จากตัวแลขการเติบโตของ e-Commerce ทั่วโลกมีอัตราเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นนี้เองทำให้นักลงทุนทยอยเปิดตัวการให้บริการ e-Commerce มากขึ้น ซึ่งช่วยให้ระบบเศรษฐกิจในภาพรวมเติบโตตาม ทว่าเมื่อนักลงทุนเห็นแนวโน้มการเติบโตได้ บรรดามิจฉาชีพก็เห็นเทรนด์การเติบโตนี้เช่นกัน โดยเฉพาะในมิจฉาชีพในโลกออนไลน์ที่พร้อมจะสอยเงินของเหยื่อออกจากธนาคาร โดยที่เหยื่อไม่รู้ตัว
แม้ว่าจะมีการปรับกฎหมายให้ครอบคลุมถึงโลกออนไลน์หรือการตั้งระบบ Cybersecurity แต่สุดท้ายมิจฉาชีพเหล่านี้ก็พร้อมที่จะหลบหลีกและกลับมาขโมยเงินอยู่เรื่อยๆ ซึ่งความปลอดภัยที่แท้เริ่มตั้งแต่ผ็ใช้งาน ซึ่งเราจะเผย 7 วิธีในการเลือกช้อปปิ้งออนไลน์บนมือถืออย่างปลอดภัย
1. HTTPS จำไว้ว่าเว็บต้องมี “S” ทุกครั้งที่เข้า
ทุกครั้งที่จะเข้าเว็บไซต์เพื่อช้อปปิ้งออนไลน์ต้องจำไว้ว่า เว็บไซต์เหล่านั้นจะต้องขึ้นด้วย HTTPS และต้องสังเกตให้ดีว่า ต้องมีตัว “S” ซึ่งการมีตัว S เป็นการบ่งบอกว่าเว็บนั้นจะเก็บการดำเนินการใดๆ รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินโดยจะไม่มีบุคคลอื่นเข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่งเว็บที่หลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงินมักจะไม่มีตัว S และหลังจากนี้ไปหากพบ HTTP ไม่มีตัว S ให้รู้ไว้เลยว่า ถ้าเว็บนั้นเงินหายหมดตัวแน่
2. อัพเดตอุปกรณ์อยู่สม่ำเสมอ
โดยส่วนใหญ่แล้วการช้อปปิ้งออนไลน์จะนิยมซื้อผ่านทางสมาร์ทโฟน ซึ่งมักจะมีการให้อัพเดตอยู่สม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลบช่องว่างที่จะเปิดโอกาสให้กับมิจฉาชีพหรือพวกไวรัสเข้ามาโจมตีสมาร์ทโฟนได้ และนั่นก็จะกลายเป็นยากที่ช่วยปกป้องไม่ให้มิจฉาชีพเหล่านั้นเจาะเข้าถึงข้อมูลทางการเงินได้ลำบาก
3. อย่าใช้ WiFi ที่ไม่รู้จัก
ระบบ WiFi ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มิจฉาชีพใช้หลอกล่อให้เชื่อมต่อ เพราะเป็นที่ทราบดีกว่าการใช้งานผ่านระบบ 3G และ 4G มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งหลายคนนิยมมองหาการเชื่อมต่อ WiFi ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้บริการอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้ แต่นั่นก็สามารถทำให้มิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลของเราได้ง่ายเช่นกัน ฉะนั้นหากจะช้อปปิ้งออนไลน์นอกบ้านควรใช้ระบบอินเตอร์เน็จจากมือถือ หรือควรจะใช้ระบบ WiFi ที่มีระบบป้องกันแบบ WPA-2 ซึ่งจะมีรหัสลับในการเชื่อมต่อ
4. สังเกตสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัย
นอกจาก HTTPS ที่ให้สังเกตตัว S แล้ว หลายครั้งที่ยังมีมิจฉาชีพพยายมที่จะเจาะเข้าเว็บไซต์เหล่านั้นเพื่อโจรกรรมข้อมูลทางการเงิน จึงการการสร้างระบบความปลอดภัยอีกชั้น โดยเว็บไซต์ที่มีความปลอดภัยสามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์รูปแม่กุญแจ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกว่าเว็บไซต์นี้ปลอดภัย
5. อย่าปล่อยข้อมูลส่วนตัวออกสู่อินเตอร์เน็ต
เรื่องข้อมูลส่วนตัวนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นปัญหาใหญ่ของทั่วโลก เพราะมิจฉาชีพสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปสวมรอยแอบอ้างเป็นเหยื่อก่อนที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการเงินได้ ซึ่งข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้เรามักจะเผลอส่งเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ผ่านทางช่อง Social Media เชื่อเถอะว่ามิจฉาชีพเหล่านี้สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวผ่านทาง Social Media ได้ง่ายกว่าเจาะเข้าถึงข้อมูลทางการเงิน
6. อย่าเก็บข้อมูลสำคัญไว้บนมือถือ
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ข้อมูลส่วนตัวสามารถถูกมิจฉาชีพนำไปแอบอ้างได้ แม้ว่าจะไม่มีการปล่อยข้อมูลเหล่านั้นออกสู่ระบบออินเตอร์เน็ต แต่การเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ในมือถือก็ยังถือว่าเป็นสิ่งที่อันตราย เนื่องจากมิจฉาชีพจะพุ่งเป้าเข้ามาเจาะที่มือถือได้ง่ายกว่า ที่น่ากลัวกว่านั้นหากมือถือหายไป ก็จะเท่ากับว่าตัวข้อมูลถูกปล่อยออกสู่สาธารณะและทำให้มีความเสี่ยงสูงในการปลอมแปลงเพื่อเข้าถึงข้อมูลทางการเงิน
7. ใส่รหัสให้ยุ่งยาก พร้อมลงระบบความปลอดภัย
ปราการด่านสุดท้ายหากถูกมิจฉาชีพเจาะข้อมูลก็คือสมาร์ทโฟนของเรานั่นเอง ซึ่งสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่จะมีการให้เข้ารหัสเพื่อรักษาความปลอดภัย การตั้งรหัสให้มีความยุ่งยากซับซ้อนถือเป็นหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยปกป้องข้อมูลส่วนตัวได้ แต่ข้อควรระวังก็คือควรจะต้องเป้นรหัสที่สามารถจำได้ด้วย เพราะไม่เช่นนั้นทั้งเจ้าของสมาร์ทโฟนและมิจฉาชีพจะเข้าถึงไม่ได้ทั้งคู่ นอกจากนี้การติดตั้งระบบ Security ในสมาร์ทโฟนก็ถือเป็นอีกทางเลือกในการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลได้