ที่ผ่านมาแบรนด์ นักการตลาด นักโฆษณามักจะโฟกัสไปที่ Retirement Age หรือวัยเกษียณ เพราะเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ที่มีศักยภาพ โดยมีทั้งเวลา และกำลังซื้อ กับกลุ่ม Gen Millennial หรือ Gen Y หนุ่มสาววัยทำงานที่มีกำลังจับจ่ายใช้สอย
แต่ยังมีอีกหนึ่ง Generation ที่มีขนาดประชากรใหญ่ไม่แพ้กัน คือ “Gen Z” (อายุ 13 – 23 ปี) ที่มีจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของประชากรโลกกว่า 7,000 ล้านคน ยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (APAC) ทุกวันนี้เป็นภูมิภาคที่ทั้งประชากร และเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศ และภูมิภาคนี้ หนึ่งในนั้นคือ “Gen Z” ซึ่งขณะที่ประเทศไทย มีประชากรกลุ่มนี้ประมาณ 30%
Wunderman Thompson Intelligence ได้ทำการศึกษาผู้บริโภคกลุ่ม “Gen Z” ใน 9 ประเทศ ได้แก่ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน เวียดนาม และไทย จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 4,500 คน อายุ 13 – 23 ปี ในจำนวนี้เป็นกลุ่มตัวอย่างของประเทศไทย 500 คน เพื่อค้นหาว่าประชากรกลุ่มนี้ มีพฤติกรรม ความคิด ความสนใจ และเทรนด์อย่างไร
1. พฤติกรรม Gen Z “ใช้ชีวิตบนออนไลน์ แต่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงในออนไลน์”
-
82% ของ Gen Z ใช้สมาร์ทโฟนหลายครั้งต่อวัน
-
แต่ในขณะที่ Gen Z เป็นประชากรที่ใช้ชีวิตออนไลน์มากที่สุด กลับพบว่า 90% หรือคิดเป็น 9 ใน 10 คนของกลุ่ม Gen Z รู้สึกว่าเขาใช้เวลามากเกินไปบนดิจิทัล
-
Gen Z ส่วนใหญ่ไม่ได้แสดงความเป็นตัวตนที่แท้จริงในโลกออนไลน์ เนื่องจากพวกเขาตระหนักถึงความอันตรายของสื่อสังคมออนไลน์ โดย 92% จะคิดอย่างรอบคอบ และกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว
ดังนั้นสิ่งที่พวกเขาโพสต์ แล้วเพื่อนๆ หรือคนในครอบครัวเห็น ก็อาจไม่ใช่ตัวตนจริงๆ ของเขา แสดงให้เห็นว่า Gen Z สร้างกำแพงใน Social Media โดยเฉพาะกับครอบครัว จะสังเกตได้ว่า Gen Z หลายคนจะมีหลาย account บนสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Account หนึ่งสำหรับเพื่อน อีก account สำหรับที่บ้าน
อย่างกรณี Facebook สำหรับ Gen Z เป็นกลุ่มที่ใช้ Facebook น้อยลงกว่าผู้บริโภค Generation อื่น เพราะเขามองว่าเป็นแพลตฟอร์มที่พ่อแม่อยู่ในนั้น
-
75% มีความกังวลว่าผู้ปกครองของพวกเขา จะเห็นในสิ่งที่พวกเขาโพสต์ลงบนสื่อสังคมออนไลน์
ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสาร และความบันเทิงต่างๆ ส่วนใหญ่รับผ่านสื่อออนััไลน์ ในขณะที่รับผ่านทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์น้อยลง
-
85% ของการรับข้อมูลข่าวสาร และความบันเทิงต่างๆ รับผ่าน Social Media
-
58% ผ่านสื่อโทรทัศน์
-
57% จากเพื่อนและครอบครัว16% จากหนังสือพิมพ์
ทั้งนี้ เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ และเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับ Gen Z เพราะพวกเขาเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาใช้เทคโนโลยีอย่างมีเหตุผล และตระหนักถึงข้อผิดพลาดมากที่สุด
แบรนด์เตรียมความพร้อมอย่างไร ?
นอกจากแบรนด์ต้องคิดแบบ Digital First แล้ว ยังต้องทำความเข้าใจอีกว่าการใช้งานแต่ละแพลตฟอร์มของ Gen Z ไม่เหมือนกัน ทั้งวิธีการใช้ – วิธีการเสพคอนเทนต์ – วิธีการคาดหวังในเรื่องของการสื่อสาร
เช่น Asset ของงานโฆษณา 30 วินาทีของ TVC ไม่สามารถนำไปใช้กับแพลตฟอร์ม Social Media ต่างๆ ในขณะที่ YouTube นำเสนอด้วยวิธีการเล่าเรื่องใหม่ ความยาว 15 วินาที หรือบน Instagram ใช้วิธีสื่อสารผ่าน KOL แทนโฆษณา
ดังนั้นไม่สามารถใช้แนวทางการสื่อสารแบบใดแบบหนึ่งได้กับทุกๆ แพลตฟอร์ม และนักการตลาด – นักโฆษณาต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ ว่าแต่ละแพลตฟอร์มใช้ “เพื่ออะไร” และ “ใช้อย่างไร”
2. ความฝัน และความกังวลของ Gen Z คือ สิ่งแวดล้อม – เศรษฐกิจ และพวกเขาต้องการเห็นโลกดีขึ้น
-
43% ของ Gen Z ในประเทศไทยมีความกังวลเรื่องของ “มลพิษและสิ่งแวดล้อม” ในขณะที่ Gen Z ในเอเชียที่กังวลต่อปัญหานี้มากที่สุดคือ ชาวเวียดนาม มากถึง 57%
-
38% ของ Gen Z ประเทศไทย กังวลเรื่องภัยธรรมชาติ ซึ่งน้อยกว่า Gen Z อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์
-
33% กังวลเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันหันมากังวล และตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ มลภาวะ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เนื่องจากพวกเขาเติบโตมากับการเห็นข้อมูลข่าวสาร และคำวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ผ่านทางสมาร์ทโฟนตลอดเวลา ส่งผลให้ Gen Z ตระหนักและกังวลเกี่ยวกับโลกที่พวกเขาต้องใช้ชีวิตต่อไปในอนาคตมากขึ้น
นอกจากนี้ Gen Z ต่างจากคนวัยอื่นตรงที่ Gen Z กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น และไม่ยอมอยู่เฉยๆ ปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างผ่านไป โดยหวังว่าวันหนึ่งทุกอย่างจะดีขึ้น แต่พวกเขาจะพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่าง จะเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ เพื่อที่เขาได้รู้สึกว่าสิ่งที่เขาลงมือทำนั้น สร้าง Impact กับโลกอย่างไร
แบรนด์เตรียมความพร้อมอย่างไร ?
Gen Z สนับสนุนแบรนด์ท่ีให้ค่าในเรื่องสำคัญสำหรับเขา ซึ่งในมุมของแบรนด์ ไม่ใช่แค่เพียงสื่อสาร หรือบอก Gen Z ว่าแบรนด์ของเราดีอย่างไร แต่ต้องชัดเจนว่าแบรนด์ของเรา Stand for อะไร
ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่แบรนด์ควรจะสื่อสาร Value ของตัวแบรนด์ให้ Gen Z เห็นว่าแบรนด์ของเรานั้น สอดคล้องกับพวกเขาอย่างไร
3. อาชีพของ Gen Z มองว่า “ความสุขไม่ได้หมายถึงความร่ำรวยอีกต่อไป แต่คือความสำเร็จในการได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก”
-
90% ของกลุ่ม Gen Z ในไทยเปิดกว้าง ในมุมมองของพวกเขามองว่าว่าผู้ชายและผู้หญิงมีคุณค่า มีความสามารถเท่ากัน และความเสมอภาคเท่ากัน มีอิสระที่จะทำงานประเภทใดก็ได้ที่พวกเขาชอบ หรือต้องการ ไม่มีความเหลื่อมล้ำทางเพศอีกแล้ว
ขณะที่ค่าเฉลี่ยของ APAC อยู่ที่ 80% ยกเว้นแค่ในประเทศญี่ปุ่นที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้เพียงแค่ 50%
Gen Z ประเทศไทยมองว่าโลกนี้การแข่งขันสูง พวกเขามองหาการเติบโต และมุ่งมั่นในสิ่งที่ดีที่สุด โดยพบว่า
-
81% ของ Gen Z ในไทยรู้สึกกังวลว่าตนเองจะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต แต่ยังคงมองโลกด้วยความหวัง
สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ นิยามความสำเร็จของ Gen Z ไม่ได้หมายถึงรวย เพราะเมื่อถามคน Gen Z ว่าในอนาคตส่ิงที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเขาคืออะไร พบว่า
-
36% บอกว่าความสุข
-
37% บอกว่าประสบความสำเร็จ
-
14% ต้องการความร่ำรวย
สะท้อนได้ว่า Gen Z ประเทศไทยต้องการที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตมากเท่าๆ กับการมีความสุข (ความสุข = ประสบความสำเร็จ)
ทั้งนี้ นิยามความสำเร็จของคน Gen Z แตกต่างจากคนรุ่นอื่น อาจเป็นเพราะความท้าทายทางเศรษฐกิจ ทำให้คน Gen Z มองความสำเร็จแตกต่างกัน
ความฝันของ Gen Z คือ การค้นหาความสุขในระยะยาวอย่างยั่งยืน สำหรับตนเองและคนรอบข้าง
ดังนั้น คน Gen Z จึงไม่กลัวความล้มเหลว กล้าลองผิดลองถูก เพราะจะทำให้เขาเติบโตขึ้น มีประสบการณ์มากขึ้น และทำในสิ่งที่ตัวเองรักให้ดีขึ้น เนื่องจากคนกลุ่มนี้ รู้เส้นทางของตัวเองในอนาคตเร็วกว่าคนกลุ่มนี้ จนบางคนสามารถพัฒนาไปสู่อาชีพที่สร้างรายได้ให้กับตัวเอง เช่น คนที่ชอบเล่นเกม จนสามารถเป็นนักกีฬา e-sport
แบรนด์เตรียมความพร้อมอย่างไร ?
อย่าพยายามบอก Gen Z ว่าทำไมแบรนด์ของเรายอดเยี่ยมอย่างไร แต่แสดงให้พวกเขาเห็นว่าแบรนด์ๆ นั้นสามารถทำให้พวกเขายอดเยี่ยมอย่างไร แสดงให้เห็นว่าคำว่า “ดี” ไม่เท่ากับคำว่า “รวย” และแบรนด์จะทำให้ชีวิตของพวกเขามีความสุขมากขึ้นอย่างไร ส่งเสริมสิ่งที่เขาชอบได้แค่ไหน
4. Gen Z เร่ิมออมเงินเร็ว แต่ใช้จ่ายเงินไปกับการลงทุนเร็วที่สุดเช่นกัน
Gen Z ให้ความสำคัญกับการ “ออมเงิน” เร็วกว่าคนรุ่นอื่น เพราะพวกเขามองว่าออมเงินเพื่ออนาคตตั้งแต่วันนี้ โดยเฉพาะในประเทศไทย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์
กลุ่ม GEN Z ประเทศไทยอยากเริ่มการวางแผนชีวิตอย่างรวดเร็วเพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น โดยในสังคมเพื่อนๆ ของพวกเขามีการเริ่มลงทุน และสร้างรายได้ให้ตัวเองแล้ว ไม่ใช่เพียงแค่วางแผน
-
94% ของกลุ่ม Gen Z ในประเทศไทยเห็นว่าการออมเงินอย่างชาญฉลาด สำคัญกว่าที่ได้รายรับมากๆ
-
65% ของคนกลุ่มนี้มีการเริ่มออมเงินอยู่ และ 74% มีการวางแผนลงทุนกับหุ้นและผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ
ด้วยความที่ Gen Z ไทยใช้เงินไปกับการลงทุนที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น หุ้น กองทุน หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ สิ่งที่ตามมาคือ 93% ของพวกเขาต้องการศึกษาความรู้ทางการเงินมากยิ่งขึ้น (APAC อยู่ที่ 85%)
การออมเงินเร็วขึ้น และใช้เงินไปกับการลงทุนเร็วขึ้น ทำให้ Gen Z เชื่อว่าตัวเองจะประสบความสำเร็จมากกว่ารุ่นพ่อแม่ โดยเมื่อเทียบกับ Gen Z ทั้ง APAC พบว่า ประเทศที่มองว่าอนาคตของพวกเขาจะสดใสกว่ารุ่นพ่อแม่คือ
-
94% ประเทศจีน
-
91% อินโดนีเซีย
-
90% ประเทศไทย
-
84% เวียดนาม
-
78% ฟิลิปปินส์
-
74% สิงคโปร์
-
71% ฮ่องกง
-
60% ไต้หวัน
-
28% ญี่ปุ่น
แบรนด์เตรียมความพร้อมอย่างไร ?
แบรนด์ต่างๆ สามารถสร้างคอนเทนต์ที่ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับการเงิน การออมในอนาคต และมอบโอกาสต่างๆ ให้กับชาว GEN Z ได้
โดยการสร้างคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของเขา ซึ่งไม่เพียงแต่แบรนด์ที่เกี่ยวกับการเงินเท่านั้นที่จะทำได้ แม้แต่แบรนด์ FMCG หรือธุรกิจอื่นๆก็สามารถให้คำแนะนำคนกลุ่มนี้ได้เช่นกัน
5. Gen Z ให้ความสำคัญทั้ง “สุขภาพกาย และใจ เพื่อมีร่างกายแข็งแรง และมีความสุขไปพร้อมกัน
ในยุคนี้เป็นยุคที่มีทางเลือกมากขึ้น มีการตระหนักมากขึ้น มีการลงทุนในเรื่องของอาหารสุขภาพมากขึ้น Gen Z มีตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ทำให้พวกเขาพยายามจะหาสิ่งที่ดีที่สุด
ดังนั้นนิยามของ “สุขภาพดี” ในมุมมองของ Gen Z ต้องสุขภาพดีทั้งกาย ที่มีร่างกายแข็งแรง รูปลักษณ์ดี ผิวดี และใจมีความสุข
-
83% ให้ความสนใจกับฉลากอาหาร (APAC อยู่ที่ 70%)
-
80% บอกว่าพวกเขาใส่ใจสิ่งที่พวกเขากินอย่างใกล้ชิด (APAC อยู่ที่ 67%)
-
73% พยายามกินเฉพาะอาหารออร์แกนิก และอาหารที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ (APAC อยู่ที่ 60%)
นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ก็ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพผิว
-
84% ของคน GEN Z ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพผิวอยู่เป็นประจำ (APAC อยู่ที่ 68%)
โดยพวกเขาพยายามค้นหาทุกวิธีที่สามารถทำให้มีสุขภาพแข็งแรง นอกเหนือจากการดูแลสุขภาพกายทั้งภายในและภายนอกแล้ว สุขภาพใจก็เป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
เนื่องจากความเครียดและความกดดันจากการแข่งขันในโรงเรียนหรือที่ทำงาน อาจทำให้พวกเขามีปัญหาทางจิตใจได้
-
92% ของคนกลุ่มนี้กล่าวว่า พวกเขาให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพจิตมากเท่าๆ กับการดูแลสุขภาพกายของพวกเขา
แบรนด์เตรียมความพร้อมอย่างไร ?
แบรนด์ที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม นอกเหนือจากสุขภาพกายแล้ว แบรนด์ต่างๆเหล่านี้สามารถสร้างประโยชน์ทางอารมณ์อื่นๆ ที่จะนำไปสู่การสร้างสุขภาพจิตที่ดีขึ้นให้กับ Gen Z ได้หรือไม่
6. Gen Z มีรสนิยมพรีเมียม ในต้นทุนต่ำ และโทรศัพท์คือกระเป๋าเงิน”
-
64% ของคนกลุ่มนี้บอกว่าการที่พวกเขามีสิ่งของหรูหรา หรือสิ่งของที่มาจากดีไซเนอร์ชื่อดังเป็นเรื่องสำคัญ
-
66% ของพวกเขาคิดว่าหากไม่ได้ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลอย่างโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ล่าสุด จะถูกมองว่าไม่เท่
-
83% ของกลุ่มคน GEN Z ในประเทศไทยจะมองหาสินค้าพรีเมียมในราคาถูกที่สุดเมื่อจะซื้อ
นอกจากนี้ GEN Z จะเลือกซื้อสินค้าที่มีการเปรียบเทียบราคา และมีความน่าเชื่อถือ
-
83% จะหาสินค้าที่มีขายที่หน้าร้านเพื่อให้ได้ทดลองและสัมผัสสินค้าจริงก่อน และหลังจากนั้นจะมาซื้อผ่านทางออนไลน์เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกกว่า
นอกเหนือจากเรื่องราคา ความสะดวกสบายคืออีกหนึ่งกุญแจสำคัญ พวกเขาอยากที่จะจ่ายเงินแบบออนไลน์ไม่ว่าจะซื้อสินค้าผ่านช่องทางไหนก็ตาม
-
86% ของ GEN Z ประเทศไทยชอบที่จะจ่ายเงินผ่านทางโทรศัพท์
-
84% ชอบที่จะจ่ายเงินโดยใช้กระเป๋าสตางค์ดิจิทัลมากกว่าการใช้จ่ายวิธีอื่น (APAC อยู่ที่ 79%)
แบรนด์เตรียมความพร้อมอย่างไร ?
แบรนด์ไม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องราคาเพียงอย่างเดียว แต่ควรสร้างประสบการณ์แบบองค์รวม (Total Experience) และเน้นไปที่ value ของสิ่งที่เขาจะได้รับในการซื้อสินค้าจากแบรนด์ด้วย
7. Gen Z ไม่เชื่อใครง่ายๆ แม้แต่ Influencers
-
60% ของคน Gen Z ประเทศไทยรู้สึกว่าสมาชิกในครอบครัวเป็นฮีโร่ (สูงกว่ากลุ่ม GEN Z ของทั้ง APAC ที่มองสมาชิกครอบครัวเป็นฮีโร่อยู่ที่ 46% โดยในจีน ฮ่องกงและไต้หวัน มีแนวโน้มที่จะยกคนดังเป็นฮีโร่มากกว่า)
Gen Z ในประเทศไทยไม่ได้เห็น “กลุ่มคนดัง” เป็นฮีโร่
-
19% และ 16% เท่านั้นที่กลุ่ม Gen Z ในประเทศไทยมองเหล่าคนดัง และ Influencer นสื่อสังคมออนไลน์เป็นฮีโร่
-
41% ของ Gen Z ประเทศไทยจะรับฟังความเห็นจากผู้ปกครองมากที่สุดเมื่อพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับการเงิน
-
35% Gen Z ประเทศไทยจะฟังความคิดเห็นผู้ปกครองเมื่อพูดถึงเรื่องสุขภาพ
และเมื่อพูดถึงเรื่องเทคโนโลยีและความบันเทิง Gen Z ประเทศไทยจะมองหาผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ เป็นหลักและหาข้อมูลจากที่อื่นเพิ่มเติมด้ว
-
39% รับฟังข้อมูลที่ทางแบรนด์ให้
-
37% พวกเขาจะเชื่อการรีวิวสินค้า
-
33% จะเชื่อ Influencer ในสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ
ส่วนเรื่องเกี่ยวกับความบันเทิง พบว่า
-
33% เชื่อคนดัง(ซึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่ม GEN Z ของทั้ง APAC ที่จะเชื่อกลุ่มคนดังเพียง 26%)
-
30% เชื่อการรับรองจาก Influencer ที่น่าเชื่อถือ
แบรนด์เตรียมนความพร้อมอย่างไร ?
แบรนด์จะต้องเลือกใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดให้เหมาะกับความต้องการที่แตกต่างกันออกไปของชาว Gen Z
และที่สำคัญแบรนด์ต้องนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้คำแนะนำกับคนกลุ่มนี้ได้ ไม่ใช่เพียงแต่ขายอย่างเดียว
7 บทสรุปตัวตน Gen Z และกลยุทธ์แบรนด์ชนะใจ Gen Z
จากผลสำรวจวิจัยดังกล่าว ทำให้พบว่า “Gen Z” เป็นกลุ่มที่มีความน่าสนใจ และต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากชาว GEN Z มีทั้งความชัดเจนและมีสองมุมในเวลาเดียวกัน นั่นคือ
1. เป็นกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิดกับเทคโนโลยีมากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความใส่ใจและทำเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
2. เป็นกลุ่มที่มองว่าผู้ปกครองคือฮีโร่ แต่ก็มีความเชื่อว่ารุ่นของพวกเขาต้องดีกว่ารุ่นพ่อแม่
3. เป็นกลุ่มที่เริ่มวางแผนการออมเงินเร็วที่สุด แต่ก็เป็นกลุ่มที่ใช้เงินลงทุนหารายได้เร็วที่สุด
4. เป็นกลุ่มที่ยึดถือความสุขเท่ากับความสำเร็จในการทำสิ่งที่ตนเองรัก และเรื่องความร่ำรวยไม่ใช่ประเด็นอันดับหนึ่งในใจพวกเขา แต่ในขณะเดียวกันก็ชอบของพรีเมียม แต่เวลาซื้อจะหาช่องทางซื้อที่ราคาถูกที่สุด
5. สำหรับแบรนด์ต่างๆ แล้ว Gen Z ยินดีที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนแบรนด์ที่มีมุมมองเดียวกับพวกเขา
6. ท่ามกลางโฆษณาที่ไหลบ่ามาทางดิจิทัลมากกว่า 4,000 ข้อความต่อวัน พวกเขาจะไม่ค่อยให้ความสนใจที่จะรับฟังว่าแบรนด์ของคุณยอดเยี่ยมแค่ไหนเพราะแบรนด์อื่นๆ ก็พูดเหมือนกัน
ดังนั้น การที่จะไปนั่งในใจผู้บริโภค Gen Z แบรนด์ต้องสื่อสารมากกว่าแค่บอกว่าแบรนด์หรือสินค้าของคุณดีอย่างไร
โดยแบรนด์จำเป็นต้องแสดงให้เห็นว่าแบรนด์หรือสินค้าของคุณ กำลังทำให้พวกเขาก้าวไปอีกขั้นเพื่อให้พวกเขามีคุณค่าและมีความสุข
7. ในการทำเช่นนี้เราจำเป็นต้องเข้าใจความหมายของ “คุณค่า” ที่ Gen Z ให้ค่า นั่นคือการทำในสิ่งที่ Gen Z ให้ความสนใจและมี Passion พร้อมทั้งมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าเพื่อทำให้โลกเป็นสถานที่ที่ดีขึ้นน่าอยู่ขึ้น
ดังนั้นแบรนด์จะต้องมีการปรับภาพลักษณ์และการสื่อสารให้ถูกวิธีและถูกช่องทางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มผู้บริโภคและผู้สนับสนุนแบรนด์คนสำคัญทั้งในวันนี้และในอนาคตข้างหน้าต่อไป