FOMO อุ๊ย ! กลัวตกเทรนด์

  • 31
  •  
  •  
  •  
  •  

1367246601_6514_fomo

FOMO = “Fear Of Missing Out “ คำนี้เริ่มปรากฎร่างชัดเจนมากขึ้นทุกวันทั้งในบ้านเรา หรือในระดับโลก เหตุผลหลักใหญ่ๆก็คือ การเจริญเติบโตของอินเตอร์เน็ท ที่วันนี้มีมากกว่า 2.5 พันล้านคนที่คอนเน็คอินเตอร์เน็ต เรียกได้ว่าเกือบหนึ่งในสามของประชากรโลก และคาดการณ์กว่าภายในปี 2020 จำนวนคนที่เชื่อมต่อกับ Device จะพุ่งขึ้นสูงถึง 26 พันล้านคน ส่งผลให้เกิด”สภาวะเสพติดอินเตอร์เน็ต”เนื่องด้วย กลัวจะตกเทรนด์ หรือ เกรงว่าจะเม้าท์กับเพื่อนไม่รู้เรื่อง นั่นก็คือสภาวะ FOMO “Fear Of Missing Out” ที่เป็นปรากฎการณ์ระดับโลก

ล่าสุดมีงานวิจัย “Connected World II” จาก TATA Communications ผ่านกลุ่มตัวอย่าง 9,400 คนจาก 6 ประเทศ “สิงคโปร์ อินเดีย เยอรมัน ฝรั่งเศส อินเดีย อังกฤษ และอเมริกา” ที่เปิดเผยว่า

  • ประชากรโลก 64% ยอมรับว่าเคยมีประสบการณ์หรือรู้สึก FOMO ในยามที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ทได้ โดยคนเอเชีย รู้สึก FOMO ถึง 80%
  • เกือบ 1 ใน 3 หรือ 30% ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ท ใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์ 6 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ใน 1 วัน

Screen Shot 2557-10-04 at 3.04.25 PM

แวะกลับมาดูตัวเองและคนรอบข้าง

  • คุณเคยเห็น คนที่เข้าประชุมไป เล่น iPad ไป แชทไป ไหมครับ
  • คุณเคยเห็น คนที่นั่งในรถไฟฟ้า ก้มหน้าก้มตาเล่นมือถือ จนมองไม่เห็น เด็ก หรือสตรีมีครรถ์หรือไม่ (อันนี้ก็ไม่แน่ใจ ว่าแกล้งไม่เห็นรึเปล่า)
  • คุณเคยรู้สึกกลัว ว่าจะไม่รู้เรื่องที่กำลังฮิต ข่าวฮ็อท แล้วจะเม้าท์กับคนอื่นไม่รู้เรื่องรึเปล่า
  • คุณเคยนัดเพื่อนกินข้าว แล้วต่างคน ต่างก้มหน้าก้มตาเล่นโทรศัพท์กันรึเปล่า
  • คุณเป็นคนที่ เดินไปก็เล่นสมาร์ทโฟน ไปพร้อมๆกันไหม

คุณเคยรู้สึกติดการเล่นอินเตอร์เน็ตมากโดยเฉพาะการใช้เฟซบุค  ทวิตเตอร์  และไลน์  เล่นตลอดเวลาแทบทั้งวันทั้งคืนบางครั้งก็เดินไปยิ้มไปหัวเราะคนเดียว (คงเพราะ comment ต่าง ๆ ในการสื่อสารกับคนในเฟซบุค)  หรือไม่ค่อยอยากมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่ไม่สนิทมีอารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง  ไม่อยากพูดกับใคร ๆจริงอยู่ที่การมีโลกออนไลน์ส่วนตัวทำให้เราอาจสนุก  รู้สึกมีค่าและทันเหตุการณ์  ทันสมัย  ในขณะที่โลกของความเป็นจริงเราอาจจะเบื่อหน่ายและไม่สนุกกับมัน

FOMO  เหมือนเป็นกลุ่มอาการ“หลง”ชนิดหนึ่งผลตามมาก็คือพวกนี้มักมีสมาธิสั้น  อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย  โดยเฉพาะถ้าไม่ได้เล่นอินเตอร์เน็ตจะหงุดหงิดง่าย  หลายคนมีความวิตกกังวลกลัวการสูญเสียข่าวสารการติดต่อกับผู้คนอื่น ๆ  บางคนกำลังเป็นโรคซึมเศร้า  โกรธง่าย  และขาดความคิดสร้างสรรค์หลายคนมีผลเสียตามไปถึงที่ทำงาน  ทำให้ทำงานไม่ได้ผลดี  เข้ากับผู้คนรอบตัวไม่ดี  เพราะขาด “ความสัมพันธ์” ที่ดีกับเพื่อนมนุษย์จริง ๆ ที่อยู่รอบตัว  แต่รอคอยที่จะหาทาง “ติดต่อ” กับมนุษย์ในอากาศจำนวนมากทางเครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่

ไม่น่าแปลกใจ ที่ทุกวันนี้แบตเตอรี่สำรอง เปรียบเสมือน อวัยวะส่วนที่ 34 (สมาร์ทโฟนเป็น อวัยวะส่วนที่ 33) ชีวิตนี้อะไรก็ได้ขอแค่แบตห้ามหมด ร้านกาแฟไหนไม่มี WIFI ให้บริการ แทบจะไม่อยากเหยียบเข้าไป

ไม่น่าแปลกใจ ที่ “การเสพติดอินเตอร์เน็ท” ก็ให้เกิดสภาวะ FOMO ไปสู่ “สังคมก้มหน้า” และ สภาวะปวดเหมื่อย นิ้วล็อค เส้นเอ็นอักเสบ ปวดแขนบ่าไหล่ เรียกได้ว่า ส่งผลกระทบทั้ง สภาพกายและสภาพใจ เสียตังค์ค่าดาต้าแพ็กเก็จอินเตอร์เน็ทแล้วยังต้องมาเสียเงินรักษาตัวอีก

ลองสำรวจตัวเอง และคนรอบข้างว่าเรามีอาการ FOMO รึเปล่า แล้วเลือกปรับวิถีชีวิตให้พอดีๆน่ะครับ โลกออนไลน์เขาจะเป็นยังไงก็ช่างเขาบ้างอะไรบ้าง อะไรๆที่มากเกินพอดี ย่อมไม่ค่อยดีนะครับ

แถมด้วยโฆษณา แนว Anti Mobile / WIFI อาจจะเก่าไปหน่อยแต่ก็เหมาะกับหัวข้อนี้ดี

KIT KAT ด้วยแนวความคิดหลัก Take a Break ก็เลือกจำประเด็นนี้ มาทำให้คนได้พักจากอินเตอร์เน็ทแล้วได้มีเวลาคุยกันมากขึ้น Free No WIFI ZONE ก็น่ารักดีนะครับ

kitkat

kitkat-freeno-wifizone700

a98482_anti-texting_10-thumbs

a98482_anti-texting_52

 

Credit: ส่วนหนึ่งจากบทความ ศ.ดร.นพ.วิทยา นาควัชระ


  • 31
  •  
  •  
  •  
  •  
Mr.POND
นักโฆษณา นักการตลาด DJ นักเขียนอิสระ