ฟังเสียงนักการตลาดออกมาพยากรณ์พฤติกรรมของคนยุคมิลเลนเนียลกันไปเยอะแล้ว ลองมาฟังนักเศรษฐศาสตร์กันดีกว่าว่าพวกเขามีความเห็นอย่างไรกับความคิดของชาวมิลเลนเนียล
การทำงานในโลกที่เชื่อมต่อหากันหมดทำให้เกิดความเครียดและการไม่สามารถระบุตำแหน่งแห่งที่ของตนเองได้ชัดเจน การสำรวจที่ทำกับคนยุคมิลเลนเนียล เจนเอ๊กซื และเบบี้บูมเมอร์กว่า 9 หมื่นคนเพื่อเข้าใจพฤติกรรมการบริโภคสื่อของยุคต่างๆ
“เรารู้สึกว่าคนยุคมิลเลนเนียลมีบทสนทนาบางอย่างที่เกิดจากความคิดที่ซ้ำไปมาในอดีต ซึ่งมันทำให้เรารู้ว่าคนยุคมิลเลนเนียลอาจไม่ได้คิดต่างจากคนยุคก่อนๆ เพียงแต่พวกเขาแค่เสพย์สื่อและแสดงออกผ่านช่องทางที่ต่างกันเท่านั้น” Nick Blunden ผู้จัดการฝ่ายโกลบอลของ The Economist กล่าว
ในการสัมภาษณ์กับ Adweek Blunden เองก็กล่าวถึงผลการวิจัยว่าคนช่วงวัย 18-35 ปีนั้นไม่ได้เป็นพวกขี้เกียจ หลงตัวเอง ชอบเรียกร้อง และเกาะพ่อแม่กินอย่างที่ถูกกล่าวหา พวกเขายังคงแอคทีฟ มีความทะเยอะทะยานและอยากเป็นผู้ประกอบการอยู่
“พวกเขาแสวงหาข้อมูล เสพ และนำไปสร้างสรรค์สิ่งใหม่ นั้นทำให้พวกเขากลายเป็น influencers พวกเขาไม่ได้นำเอาข้อมูลมาทั้งหมด แต่อ่านมัน ดัดแปลงมัน เป็นเหมือนดีเจที่มิกซ์เพลงของตัวเองแล้วส่งให้แก่คนอื่นฟัง” Blunden กล่าวและว่า หากคุณอยากเข้าถึงคนในยุคนี้ influencer เป็นกลุ่มที่สำคัญมาก แต่คุณต้องยอมรับว่าคอนเทนต์ที่คุณให้พวกเขาไปจะต้องถูกดัดแปลง ให้คุณค่า และรีมิกซ์ใหม่ เพื่อให้มันเป็นคอนเทนต์ของพวกเขาและสร้างโอกาสที่ผู้ติดตามจะสนใจมากขึ้น