ไวซ์ไซท์ เผยภาพรวมสถานการณ์ท่องเที่ยวไทยในช่วงหลังของปี 2564 เชียงใหม่คว้าจุดเช็คอินยอดฮิต

  • 4
  •  
  •  
  •  
  •  

[ข่าวประชาสัมพันธ์]

 

เดินทางสู่ช่วงท้ายของปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์ของโรคระบาดโควิด-19 ลดความรุนแรงลง ธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมต่างก็เริ่มกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัวหลังจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปิดประเทศ ทำให้เกิดเป็นเทรนด์การท่องเที่ยวที่น่าสนใจให้แบรนด์ และผู้ประกอบการได้ติดตามกัน

ไวซ์ไซท์ ได้สรุปข้อมูลภาพรวมสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยผ่าน “INDUSTRY INSIGHT บทวิเคราะห์พฤติกรรมนักเดินทางชาวไทยบน Instagram” โดยนำเสนอพฤติกรรม, โปรไฟล์, และความสนใจของกลุ่มคนที่ชอบท่องเที่ยวบนช่องทาง Instagram ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านข้อความ (social voice analysis) และรูปภาพ (image labeling)

ดาวน์โหลด “INSTANT REPORT INDUSTRY INSIGHT” ฟรี!  https://link.wisesight.com/industry-insight-travel2021-M

   

ประเด็นที่น่าสนใจ

 

 

  • กลุ่มวัยเรียน ในช่วงอายุน้อยกว่า 24 ปี ถือเป็นกลุ่มใหญ่สุดในสายท่องเที่ยวบน Instagram พบว่ามักเดินทางท่องเที่ยวเน้นธรรมชาติ และคาเฟ่
  • กลุ่มวัยทำงาน ในช่วงอายุ 25-34 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง (79%) มีแนวโน้มท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ มากกว่ากลุ่มอื่นๆ ให้ความสนใจกับเมนูอาหารมากกว่าการถ่ายภาพในคาเฟ่
  • กลุ่มวัยผู้ใหญ่ ในช่วงอายุมากกว่า 35 ปี มีแนวโน้มชอบไปวัดมากกว่ากลุ่มอื่น และสถานที่ไปอาจไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม
  • จากการวิเคราะห์รูปภาพ 40,000 รูปที่ถูกโพสต์บน Instagram ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน พบว่า 68% เป็นภาพถ่ายธรรมชาติมีส่วนประกอบของต้นไม้ และ 53% เป็นภาพถ่ายคน โดยภาพถ่ายธรรมชาติ สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มภาพวิวธรรมชาติ (38%)
  • ในช่วงปิดประเทศ (16 สิงหาคม – 30 กันยายน 2564) ชาวโซเชียลพูดถึงจังหวัด เชียงใหม่ มากที่สุด ตามมาด้วยภูเก็ต, ชลบุรี, น่าน, นครราชสีมา และในช่วงเปิดประเทศ (1 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน 2564) ชาวโซเชียลยังคงพูดถึงจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด ตามมาด้วยน่าน, ภูเก็ต, ชลบุรี, เชียงราย จะเห็นว่าการท่องเที่ยวทางภาคเหนือได้รับความนิยมสูงสุดทั้งในช่วงปิด และเปิดประเทศ

รายชื่อนักวิเคราะห์ข้อมูล

  • ณิชาภา รัตนปรีชาเวช
  • ธีนิดา ล้อมวัฒนธรรม
  • เมธปิยา เลิศอัคฆากร

ข้อมูลพื้นฐาน

  • ช่วงเวลาของการเก็บข้อมูล: 1 กรกฎาคม – 15 พฤศจิกายน 2564
  • เก็บข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย 4 ช่องทาง: Facebook, Twitter, Instagram และ YouTube โดยเน้นวิเคราะห์ข้อมูลจาก Instagram เป็นช่องทางหลัก

[ข่าวประชาสัมพันธ์]


  • 4
  •  
  •  
  •  
  •