Instagram แหล่งที่มาของนักช้อปตัวจริง

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

instagram3-higlight

คุณมีบัญชีของอินสตาแกรมหรือไม่?

แล้วใช้เพื่อจุดประสงค์ใด ช้อปปิ้ง ติดตามคนดัง หรือติดตามเฉพาะเพื่อน

Social Media Examiner ได้เผยผลสำรวจเกี่ยวกับ พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินสตาแกรม ที่มีต่อแบรนด์สินค้า ซึ่งทำให้รูปแบบการทำธุรกิจในโลกออนไลน์เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะในอินสตาแกรมที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว

ในบทความนี้คุณจะได้พบกับผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับผู้ใช้อินสตาแกรม และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการตลาดออนไลน์

อัตราการใช้อินสตาแกรม

ในเดือนธันวาคม 2014 อินสตาแกรมได้ประกาศว่า มีผู้ใช้งานทั่วโลกทะลุ 300 ล้านแอคเค้าท์ แสดงให้เห็นถึงการเติบโตแบบก้าวกระโดดถึง 50% เพราะใช้เวลาเพียง 9 เดือนเท่านั้น (ขณะนั้นมีผู้ใช้งาน 200 ล้านแอคเค้าท์) ในระยะเวลาอันสั้นนี้ ทำให้อินสตาแกรมมียอดผู้ใช้งานแซงหน้าทวิตเตอร์ที่มีผู้ใช้งาน 288 ล้านแอคเค้าท์ เมื่อเจอกับเหตุการณ์นี้นักการตลาดทั่วโลกก็ต้องร้อนๆ หนาวๆ กันบ้าง เพราะต้องปรับกลยุทธ์การตลาดออนไลน์กันใหม่

คำถามคือ ใครคือผู้ใช้งานอินสตาแกรมตัวจริง

ผู้ใช้อินสตาแกรมคือ นักช้อป

จริงๆ แล้ว หากลองสังเกตดูจะทราบว่าผู้ใช้งานอินสตาแกรมจะชอบช้อปปิ้ง ชอบไลก์ ชอบแชร์ภาพสินค้ากับเพื่อนๆ รวมถึงชอบแสดงความคิดเห็น และอ่านความคิดเห็นของคนอื่นๆ ซึ่งแตกต่างจากการใช้ Facebook ที่ส่วนใหญ่มักจะมีไว้เพื่อสื่อสารกับเพื่อน คนสนิท ครอบครัว เป็นต้น การจะโพสอะไรแต่ละครั้งก็จะคำนึงถึงภาพลักษณ์ตัวเองเสมอ ทำให้อินสตาแกรมเหมาะจะเป็นช่องทางในการช้อปปิ้ง

เว็บไซต์ Iconosquare ได้ทำการศึกษาข้อมูลผู้ใช้อินสตาแกรม 16,000 คน พบว่า 70% พวกเขาจะหาข้อมูลสินค้าจาก Official ของแบรนด์ก่อนเสมอ ในขณะเดียวกัน นักการตลาดจำนวนมากก็แข่งขันด้วยกลยุทธ์การแจกของรางวัลบน Social Media อื่นๆ

นอกจากนี้ 62% ของผู้ใช้อินสตาแกรมจาก 16,000 คน บอกว่าพวกเขาติดตามแบรนด์ด้วยความรัก และความชื่นชอบจริงๆ และ 65% บอกว่า พวกเขาจะรู้สึกดีเมื่อแบรนด์มาไลก์สิ่งที่พวกเขาโพส

ผู้ใช้อินสตาแกรม จะมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากกว่า

ทั้ง Iconosquare และ Business Insider ก็ได้ทำการสำรวจธุรกิจและแรงจูงใจของผู้บริโภค พบว่า ผู้ใช้อินสตาแกรมจะชอบไลค์ แชร์ และ re-grams ซึ่งจะช่วยให้นักการตลาดเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้ เรียกได้ว่าสาวก IG นั้นจะให้การตอบรับอย่างดีจากแบรนด์ที่พวกเขาชื่นชอบ

นอกจากนี้ Socialbakers ยังได้เผยข้อมูลในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2014 พบว่า อัตราการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานอินสตาแกรม สูงกว่าทวิตเตอร์อย่างมาก ตามภาพด้านล่าง

sd-socialbakers-post-engagement-stats

และยังสำรวจอีกว่า หากแบรนด์โพสรูปในอินสตาแกรม จาก 10,000 คนที่เห็นรูปนี้ จะมี 331 คนที่ไลก์ แชร์ และ re-grams เมื่อเทียบกับการทวิตข้อความในทวิตเตอร์ และส่งไปยังผู้ใช้งาน 10,000 คน มีเพียง 7 คนเท่านั้นที่แสดงออกว่ารับรู้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมบางแบรนด์จึงมีผู้ติดตามไม่มากอย่างที่คิด และอีกปัจจัยสำคัญคือ แบรนด์ต้องสู้รบกับจำนวนทวิตที่หลั่งไหลกันอย่างรวดเร็ว ทำให้บางทวิตอาจไม่มีใครเห็นเลยก็ได้

ทั้งนี้ ที่อินสตาแกรมมี Engagement ที่สูงกว่า นั่นอาจเป็นเพราะว่า เป็นแพลตฟอร์มที่ใหม่ และยังมีแบรนด์ใหญ่ๆ ไม่มากนัก ทำให้แต่ละโพสดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ได้นั่นเอง และคาดว่าในปีนี้ หลายแบรนด์ใหญ่จะเคลื่อนที่มายังอินสตาแกรมมากขึ้น

ผู้ใช้อินสตาแกรม ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว

จากการสำรวจของ eMarketer พบว่า ในปี 2014 44% ของผู้ใช้อินสตาแกรม มีอายุระหว่าง 18-29 ปี ทิ้งห่าง Facebook ที่มี 23% LinkedIn 19%, Pinterest 27% และ Twitter 33% และส่วนของกลุ่ม Baby Boomers ที่มีอายุระหว่าง 45-60 ปี ใช้อินสตาแกรมเพียง 18%

sd-emarketer-j

จากความชอบของคนวัยนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า พวกเขารักและต้องการเป็นอิสระจากครอบครัว และต้องการอยู่ในสังคมออนไลน์โดยปราศจากการติดตาม หากถามว่าพวกเขาใช้อินเตอร์เน็ตมากเพียงใด The Pew Research Center บอกว่า อินสตาแกรมเปรียบเหมือนสนามเด็กเล่นของพวกเขา และ 53% จาก 1,597 คน ใช้อินสตาแกรมทุกวัน

sd-pew-adult-user-stats-j

หากมองในแง่ของการเติบโต อินสตาแกรมอาจยังไม่เทียบเท่ากับ Facebook แต่ถ้านับจากตัวเลขแล้ว จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2012 – 2014 อินสตาแกรมเติบโตขึ้นเป็น 2 เท่า แตกต่างจาก Facebook ที่ปี 2013 และ 2014 ยังเติบโตเท่าเดิม

sd-simplymeasured-posts-per-month

เมื่อเสียงส่วนใหญ่ของผู้ใช้งานมีอายุน้อยกว่า 30 ปี จึงไม่น่าแปลกใจที่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เทคโนโลยี และเครื่องแต่งกายจะเป็นผู้นำ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2014

หลังจากได้ทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์เหล่านี้แล้ว คุณมีแผนอย่างไรต่อไปเพื่อพัฒนาช่องทางนี้ สิ่งสำคัญคือ ต้องรับฟังสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการบอก หรือตระหนักให้ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ธุรกิจของคุณต้องมี เพื่อให้แข่งขันได้

 

แหล่งที่มา

 


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •