[Myth] 9 มายาคติเกี่ยวกับเล่นโซเชียลมีเดียในที่ทำงาน

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

sm-myths

แม้โซเชียลมีเดียจะถือเป็นเครื่องมือที่พลิกโฉมหน้าวงการมาร์เกตติ้งทั้งในแง่กลยุทธ์การขาย การตลาดและการประชาสัมพันธ์องค์กร แต่จริงๆ แล้วเจ้าของกิจการอินเดียรายหนึ่งให้ความเห็นว่าโซเชียลมีเดียก็เหมือนเซกส์ในวัยรุ่นนั้นแหละ ทุกคนอยากลองแต่ไม่มีใครรู้ว่าทำอย่างไรดีเจ้าของกิจการหลายคนต่างหวาดกลัวไม่อยากให้ลูกจ้างเล่นโซเชียลมีเดีย แต่แท้จริงแล้วการเล่นโซเชียลมีเดียในที่ทำงานมีผลเสียอย่างนั้นเชียวหรือ?

วันนี้เราจึงมาลองเช็คแถว 9 มายาคติที่เจ้านายมองต่อโซเชียลมีเดียและเชื่อว่าการเล่นโซเชียลมีเดียจะทำให้ลูกจ้างทำงานแย่ลง แล้วคุณล่ะมีความคิดพวกนี้บ้างหรือเปล่า?

#1 โซเชียลมีเดียมีแค่ Facebook, Twitter และ LinkedIn

แน่นอนว่า Facebook, Twitter และ LinkedIn อาจเป็นโซเชียลเนตเวิร์คท็อปฟอร์มในโลกปัจจุบันแต่อย่าลืมว่าก็ยังมีโซเชียลมีเดียหรือเว็บที่ต้องใช้คู่กันตัวอื่นๆ อยู่ในโลกของเราเช่นกัน ซึ่งเราอาจหมายถึง Wikipedia, microblog ต่างๆ เช่น Tumblr และคอนเทนต์คอมมิวนิตี้อย่าง YouTube และ Dailymotion ดังนั้น การห้ามเพียงแฟลตฟอร์มกระแสหลักก็ไม่ได้ทำให้พนักงานเล่นโซเชียลมีเดียไม่ได้หรอก

#2 โซเชียลมีเดียทำให้คนงานมีประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง

เราเคยได้ยินเรื่องพวกนักเรียนเล่นโซเชียลมีเดียจนไม่เป็นอันเรียนและก็มักคิดว่าพวกพนักงานก็มีสิทธิเป็นแบบนั้นได้เช่นกัน แต่อย่าลืมว่าเรียนนี่นักเรียนไม่ได้ตังค์แต่พนักงานทำงานแล้วได้ตังค์และมีสิทธิถูกไล่ออกได้ด้วย! ดังนั้นพวกเขาต้องทำงานให้ดีที่สุดก่อนจะไปนั่งเล่นโซเชียลมีเดีย

การทดลองจาก Ipsos and Microsoft สำรวจพนักงานกว่า 1 หมื่นคนจาก 32 ประเทศพบว่าคนงานกว่า 46% ระบุว่าประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขาเพิ่มขึ้นเนื่องจากสามารถเล่นโซเชียลมีเดียในที่ทำงานได้ ในกรณีนี้โซเชียลมีเดียของพวกเขาหมายถึง SMS chat app การอ่านข่าวออนไลน์ และการใช้เว็บทำงานอย่าง SharePoint ด้วย

#3 โซเชียลมีเดียไม่ได้ทำให้บรรยากาศการทำงานดีขึ้น

ในการทดลองเดียวกัน Ipsos and Microsoft พบอีกว่ากว่า 34% ของพนักงานระบุว่าฝ่ายบริหารประเมินความสามารถของโซเชียลมีเดียต่ำไปและกว่า 37% ระบุว่าพวกเขาจะทำงานได้ดีขึ้นหากสามารถใช้โซเชียลมีเดียได้ ส่วนการทดลองของ McKinsey ก็ระบุในทำนองเดียวกันว่าแบรนด์ที่เกี่ยวกับการเงิน การผลิต และการบริการเฉพาะทางจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้กว่า 20-25% หากพนักงานเข้าถึงโซเชียลมีเดียได้เต็มที่

#4 การจ้างงานผ่านโซเชียลมีเดียได้แต่คนงานด้อยคุณภาพ

การจ้างงานผ่านโซเชียลมีเดียไม่มีกำแพงในการตอบรับสมัครงานดังนั้นต้องยอมรับว่าคุณภาพของพนักงานที่คุณจะได้นั้นหลากหลาย อย่างไรก็ตาม การศึกษาจาก Brighton School of Business ระบุว่ากว่า 94% ของผู้สมัครงานใช้โซเชียลมีเดียหางานและกว่า 49% ของนายจ้างพบว่าการจ้างงานผ่านโซเชียลมีเดียมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันที่จริง 73% ของคนอายุระหว่าง 18-34 ปีได้งานผ่านโซเชียลมีเดีย

Screen-Shot-2014-11-18-at-10.02.29-AM

#5 โซเชียลมีเดียทำให้พนักงานไม่สนใจงานของตัวเอง

การศึกษาของบริษัทรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ Evolve ศึกษาพนักงานคอลล์เซนเตอร์ในอเมริกากว่า 4 หมื่นคนและพบว่าพนักงานที่ใช้โซเชียลมีเดีย 1 ใน 4 ชนิดจะอยู่ที่ทำงานนานกว่าคนที่ไม่ใช้

#6 ผลกระทบด้านการเงินจากการไม่ใช้โซเชียลมีเดียของพนักงานมีเพียงเล็กน้อย

 

อันที่จริง การศึกษาจาก Capgemini Consulting and MIT พบว่าการฝึกให้พนักงานใช้โซเชียลมีเดียหรือเครื่องมือทางดิจิตอลเป็นนั้นเป็นการลดต้นทุนบริษัทอย่างยิ่งยวด พวกเขาสามารถสร้างรายได้ต่อพนักงาน มี net profit และ market valuation สูงขึ้นด้วย

#7 โซเชียลมีเดียไม่มีทางสร้างยอดขายได้โดยตรงหรอก

เชื่อไหมล่ะว่าในปี 2009 Dell สร้างยอดขายกว่า 3 ล้านดอลล่าร์จากแอดเคาท์ทวิตเตอร์เพียงแอดเคาท์เดียว! เพราะพวกเขาฟังแฟนๆ และมีการ engage กับลูกค้าที่เยี่ยมยอด หากแบรนด์สามารถสร้างลูกค้าที่จงรักภักดีได้มากผ่านโซเชียลมีเดีย รายได้ก็จะหลั่งไหลมาเองนั้นแหละ

#8 ไม่มีใครอ่านข่าวผ่านทางเว็บโซเชียลนิวส์แล้ว

Social news aggregators เช่น Digg, StumbleUpon หรือ Reddit นั้นยังเป็นที่นิยมอยู่ในหมู่ tech savvy แม้จะมี Facebook, Twitter และ LinkedIn เข้ามาแย่งเค้กแต่การศึกษาจาก Statcounter’s global stats ยังพบว่าผู้ใช้นิยมอ่านข่าวผ่าน StumbleUpon และ Reddit และทั้งสองเว็บมี traffic มากกว่าเว็บ YouTube เมื่อปีที่แล้วเสียอีก

#9 ประชากรสูงวัยไม่เล่นโซเชียลมีเดีย

Pew Research Centerสำรวจในปี 2013 และพบว่ากว่า 43% ของชาวอเมริกันวัย 65 ปีขึ้นไปจะเล่นโซเชียลมีเดียหนึ่งแฟลตฟอร์มซึ่งพุ่งกระฉูดเมื่อเทียบกับตัวเลขในปี 2010 ที่มีเพียง 26% และปี 2008 ที่มีเพียง 1% และขณะนี้อเมริกันมีประชากรสูงวัยที่เล่นโซเชียลมีเดียกว่า 39 ล้านคน

senior-citizens-social-media

Source


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง