจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างกว่า 4,000 ครัวเรือนในประเทศไทย เปรียบเทียบระหว่างปี 2015 และ 2016 เราสนใจที่สื่ออินเตอร์เน็ตที่โตขึ้นถึง 13% ภายใน 1 ปี (เพิ่มขึ้นประมาณ 3-4 ล้านครัวเรือน ) โดยจำแนกอุปกรณ์ออกมาเป็น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊ค และแท็บเล็ต ซึ่งคนเล่นเน็ตผ่านมือถือกันสูงที่สุด ในขณะที่ทั้งนิตยสารและหนังสือพิมพ์ตกลง และมีแนวโน้มจะตกลงเรื่อยๆ เพราะแชร์จากสื่ออื่นจะไล่เข้ามากินสื่อสิ่งพิมพ์มากขึ้นตามการเติบโต
การใช้เวลาในสื่อต่างๆ เปรียบเทียบปี 2015 และ 2016
ระยะเวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในทุกๆปี แต่สังเกตว่าปี 2016 คนใช้เวลาเล่น Facebook กันสั้นลง นายอิษณาติ – ผู้จัดการด้านพัฒนาธุรกิจ เปิดเผยว่า “พฤติกรรมการใช้ Facebook มีความเปลี่ยนแปลงในแง่ที่ว่า มีการเข้าถึงแบรนด์สินค้ามากยิ่งขึ้น จากพฤติกรรมการเข้าโฮมเพจและนิวส์ฟีด ดูภาพ ดูโปรไฟล์และไทม์ไลน์ตัวเอง แชท ดูวีดีโอ ดูและติดตามไทม์ไลน์ของเพื่อน และเพิ่มเติมคือ พฤติกรรมการใช้ Facebookในปี 2016 มีการเยี่ยมชมแฟนเพจของแบรนด์สินค้าต่าง ๆ มีการดูโฆษณาของแบรนด์สินค้า ทำการคลิ๊กโฆษณาแบรนด์สินค้า และก็มีความสนใจคลิ๊ก อี-คอมเมิร์ช / ร้านค้าออนไลน์ของแบรนด์สินค้า กันมากขึ้น
(ภาพล่าง )ฝั่งซ้ายคือการเปรียบเทียบกิจกรรมบน Facebook ของคนไทยระหว่างปี 2015 (สีเทา) กับ 2016 (สีเขียว) ส่วนฝั่งขวา คือสัดส่วนการเข้าถึงแบรนด์และการช้อปปิ้งบน Facebook ของคนไทยในปี 2016 โดยจำแนกตามช่วงอายุ
แม้จำนวนคนใช้สมาร์ทโฟนจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังมีคนที่มีสมาร์ทโฟนแต่ไม่ซื้อแพ็คเกจอินเตอร์เน็ตอยู่ถึง 23%
จากชาร์ตด้านล่าง ดูที่ฝั่งซ้ายเป็นกราฟเปรียบเทียบสัดส่วนคนที่เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนในปี 2013 และ 2016 เห็นชัดเลยว่าเพิ่มขึ้นสูงมากภายในเวลาเพียง 3 ปี ด้วยหลาๆยปัจจัย แต่เหตุที่สำคัญที่สุดคือสมาร์โฟนมีให้เลือกหลากหลายและมีราคาถูกลง รวมถึงเทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่จากสถิติสำรวจในปีนี้ก็ยังพบว่า มีผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนแต่ไม่ซื้อแพคเกจอินเตอร์เน็ตอยู่ 23% (กรอบแดงฝั่งขวา) ใน 23% นี้ แบ่งเป็นคนที่ไม่ใช้เน็ตเลย 13% และ 10% คือใช้ Wifi สาธารณะ, ที่บ้าน, ที่ทำงาน หรือแชร์เน็ตจากเพื่อน สูงสุดก็ยังคงเป็นการเชื่อมต่อเน็ตด้วยแพคเกจจากเครือข่ายมือถือค่ายต่างๆ
คนส่วนมากเข้าถึงการโฆษณา ณ จุดขาย หรือ In-Store Ad ในสัดส่วนสูงกว่า Transit Ads และ Billboard
ข้อมูลจาก Kantar Worldpanel Thailand