ส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลคนรุ่นใหม่ เมื่อ AIS พบเด็กไทยมีความเสี่ยงสูงกว่าเด็กทั่วโลก

  • 1.1K
  •  
  •  
  •  
  •  

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตกำลังเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ แทรกซึมอยู่ในทุกจังหวะชีวิต เชื่อมโยงทุกสรรพสิ่งให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างไร้พรหมแดน ตั้งแต่การค้นหาข้อมูล การรับชมสื่อบันเทิง การซื้อสินค้าก็สามารถเกิดขึ้นได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส

แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง หากเราใช้อินเทอร์เน็ตอย่างขาดความรู้เท่าทัน ผลเสียก็จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น พฤติกรรมความรุนแรงของเด็กๆ ที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว เพียงเพราะผู้ปกครองจำกัดเวลาในการใช้งานสมาร์ทโฟน หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของเด็กที่เล่นเกมออนไลน์จนกลายเป็นภาวะ “เสพติดเกม” นอกจากนั้นอินเทอร์เน็ตยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างความเกลียดชัง และก่อให้เกิดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ขึ้น

ทั้งหมดนี้เกิดจากการ “ขาดความรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ต” และอีกส่วนคือขาดการเรียนรู้และส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ถูกต้อง ส่งผลให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่าเป็นคนยุคดิจิทัลไร้ซึ่งเกราะคอยปกป้อง
แม้หลายคนจะบอกว่านั่นคือสิ่งที่ผู้ปกครองของเยาวชนควรให้ความสำคัญ แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน อาจเรียกได้ว่าเป็นการยากที่จะเข้าไปคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

สถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ประเทศไทยเท่านั้น หากแต่เกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัลทั่วทุกมุมโลก นั่นจึงทำให้ทุกคนตระหนักถึงผลกระทบ จนทำให้เกิดการศึกษาเพื่อพัฒนาให้เกิดโปรแกรม ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Quotient)” หรือ DQ ขึ้นเพื่อนเป็นเกราะคอยคุ้มกันให้เด็กๆ สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย โดยสามารถแบ่งความฉลาดทางดิจิทัลออกเป็น 8 ด้านได้ดังนี้

Digital Citizen Identity – รู้จักอัตลักษณ์ด้านออนไลน์, Screen-Time Management – การยับยั้งชั่งใจการใช้งาน, Cyber-Bullying – การรับมือเมื่อถูกรังแกบนดลกออนไลน์, Cyber Security – วิธีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย, Digital Empathy – รู้จักใจเขาใจเรา, Digital Footprints – เข้าใจและรู้ถึงผลที่ตามมา, Critical Thinking – คิดและวิเคราะห์การใช้งาน และ Privacy Management – เข้าใจความเป็นส่วนตัว

AIS ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มุ่งมั่นในการพัฒนาระบบ Digital เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล รวมไปถึงการสร้างความยั่งยืนด้านเทคโนโลยี เพื่อทำให้ทุกภาคส่วนเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตอย่างมีภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันภัยบนโลกไซเบอร์ จากผลสำรวจพบว่า เด็กไทยมีโอกาสเสี่ยงภัยจากออนไลน์ถึง 60% ขณะที่ค่าเฉลี่ยเด็กทั่วโลกมีความเสี่ยงอยู่ที่ 56% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเด็กไทยใช้เวลาในการเข้าอินเทอร์เน็ตถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 3 ชั่วโมง

จากผลการทดสอบด้าน DQ กับกลุ่มตัวอย่างเยาวชนไทยพบว่า เด็กไทยขาดทักษะในการใช้งานดิจิทัลอย่างชาญฉลาดทำให้เสี่ยงได้รับภัยอันตรายที่แฝงมากับอินเทอร์เน็ตใน 4 รูปแบบ คือ การถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyberbullying), การเข้าถึงสื่อลามก, การติดเกม และการถูกล่อลวงโดยคนแปลกหน้า

นี่จึงทำให้ AIS เปิดโครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” ที่เน้นการสร้างภูมิคุ้มกัน รณรงค์ ปลูกจิตสำนึก และสร้างเครื่องมือคัดกรอง Content ที่ไม่เหมาะสม ผ่านการส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างทักษะทาง Digital และการป้องกันความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดย AIS เป็นรายแรกและรายเดียวในไทยที่ได้นำเข้าชุดความรู้ด้าน DQ เพื่อพัฒนาทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotient) ทั้ง 8 ทักษะ

โดยชุดความรู้ดังกล่าวได้รับการยอมรับและมีการนำไปฝึกทักษะให้กับเด็กๆ มากกว่า 110 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุม 21 ภาษา ปัจจุบัน AIS ได้เริ่มขยายผลการสร้างทักษะความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotient) ไปสู่ภาคการศึกษาทั่วประเทศ รวมถึงเปิดศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับคนไทยทุกคน โดยสามารถเข้าใช้งานฟรีได้ที่ www.ais.co.th/dq

นอกจากการส่งเสริมการเรียนรู้แล้ว AIS ยังได้พัฒนาระบบป้องกัน Content ที่ไม่เหมาะสม โดยได้เปิดตัวระบบ AIS Secure Net (Beta) ที่จะช่วยคัดกรองเนื้อหาบนโลกออนไลน์ และจะเปิดให้ลูกค้าจำนวน 10,000 ได้ทดลองใช้แบบ Beta Phase โดยผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ ได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2562 นี้ และจะได้ทดลองใช้ภายในเดือนกรกฎาคม 2562

ไม่เพียงเท่านี้ AIS ยังได้ร่วมมือกับ Google ในการนำบริการ Parental Control ผ่านแอปพลิเคชัน Google Family Link สู่กลุ่มผู้ปกครองที่ช่วยให้คำแนะนำการใช้งานโทรศัพท์ รวมถึงดูแลความปลอดภัยของบุตรหลานได้ง่ายๆ โดย AIS มอบอินเทอร์เน็ต On-Top สำหรับการใช้งานให้สามารถดูแลบุตรหลานได้อย่างสบายใจ

เพราะ AIS มองว่า เราทุกคน คือ เครือข่าย


  • 1.1K
  •  
  •  
  •  
  •