จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปีนี้ เรียกว่าเป็นปีที่ทุกธุรกิจเจอสภาพที่หนักหนาสาหัสพอสมควร หลายธุรกิจก็สามารถแก้เกมรับมือได้บางธุรกิจก็ไปไม่ถูกซวนเซก็มี เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ธุรกิจ แบรนด์ นักการตลาด จำเป็นต้องปรับตัวและรับมืออย่างไรในภาวะแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทุกวันนี้นอกจากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแล้วยังพลิกไปจากความเชื่อเดิมๆ ที่เราเคยรู้จักเสียด้วย ดังนั้น การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละ Gen จึงเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะ กลุ่ม Gen Z และ Millennials ซึ่งพบว่ามีช่องว่างของความเข้าใจที่ห่างกันจาก Gen อื่นค่อนข้างมาก และที่สำคัญมีการใช้งานสื่อออนไลน์ที่เปลี่ยนไปจากในอดีตอย่างมากด้วย ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่สมควรอย่างยิ่งที่แบรนด์และนักการตลาดจะต้องรู้ Insight คนทั้งสองกลุ่มนี้ให้ดี เพราะนับแต่นี้และในอนาคตต่อไปทั้งสองกลุ่มนี้จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้ครองตลาดผู้บริโภคส่วนใหญ่ และเป็นกำลังซื้อหลักที่สำคัญของตลาดทั้งในวันนี้และอนาคต
ดังนั้น MarketingOops! ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก MediaDonuts ได้รวบรวมข้อมูล Insight ที่น่าสนใจของผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่มนี้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อแบรนด์และนักการตลาด นำไปใช้สร้างสรรค์เป็นแคมเปญหรือกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพต่อไปได้
Gen Z และ Millennials คนสองโลก (ออนไลน์)
บทความนี้จะมาบอกเล่าถึง Insight ของผู้บริโภค 2 กลุ่มได้แก่ Gen Z คือบุคคลที่อายุระหว่าง 13-23 ปี ในขณะที่ชาว Millennials อายุระหว่าง 24-37 ปี โดยทั้งสองกลุ่มอยู่บนโลกดิจิทัล และส่วนใหญ่ใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน “สมาร์ทโฟน”
แต่สำหรับคน Gen Z จะ ค่อนข้าง emotional มากกว่ากลุ่ม Millennials เช่น ถ้าถามว่าชอบแบรนด์นี้เพราะอะไร ‘ก็ชอบอ่ะ แบรนด์ชั้น เขาดูเป็นแบรนด์ for me ชั้นเลิฟ’ แต่ถ้า Millennials ซึ่งโตมาในยุคเปลี่ยนผ่าน อนาล็อกไปดิจิทัล เหตุผลก็จะเยอะกว่า ซึ่งถ้าจะสนับสนุนแบรดน์ใดแบรนด์หนึ่ง ก็ขอต้องมีความมรู้เกี่ยวกับแบรนด์นั้นนิดนึง มี Knowledge มีอินไซด์ หรือขอทำรีเสิร์ชเกี่ยวกับแบรนด์นี้ก่อน
ส่วนแพล็ตฟอร์มที่มาแรงสำหรับคนกลุ่มนี้ Gen Z และ Millennials ได้แก่ TikTok และ Twitter ซึ่งพบว่าเป็น คนๆ เดียวกัน ที่เล่นทั้งสองแพล็ตฟอร์ม!
- 65% ของ Gen Z และ Millennials ที่เล่น Twitter มีแอคเคาท์ TikTok ด้วย
- 67% ของ Gen Z และ Millennials ที่เล่น TikTok มีแอคเคาท์ Twitter ด้วย
แต่การเล่นทั้งสองแพล็ตฟอร์มนี้ มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เล่นใน role ที่ไม่เหมือนกัน ดังนี้
คนที่ไป twitter คือคนที่เข้าไปดูข่าวสาร เพราะ twitter มีข่าวสาร เป็น What’s happening? มีทั้ง Worldwide Trend Trend Thailand และ Trend for You ดังนั้น เขาจึงเข้าก็ไปด้วยใจที่แบบอยากดูของใหม่ ชอบเรื่องใหม่ๆ และก็เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่น มาเพราะว่าอยากเสพข่าวใหม่ เช่น ใช้ดีบอกต่อ รีวิวคาเฟ่ เป็นต้น ทำให้คนกลุ่มนี้มีแนวโน้มในการซื้อของจากแบรนด์นั้นๆ สูงมาก หากเข้ามายัง Twitter
#TikTok
เป็นคนที่มาด้วยใจที่ครีเอทีฟ มาด้วยใจที่ positive มาก มาเพื่อความสนุก อยากเข้ามาดูอะไรเพลินๆ มีความคิดสร้างสรรค์ และสิ่งที่เขามองหาก็คือ การมาหาไอเดีย หา inspiration เพราะฉะนั้นถ้าแบรนด์ involve เขาได้ หรือมี interactive อะไรกับเขา จะทำให้เขาจะรักแบรนด์นั้นและมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์นั้น เช่นการที่แบรนด์ดึงเอาผู้บริโภคไปเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ อย่างพวก Hashtag Challenge ต่างๆ
ชาว Notification Matter
อาจบอกได้ว่าคนกลุ่ม Gen Z และ Millennials คือคนที่สะท้อนสังคมก้มหน้าอย่างแท้จริงๆ เพราะ 1 ใน 2 ของคนที่ใช้ Mobile Internet User ในไทยเป็น Gen Z และ Millennials และคนทั้งสองกลุ่มนี้ก็กำลัง take over ปี 2020 และรวมไปถึงปี 2021 ด้วย ซึ่งจะกลายมาเป็นลูกค้าสำคัญของทุกๆ แบรนด์ โดยเฉพาะบนโลก Digital World
นอกจากนี้ กลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้ อาจจะถูกเรียกว่าเป็น กลุ่ม Notification Matter คือกลุ่มที่ติดมือถือมาก ขาดไม่ได้ เป็นอวัยวะที่ 33 มีอะไรแจ้งเตือนขึ้นมาก็ต้องดูทันที หรือแม้แต่ไม่มีอะไรเสียงดังเตือนก็ดู คือเล่นมือถือ ไถมือ เล่นไปตลอดเวลา ทั้งนี้
- Gen Z ใช้เวลากับมือถือ 6 ชั่วโมง / 1 วัน เป็นอย่างต่ำ
- Millennials ใช้เวลากับมือถือ 4 ชั่วโมง / 1 วัน เป็นอย่างต่ำ
ติดมือถือแต่ก็ ‘กังวล’ ว่าจะเล่นมือถือมากไป
แต่ก็พบว่า 1 ใน 3 ของ Gen นี้ ถึงแม้จะเล่นโทรศัพท์มือถือนาน แต่ก็มีความกังวลเรื่องการติด เล่นโซเชียลฯ ว่าเล่นเยอะไปหรือเปล่า ใช้มือถือเยอะเกินไปไหม มีความย้อนแย้งในตัวเอง เพราะว่าปัจจุบันสมาร์ทโฟนเองก็มีแอปฯ ในการแจ้งเตือนว่าในการสเปนไทม์ไปกับแอปฯ อะไรต่างๆ บนมือถือแล้วบ้าง
สำหรับ Gen Z ค่อนข้างกังวลหนักเลย เมื่อเทียบกับ Gen Y หรือ Millennials มากกว่า 10% เปอร์เซ็นต์เทจพ้อยท์ (+10 PP) ความกังวลมี 2 อย่าง ได้แก่
- กังวลว่าใช้มือถือเยอะไป เช่น เล่นเกมส์ แต่งภาพ
- กังวลว่าเล่นโซเชียลฯ เยอะไป (Facebook, Twitter, TikTok, Instagram)
ดังนั้น เมื่อคนกลุ่มนี้เกิดความกังวล ก็เริ่มที่จะคัดกรองคอนเทนต์ในการเสพมากขึ้น เช่น หากวันหนึ่งเล่น 20 ชั่วโมง เขาก็เริ่มคิดแล้วว่า 20 ชั่วโมงชั้นทำอะไรไปบ้าง เล่นอะไรหรือดูอะไรบ้าง ดังนั้น อะไรที่ไม่จำเป็นก็จะต้องตัดออก อันไหนไม่อยากรู้ก็จะไม่ดู ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “โฆษณา” ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ไม่เป็นผลดีต่อแบรนด์
1 ใน 3 ของผู้บริโภครุ่นใหม่ อยากหลีกเลี่ยงโฆษณา แต่ “ไม่เกลียด”
ทั้งนี้ Noted ไว้ว่า ถึงแม้จะไม่อยากดูโฆษณา แต่คนกลุ่มนี้ไม่ได้เกลียดโฆษณา มีเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้นที่อยากจะ avoid กด skip ทว่า อย่างไรก็ตามสะท้อนว่าพฤติกรรมคนดูโฆษณาเปลี่ยนไป จากเดิมที่บอกว่าคนอยากรอดูโฆษณาเจ๋งๆ ดังนั้น ความท้าทายคือแบรนด์ นักโฆษณา และนักการตลาด จะต้องทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้เปิดรับโฆษณาให้ได้ เพราะมีแนวโน้ที่จะกด skip โฆษณา ซึ่งเมื่อผู้บริโภคกลุ่มนี้มีมากถึง 1 ใน 3 ที่หลีกเลี่ยงโฆษณา น่าจะเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องพิจารณาให้มาก แต่อย่าลืมว่า ‘ไม่เกลียดโฆษณา’ แต่ลึกๆ เริ่มเอ๊ะ! แล้ว ชั้นดูอะไรอยู่
ดังนั้น ในปีหน้าและต่อไป เกมการทำ Marketing ต่างๆ ไม่ใช่แค่การเรียกร้องความสนใจ ไม่ใช่การทำ Ad ที่ว้าว..ปัง.. แล้วสาดไปที่ Gen Z เพราะว่า Gen Z มีความคิดว่า ‘เขาได้อะไรจากการดูโฆษณา’ ดังนั้น การทำ Marketing แบบการ Bonding เพื่อทำให้เขาคิดว่าเขาอยากเปิดรับ และ Message นี้ เป็น Message ของชั้น เกี่ยวกับชั้น และชั้นก็อยากจะซื้อแบรนด์นี้
Character and Interest
ก่อนที่เราจะไปทำการตลาดแบบ Bonding เพื่อมัดใจคนกลุ่ม Gen Z และ Millennials เรามาทำความรู้จักคนกลุ่มนี้ให้ลึกซึ้ง ทั้งเรื่องแนวคิดและพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของพวกเขากัน เพื่อที่จะ Bonding พวกเขาได้ถูกต้อง
- Character
# We are Global Populations
Gen Z และ Millennials ไม่ใช่คนที่ถูกชักจูงได้ง่าย อะไรก็ตามที่ผู้ใหญ่ปัจจุบันคิดเขาจะคิดต่างออกไป mind set ของเขา เรียกว่า Global mindset หรือ Global Populations เขาคิดว่าเขาเป็น “ประชากรของโลก” ไม่ใช่ประชากรของคนไทย นอกจากนี้ ยังพบว่า Gen Z และ Millennials ที่เข้ามาบนอินเตอร์เน็ต มาดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบนโลก
ยกตัวอย่าง กับเทรนด์ #BlakcLiveMatter #Metoo หรือแม้แต่การเลือกตั้งในอเมริกาที่ทุกคนพูดถึง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่คนอเมริกันก็ให้ความสนใจ เพราะเขาคิดว่าเขาเป็นประชากรของโลก และอเมริกาก็เป็นชาติผู้นำโลก ถ้าเขาไม่ให้ความสนใจเรื่องนี้จะกระทบกับชีวิตของเขาแน่ในประเทศไทย ทุกอย่างสอดคล้องกันหมดเลย
# We are Dreamer
เป็นคนที่มีความฝัน เป็นฝันที่ยิ่งใหญ่ หรืออีกทางหนึ่งก็คือ เป็นคนที่กล้าคิด กล้าฝัน
# In Trends always
สิ่งที่เขาคิดเป็นสิ่งที่ตามเทรนด์ เทรนด์โลกเป็นอย่างไร เขาจะ ally ไปอย่างนั้น อะไรที่คิดว่าโลกคิดว่า it’s ok ชั้นจะเดินไปแบบนั้น
# Adventurous
คือ กล้าทำให้เป็นจริง นอกจากจะเป็นคนที่มีความฝันอันยิ่งใหญ่แล้ว กลุ่ม Gen Z ก็ยังกล้าที่จะทำตามความฝันนั้นให้เป็นจริงด้วย และต้องเป็นฝันตามเทรนด์โลกที่เกิดขึ้น
เช่นเคสของ Greta Thunberg ชาวสวีเดน วัย 16 ปี เป็น Activist เรียกร้องเรื่องโลกร้อน Global Warming เพราะรู้สึกว่ากระทบกับชีวิตเขาและมันเป็นเรื่องระดับโลก เป็นเทรนด์ระดับโลก โลกร้อนน้ำแข็งละลาย ดังนั้น เขาจึงต้องลุกออกมาเรียกร้องทำอะไรสักอย่างเพื่ออนาคต ดังนั้นเมื่อ Gen Z และ Millennials เป็นคนแบบนี้ แบรนด์ก็จะต้องปรับตัวจะทำอะไรแบบเดิมๆ ไม่ได้แล้ว
- Interest
สำหรับความสนใจของคน Gen Z และ Millennials ที่เข้ามาในอินเตอร์ คนกลุ่มนี้มีความสนใจเรื่องดังต่อไปนี้
1.สนใจเรื่องเกม สำหรับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วๆ คนส่วนใหญ่จะเน้นเสิร์ชหาข้อมูล หรือมาหา solutions เพื่อตามข่าวสาร แต่สิ่งที่ Gen Z และ Millennials ต่างจากคนอื่นทั่วไปเลยคือ คือเข้ามาเสพคอนเทนต์เกมส์ อย่างปีนี้ e-sport มาแรงมาก คำว่ามาเล่นเกมส์ไม่ได้จำเป็นว่าต้องเป็นเกมเมอร์ ไม่ได้เข้ามาเพื่อกดเกม เล่นเกมออนไลน์ อย่างเดียว แต่อีกอย่างคือเข้ามาดูแคสต์เกม เข้ามาดูพี่เอ มาดูยูทูปเบอร์เล่นเกม หรือ 3 มาเล่นแบบ spare time เช่น candy crush ทุกอย่างที่เป็นเกมส์มาหมดเลยในปีนี้
2.เข้าอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาตัวเอง พัฒนา skill อย่างที่บอกว่าคาแรคเตอร์ของเด็กกลุ่มนี้คือติดตามข่าวสารโลก เขารู้แล้วว่าโลกตอนนี้เป็นอย่างไร ดังนั้น เวลาที่เข้ามาอินเตอร์เน็ตคือเข้ามาเพื่อพัฒนาตัวเอง ถ้าอย่าง Hashtag ใน Twitter ที่ขึ้นบ่อยๆ เลยคือ เช่น #toeic2020 #ภาษาอังกฤษวันละคำ #หนังสือเตรียมสอบ เป็นต้น หรือการเติบโตของ Podcast บน Sportify ที่มาแรงมากในปีนี้ หรือแม้แต่ TikTok ก็มี #วิทย์ที่คุณไม่รู้ #TikTokแนะแนว เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติม Edutainment Content มาแรงเวอร์ใน TikTok ไทย กับยอดวิวทะลุ 8.1 พันล้าน)
3.เข้ามาเล่นเน็ต เพื่อหา Inspiration หรือหาไอเดีย หาไอเดียต่างๆ เพื่อไปเติมเต็มความฝัน หรือพัฒนาทักษะต่างๆ ที่พวกเขาสนใจ
Brand ควรทำการตลาดอย่างไร
ทั้งนี้ โดยปกติเลยแบรนด์จะทำให้ผู้บริโภคโดยทั่วไปประทับใจ ก็ต้องประกอบด้วย 3 หลักสำคัญ ได้แก่ 1) คุณภาพสินค้า 2)โปรโมชั่น 3)บางอย่างที่คอนเนคกับ Passion point ของคอนซูเมอร์ อันนี้คือทั่วๆ ไปที่ทุกแบรนด์จะต้องมี แต่สำหรับ Gen Z และ Millennials จะต้อง Top Up ที่พิเศษมากขึ้นไปอีกหถึงจะได้ใจจากคนกลุ่มนี้
Marketing แบบ ‘Talk with’
ดังนั้น หากอยากชนะใจ Gen Z และ Millennials ต้องทำ Marketing แบบ One on One relationship คือการสื่อสารกับเขาแบบ Talk with ไม่ใช่ Talk to มีความ personalized ให้เขามากขึ้น และมี involve กับเขา เช่น ชวนมาร่วมกันตั้งชื่อแคมเปญ หรือชวนมาคิดรสใหม่สีใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทำอะไรก็ได้ให้เขาเป็นส่วนหนึ่งในนั้น ทำให้พวกเขารู้สึกว่าแบรนด์นี้อยากได้ความช่วยเหลือจากชั้น เพราะว่าคนกลุ่มนี้อยากได้อะไรที่มัน Interactive
ให้ Brand ซัพพอร์ตในโซเชียลฯ
จิตวิทยาลึกๆ ของคน Gen Z และ Millennials คืออยากดัง อยากเป็นคนมีตัวตนในโลกออนไลน์ อย่างเช่น คนที่เล่นทวิตเตอร์มานานแล้ว แต่ไม่ค่อยมีคนรีทวีตสักเท่าไหร่เลย อย่างมากเพื่อนก็ 10 รีฯ แต่เมื่อวันหนึ่งเราไปใช้ของๆ แบรนด์หนึ่ง และบอกว่าอันนี้ใช้ได้นะ แล้วก็ติดแท็กให้กับแบรนด์ กระทั่งแบรนด์มาเห็น แล้วนำสิ่งนี้ไปรีทวีต หรือแบรนด์ก็ทำ Influencer Whitelisting บางอย่าง บูสต์โพสต์ให้ จนเกิดการรีทวีตเป็นหมื่นครั้งเลย สิ่งนี้จะทำให้เขาเกิดความรู้สึกดีกับแบรนด์ ทำให้เขาเกิดความรู้สึกว่าแบรดน์นี้เลิฟมาก ชั้นรัก และชั้นจะเป็น Brand Loyalty แน่นอน ก็เพราะว่าแบรนด์เข้าไปโปรโมททวีตให้
หรือแม้แต่บน TikTok ก็จะมี TikTok Partner คือปกติก็อัปคอนเทนต์ทั้งเต้นทั้งตลก แต่ก็ไม่ค่อยมีคนดูเท่าไหร่ทั้งๆ ที่คอนเทนต์เขาได้ คอนเทนต์โดน แบรนด์ก็อาจจะลองเอามารีวิวให้หน่อยสิ แบบนี้ก็จะได้ใจคนกลุ่มนี้มาก
Gen Z & Millennials คาดหวังสิ่งใดจาก Brand
และถ้าถามว่า ผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มนี้มีความคาดหวัดง expect อะไรจากแบรนด์นี้บ้าง สิ่งสำคัญที่จะทำให้คนทั้งสองกลุ่มนี้ Advocate แบรนด์ได้ จะต้องมีครบทั้ง 3 อย่างนี้ ได้แก่ 1) Reliable ต้องน่าเชื่อถือ 2) ต้องเป็นคนจริง 3) ต้องกล้า
นอกจากนี้ แบรดน์ต้องมี Brand Purpose มีจุดยืน ไม่ปลอม อย่างที่เห็นคือ Trend Gen Z ปลอมไม่ได้นะ เพราะขุดขุ้ยได้หากคุณพูดไม่จริง ทำไม่จริง เพราะฉะนั้นต้องมีจุดยืนชัดเจน และต้องกล้า กล้าในที่นี้คือต้องทำอะไรใหม่ๆ บ้าง มีกิมมิคใหม่ๆ ให้เขาได้พูดถึง ได้สนุกไปกับมัน
แต่จะขอเพิ่ม Top Up พิเศษสักหน่อยสำหรับกลุ่ม Gen Z เพราะค่อนข้างพิเศษกว่า Millennials สำหรับ Gen Z นั้น เขามองหาแบรนด์ที่เด็ก Young ซึ่ง Young ในที่นี้ไม่ได้หมายความเฉพาะว่าต้องเป็นแบรนด์ใหม่ หรือแบรนด์ที่มี CI (Corporate Identity) กุ๊กกิ๊กคิกขุดูเด็กๆ ไม่ใช่! แต่ต้องการ mindset ของแบรนด์ที่เข้าใจเขาจริงๆ
Case Study: KBank X Blackpink ในทวิตเตอร์ได้รับการตอบรับที่ดีมาก ก็คือเหมือนเด็ก Gen Z หรือ Millennials โตมาเห็นผู้ใหญ่ใช้บุ๊คแบงก์สีเขียวรูปต้นข้าว ก็คิดว่า KBank ก็เป็นแบรนด์เก่าแก่ ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ดีมีความน่าเชื่อถือ อยู่มานาน แต่อาจจะไม่ได้โดนใจคนกลุ่มนี้ แต่เมื่อเขามาร่วมกับ Blackpink ทำให้รู้สึกว่าเป็นแบรน์ที่กล้า หลุด CI เดิม อยู่ดีๆ ก็เอาสีชมพูมาอยู่บนบัตร มีความ เค-ป๊อป ทั้งๆ ที่เป็นแบรนด์ธนาคารเก่าแก่ของไทย นอกจากนี้ก็ยังมีความ Young ขึ้น ถ้าเข้าไปในทวิตเตอร์ของ KBank แอดมินจะแทนตัวเองว่า Blink (ชื่อแฟนคลับ Blackpink) ทำให้มีความรู้สึกว่าแบรนด์เข้าใจคนรุ่นใหม่ โดยแบรนด์กล้าที่จะบอกว่า เป็นส่วนหนึ่งของคุณ เป็นพวกคุณ ก็ทำให้ได้ใจแฟนคลับ
Platform แบบไหนที่เข้าถึง Gen Z และ Millennials
โดยทั่วไปครึ่งหนึ่งของ Gen Z และ Millennials ใช้เสิร์ชเอ็นจิ้น และโซเชียลมีเดียในการหา ในการได้รับข้อมูลโปรดักส์ ข้อมูบแบรนด์ แต่ความพิเศษของคน Gen Z และ Millennials นอกจากโซเชียลมีเดียและเสิร์ชเอ็นจิ้นทั่วไปแล้ว ก็ยังได้รับข้อมูลของแบรนด์และผลิตภัณฑ์และเซอร์วิสต่างๆ จากแพล็ตฟอร์มที่เขาคัดสรรแล้วว่าเหมาะกับตัวเขาที่สุด แต่เหมาะอย่างไรบ้าง มาดูกัน
- เป็นแพล็ตฟอร์ที่ให้ข้อมูลและสั้นกระชับฉับไว ยกตัวอย่างเช่น Twitter กับการใส่ 280 ตัวอักษร แต่ว่าได้ข้อมูลครบ
- ชอบข้อมูลข่าวสารจาก VDO Form แต่ไม่ใช่ TVC แต่ต้องเป็นวิดีโอที่มีคอนเทนต์ ชัดเจนที่สุดสำหรับความนิยใน TikToker ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการรีวิวโปรดักส์บน TikTok เพิ่มมากขึ้นแล้ว ทั้งๆ ที่รู้ว่ารีวิวแต่จะดูเพราะสนุก หรือการที่ใช้ TikTok มาไลฟ์ขายของ แต่คนก็ชอบรู้ดีว่าเขาขายของแต่ก็ยอมดูเพราะสนุก สรุปคือเป็นคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอ แต่ต้องเป็นวิดีโอที่มีสตอรี่ มีครีเอทีฟ มีเรื่องราว
- สำหรับข้อนี้ เชื่อมกับตอนแรกที่บอกว่าพวกเขาเริ่มกังวลว่า ใช้เวลากับอินเตอร์เน็ตเยอะไป ใช้เวลากับหน้าจอเยอะไป ทำให้คนบางส่วนหลบ และโหยหา Screenless Moment ก็เลยมาใช้ Streaming Service แทน ซึ่งทำให้แพล็ตฟอร์มอย่าง Sportify ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังตอบสนองความสนใจของเขาได้ ทั้ง Entertainment Inspire Idea เพื่อไปพัฒนาทักษะต่างๆ ได้
Marketing Game is Changing
และจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และแตกต่างอย่างสิ้นเชิงของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z และ Millennials ซึ่งจะก้าวมาเป็นลูกค้าคนสำคัญในตลาด ดังนั้น Era ต่อไปจากนี้จึงไม่ใช่เกมการโกย Attention แล้ว แต่ต้องสร้าง Bonding สร้างความผูกพันและการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคด้วย แล้วแบรนด์จะต้อง Bond อย่างไร
Bond by Characters
Bond ด้วยคาแรคเตอร์ของแบรดน์ของคุณ คุณต้องบอกเสียงที่แท้จริงของแบรนด์ออกมาว่า แบรนด์คุณนั้น Stand for อะไร เป็นใคร มีจุดยืนอย่างไร
Bond by your purpose
Bond ด้วย purpose เพราะคน Gen นี้ มีความรู้สึกว่าเขาใช้เวลาบนอินเตอร์เน็ตเยอะไป เพราะฉะนั้นคอนเทนต์ต้องคราฟท์นะ แบรนด์ต้องคราฟ์ให้เขา คือต้องมีทั้งความ Creativity ทั้งจุดประสงค์ ทั้งเพอร์ซันนอลไลซ์ เป็นต้น เพราะว่าถ้าไม่ตรงใจเขาเขาจะตัดออก จะ skip ออกทันที
Bond by putting them at heart
ต้องคิดแผน Marketing หรือ โฆษณา โดยให้ Gen Z และ Millennials เป็นศูนย์กลาง คล้ายๆ กับการคิดงานแบบ Customer Centric โดยพยายามให้ผู้บริโภคเป็นจุดศูนย์กลาง พยายามเปิดโอกาสให้ เขา Advocate เรา แล้วเมื่อเขามีส่วนร่วมแล้วก็อย่าลืม Advocate เขากลับด้วย เพราะว่าคนกลุ่มนี้ชอบที่จะเป็นคนดัง
Bond by the right medium
ต้อง Bond ให้ถูกช่องทาง เขาอยู่ไหน เขาชอบวิดีโอ ชอบฟังเสียง แล้วก็ format ข้อความที่สั้นๆ ดังนั้น แพล็ตฟอร์มมาแรงที่สุดสำหรับคนกลุ่ม Gen Z และ Millennials ก็คือ Twitter TikTok Sportify ซึ่งใช้งานบนแพล็ตฟอร์มนี้เยอะที่สุด active ที่สุด เพราะว่าทั้งเป็นแพล็ตฟอร์มที่ไปโดนแพสชั่นของพวกเขามากที่สุด เป็นที่ที่ได้แสดงตัวตนออกมา
ทำไมรีวิวสินค้าบน Twitter & TikTok จบที่การซื้อสูง
สาเหตุที่กลุ่ม Gen Z และ Millennials เลิฟสองแพล็ตฟอร์มนี้ ก็เพราะว่า ได้ express ได้แสดงตัวตน ได้ทำอะไรที่แพล็ตฟอร์มอื่นทำไม่ได้ ได้เป็นตัวของตัวเอง และที่สำคัญคือได้หลีกหนีจากโลกความเป็นจริง ได้พูดบางอย่างที่ไม่สามารถพูดข้างนอกได้ ดังนั้น เมื่อเกิดความเลิฟสองแพล็ตฟอร์มนี้ ทำให้มีโอกาสมากกว่าที่เขาจะซื้อสินค้าและบริการบนสองแพล็ตฟอร์มนี้ด้วย เมื่อเทียบกับแพล็ตฟอร์มอื่นๆ
เนื่องจากว่าคนที่ใช้งาน บน Twitter คือคนที่มาตามข่าวสาร ดังนั้น อะไรที่ใหม่กว่าใครต้องมีต้องทำ จึงทำให้มีมีโอกาสเป็น early adopter ให้กับแบรนด์นั้นๆ ด้วย ดังนั้น ถ้ามีของใหม่ มีร้านใหม่ มีบริการใหม่ๆ คนกลุ่มนี้จึงมีโอกาสที่จะซื้อสินค้าและบริการนั้นก่อนใคร เพราะฉะนั้น Role ของแบรนด์หรือสิ่งที่แบรนด์จะเข้าไป แบรนด์ต้องบอกว่าชั้นคือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น เป็นสิ่งใหม่ และสิ่งที่เกิดขึ้นนี้คุณจะต้อง aware และก็พูดถึงด้วย คือต้องเข้าไปเป็นเรื่องใหม่ของเขา เป็นเทรนด์ใหม่ที่จะต้องพูดถึง
#Tiktok
ขณะที่ TikTok แม้จะคนละ purpose ที่เข้ามา แต่ก็ต้องการมาเพื่อหา inspiration หาไอเดียใหม่ๆ ชอบความว้าว ดังนั้น เมื่อเห็นสินค้าและบริการที่โดนใจเขาเป็นอะไรที่กระแทกใจ เขาจะขอเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เพราะเป็นแบรนด์ที่ชั้นเลิฟ เป็นแบรนด์ที่กล้าทำอะไรแบบนี้ก็ได้ (เหรอ)
TikTok คนเข้ามาหาความสนุก เพราะฉะนั้นแบรนด์จะต้องเป็น Creative Engine ที่ไปอินสไปร์เขาและทำให้คนกลุ่มนี้มา Advocate มา involve ให้ได้ ดังนั้น แบรนด์ที่เข้าไป TikTok ต้องมีความครีเอทีฟจ๋า ต้องมีความสนุกบางอย่างที่ทำให้คนๆ นั้น engage involve advocate ให้ได้ แม้จะเป็นเมสเสจเดียวกันหรือแคมเปญเดียวกัน แต่ว่าความครีเอทีฟต้องแตกต่าง ไม่ใช่อันเดียวแล้วโยงกันได้หมด
เรียกได้ว่ากลุ่ม Gen Z และ Millennials คือกลุ่มผู้บริโภคคนสำคัญ ที่จะมีผลทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่ก็เป็นกลุ่มที่ต้องทำความเข้าใจมากขึ้น เพราะเป็นกลุ่มที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย ดังนั้น หากแบรนด์ นักโฆษณา และนักการตลาด ได้ทำความใจถึง Insight ที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมการใช้มีเดียของคนทั้งสองกลุ่มนี้แล้วก็จะทำให้เข้าถึงได้ง่ายและกลายมาเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันแคมเปญการตลาดต่อไปในอนาคตได้ด้วย.