เมื่อสัปดาห์ก่อนน่าจะพอผ่านตากันมาบ้าง สำหรับข่าวยอดขายจากตลาดรวมของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปี 2558 ต่ำสุดในรอบ 44 ปี และมีอัตราการเติบโตเพียง 0.4% เมื่อเทียบกับปี 2557 ที่เติบโต 1% คิดเป็นมูลค่า 14,576 ล้านบาท นับเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำสุดถึงสองปีติดกัน วันนี้เราจึงนำเรื่องราวตลอดระยะเวลา 44 ปี ของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีชื่อแบรนด์ติดปากคนไทย “มาม่า” มาบอกเล่าให้ได้ทราบกันใน 33 ข้อ
1. มาม่าก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 โดย บริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)
2. เริ่มด้วยทุนจดทะเบียน 6 ล้านบาท โดยเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท เพรซิเดนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ ของไต้หวัน จะเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิต และ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ซึ่งรับผิดชอบในด้านการตลาดและการจำหน่ายสินค้า
3. สำนักงานใหญ่ของมาม่าตั้งอยู่ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เปิดโรงงานแห่งแรกที่หนองแขม กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทยโดยใช้ชื่อแบรนด์ว่า “มาม่า”
4. หลังจากดำเนินธุรกิจไปได้หนึ่งปี หุ้นทั้งหมดที่อยู่ทางฝั่งไต้หวันก็ได้โอนมายังผู้ถือหุ้นคนไทย และกลายเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทยโดยสมบูรณ์
5. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของมาม่ารสแรกคือ “รสซุปไก่”
6. มาม่าซื้อเครื่องจักรเพิ่มรวมเป็น 3 เครื่องในปี 2518 เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น และ ให้บริษัทเพรซิเดนท์คอมเมอร์เชียล จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่าย
7. ปี 2519 มาม่าเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 10 ล้าน เพราะมีเป้าหมายที่จะทำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มอีกหลากหลายรสชาติ และได้ก่อตั้งโรงงานแห่งที่สองที่ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
8. สองปีต่อมา มาม่าเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 10 ล้าน และสร้างโรงงานผลิตขนมปังกรอบ ภายในบริเวณโรงงานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ศรีราชา โดยได้รับการสนับสนุนด้านวิทยาการความรู้ในเทคโนโลยีจาก บริษัท นิสชินคอนแฟคชันเนอรี จำกัด ประเทศญี่ปุ่น
9. ปี 2521 บริษัทได้รับการพิจารณาอนุญาตให้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
10. ปี 2522 -2524 มาม่ามียอดขายโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเพื่มทุนจดทะเบียนเป็น 32.5 ล้านบาท 37.5 ล้านบาท และ 40 ล้านบาท ตามลำดับ เพื่อขยายกำลังการผลิต
11. ปี 2527 มาม่าได้ร่วมลงทุนใน บริษัท เมียวโจ้ฟูดส์ จำกัด เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปคุณภาพสูงภายใต้ชื่อแบรนด์ เมียวโจ้
12. โรงงานหนองแขมที่เป็นกำลังผลิตแห่งแรก และเปิดทำการมา 14 ปี ถูกปิดลงใน ปี 2529 เพราะโรงงานที่ศรีราชาเพียงแห่งเดียวก็เพียงพอต่อการผลิตแล้ว
13. ปี 2531 ร่วมลงทุนใน บริษัท ซันโกแมชินเนอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อประกอบเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ และเริ่มลงทุนใน บจ.ไทยมี ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก
14. ปี 2532 – 2533 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 60 ล้านบาท และ 80 ล้านบาท ตามลำดับ และได้ร่วมทุนกับ บริษัท เดนิชแฟนซีฟูดส์ กรุ๊ป จากเดนมาร์ค ก่อตั้ง บริษัท เพรซิเดนท์เดนิชฟูดส์ จำกัด เพื่อผลิตคุกกี้ “เคลด์เซ็น”
15. เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 120 ล้านบาท ในปี 2534 และจัดตั้งบริษัท T.F. Interfoods (USA) Inc. เพื่อดูแลธุรกิจ และเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
16. และในปี 2535 มีการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มการลงทุนใน บริษัท ไทซันฟูดส์ จำกัด เพื่อผลิตน้ำผลไม้, ร่วมจัดตั้ง บริษัท Kunming Tai Tongyi Foods Co., Ltd. ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจำหน่ายในประเทศจีน และ ร่วมทุนตั้ง บริษัท ไดอิชิแพคเกจจิ้ง จำกัด เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ป้อนบริษัทในกลุ่ม
17. มาม่า เปลี่ยนกิจการเป็น “บริษัทมหาชน” ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2537 และร่วมลงทุนในอีก 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท ซีพีเอนเตอร์ไพรส์ฟูดส์ จำกัด ที่ฮ่องกง และ บริษัท นิสชินฟูดส์ (ไทยแลนด์) จำกัด
18. ปี 2541 มาม่าได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารในประชากรไทย โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ด้วยการเสริมสารวิตามินเอ ธาตุเหล็ก และไอโอดีน และ ร่วมลงทุนใน บริษัท แม่โขงเดลต้า ซัคเซส เวนเจอร์ จำกัด เพื่อเปิดโรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เวียดนาม
19. ปี 2542 ผลิตขนมปังกรอบภายใต้ชื่อแบรนด์ “บิสชิน”
20. ปี 2543 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 180 ล้านบาท เพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน บริษัท เพรซิเดนท์เดนิชฟูดส์ จำกัด จากร้อยละ 74 เป็น ร้อยละ 99.99 และ ทางบริษัทฯ ได้ทำสัญญาเพื่อเป็นบริษัทผู้ให้คำปรึกษาทางเทคนิคในการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแก่ Himalayan Snax & Noodles Private Limited (HSNPL) ประเทศเนปาล รวมถึงออก มาม่ารสหมูน้ำตก
21. ปี 2544 ขยายกำลังการผลิตที่โรงงานลำพูนจาก 40 ตัน เป็น 80 ตัน/วัน และยังได้ลงทุนใน บจ. เพรซิเดนท์ฟูดส์ (คัมโบเดีย) ประเทศกัมพูชา 30% เพื่อผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศกัมพูชา รวมถึงออกรสชาติใหม่ ได้แก่ หมูต้มยำ และโป๊ะแตก
22. ปี 2545 วางตลาดผลิตภัณฑ์รสชาติใหม่ “บะหมี่หยกแห้งรสเป็ดย่าง” และ “ต้มยำกุ้งน้ำข้น”
23. ปี 2549 ออกผลิตภัณฑ์ใหม่อิงกระแสรักสุขภาพ ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเส้นโฮลวีต รสหมูพริกไทดำ ชนิดคัพ ซื้อหุ้นเพิ่มในบจ.ไทซันฟูดส์ และ บจ.ไดอิชิแพคเกจจิ้ง ทำให้บริษัทถือหุ้นในสัดส่วนสูงกว่า 50% ส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบการสูงขึ้น
24. ปี 2550 ออกผลิตภัณฑ์รสชาติใหม่เอาใจเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ รสชาติต้มแซบ และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเด็ก “ก้านกล้วย” ที่ปราศจากผงชูรส รวมไปถึง “โอเรียนทัล คิตเช่น” เส้นนุ่มสไตล์เกาหลี สำหรับกลุ่มลูกค้าพรีเมี่ยม และสินค้าแบรนด์ “รุสกี” บะหมี่เพื่อคนมุสลิม
25. ปี 2551 วางตลาดผลิตภัณฑ์ในกลุ่มพรีเมี่ยม “ซุปเปอร์โบวล์” 2 รสชาติ คือ ต้มยำขาหมู และแกงกะหรี่หมู ซึ่งมีการเพิ่มคุณค่าอาหารด้วยซองรีทอร์ททันสมัยที่บรรจุเนื้อหมูจริง
26. ปี 2552 นำรสชาติเดิมที่เคยได้รับความนิยมในอดีตกลับมาทำใหม่ 2 รสชาติ ได้แก่ รสซุปไก่ และรสโปรตีนไข่ ทั้งแบบคัพและซอง
27. บริษัทฯ ร่วมลงทุนกับ Kallol Limited (บังกลาเทศ) และกลุ่มสหกรุ๊ป ก่อตั้ง “Kallol Thai President Foods (BD) Limited” ปี 2553 ด้วยทุนจดทะเบียน 400,000,000 TAKA (170,000,000 บาท) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป Brand MAMA ในประเทศบังกลาเทศ กำลังการผลิต 17,000,000 ซอง/ปี
28. ปี 2553 ออกสินค้าใหม่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเย็นตาโฟ รสต้มยำหม้อไป คัพและซอง
29. ปี 2554 บริษัทได้ร่วมลงทุนกับ บมจ. เพรซิเดนท์เบเกอรี่ และ บจ. เคอรี่ ฟลาวมิลล์ ก่อตั้ง บริษัท เพรซิเดนท์ฟลาวมิลล์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 600,000,000 บาท ดำเนินธุรกิจผลิตแป้งสาลีให้ บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ กำลังการผลิตอยู่ที่ 60,000 ตัน/ปี ออกสินค้าใหม่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มาม่าหมูต้มยำน้ำข้น ซองและคัพ, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่าราเมง เส้นบะหมี่อบ ไขมันต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอล รสออริจินัล และรสเป็ด
30. ปี 2555 ออกสินค้าใหม่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แกงเขียวหวานไก่ ซองและคัพ, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่าราเมง เส้นบะหมี่อบ ไขมันต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอล รสทงคัตสึ และ ซีฟู้ดวาซาบิ
31. ปี 2556 ออกผลิตภัณฑ์มาม่าคัพ รสซีฟูดส์ผัดขี้เมาแห้ง รสสไปซี่ชีส รสต้มยำกุ้งเอ็กซ์ตรีม และ มาม่าหมูสับ โฉมใหม่
32. ปี 2557 ออกผลิตภัณฑ์บะหมี่ถ้วยกึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง และ รสต้มยำกุ้งน้ำข้น ยี่ห้อรุสกี
33. โครงสร้างผู้ถือหุ้น “มาม่า”
Source: Sahapat
Source: mama.co.th