เมืองลาฮอร์ถือเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศปากีสถานแต่กลับมาเส้นทางการจราจรที่จำกัดและมีขนส่งมวลชนที่ย่ำแย่ ชาวบ้านกว่า 7 ล้านคนต้องเผชิญกับแท๊กซี่ที่ขับหวาดเสียวและรถประจำทางที่แน่นจนไม่มีที่ยืน โชคยังเข้าข้างที่เมืองนี้มี ตุ๊ก ตุ๊ก กว่า 5 แสนคันเอาไว้ให้บริการภายในเมือง รถ 3 ล้อคันนี้ทั้งรวดเร็ว คล่องตัว ราคาถูก และสามารถลอดผ่านช่องทางการจราจรที่เล็กเกินรถทั่วไปจะขับขี่ได้
สตาร์ทอัพ Tavly เห็นข้อดีตรงนี้จึงพยายามเข็นเอา ตุ๊ก ตุ๊ก มาใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพโดยซีอีโอ Shahmir Khan ให้สัมภาษณ์กับ Tech in Asia ว่าไอเดียเกิดจากการตระหนักความสำคัญของการมีขนส่งมวลชนหลายๆ ชนิดให้เลือกใช้งาน
ตามหาคู่แท้ระหว่างคนขับตุ๊กตุ๊กและผู้โดยสารบนสมาร์ทโฟน
แรกเริ่ม Travly เป็นสตาร์ทอัพที่เน้นการวางแผนเส้นทางเดินทางบนสมาร์ทโฟน มันช่วยผู้ใช้หาป้ายรถเมล์ ใส่จุดหมายปลายทาง และหาเส้นทางแนะนำให้ ผลงานไปได้สวยแต่ Shahmir ระบุว่าเป้าหมายที่แท้จริงของบริษัทคือการเพิ่มศักยภาพของขนส่งมวลชนและรถตุ๊กตุ๊กเป็นพาหนะที่เขาสนใจด้วยข้อดีที่กล่าวมาข้างต้น
หลังจากได้ไอเดียจากสหรัฐฯ Shahmir เริ่มทำสำรวจเล็กๆ ด้วยการเดินดู เขาพบว่า 30% ของคนขับตุ๊กตุ๊กมีสมาร์ทโฟนและมีแอพพลิเคชั่นอย่าง Viber และ WhatsApp หมายความว่าพวกเขาชอบใช้เทคโนโลยีอยู่ไม่เบา ดังนั้นไอเดียเรื่องแอพฯ เรียกตุ๊กตุ๊กก็น่าจะเป็นจริงได้ไม่ยาก
ต้นสัปดาห์ต่อมา Travly ปล่อยบริการ tuk-tuk on-demand ออกมาโดยเริ่มใช้ในบางพื้นที่ก่อน ผู้เรียกรถสามารถเรียกรถผ่านแอพฯ ของ Android app เว็บไซต์หรือแม้แต่โทรศัพท์ ทีมของสตาร์ทอัพจะประเมินคำสั่งเรียกรถและจัดเรียงคิวให้กับตุ๊กตุ๊ก ปัจจุบันมีคนขับตุ๊กตุ๊กกว่า 70 คนร่วมโครงการนี้
แต่แม้ว่าโครงการนี้จะเพิ่งเริ่ม ชาวปากีสถานก็ให้ความสนใจกับแอพฯ นี้อย่างมาก “พวกเรามีออเดอร์เข้ามาถล่มถลาย” Shahmir ระบุ “ลูกค้าบางรายอยากให้ไปรับตอนตี 2 ตี 3 และเราก็มีคิวแน่นต่อเนื่องทั้งวัน”
ถือเป็นไอเดียที่น่าสนใจมากๆ ไทยแลนด์แดนสยามจะลองกับเขาไหมครับ