[ข่าวประชาสัมพันธ์]
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ และ Tellscore จัดพิธีมอบทุน และประกาศนียบัตร ในโครงการ พัฒนานวัตกรการสื่อสาร (Communication Innovator) ให้แก่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปทั่วประเทศกว่า 500 คน ที่ผ่านการเรียนรู้วิธีการผลิตคอนเทนต์อย่างมีความรับผิดชอบ สร้างสรรค์ และเติบโตไปเป็น Change Maker ด้านสื่อที่มีคุณภาพต่อสังคม โดยเน้นการพัฒนา Soft Skill และแนวคิดเท่าทันสื่อ โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย อาทิ การรับฟังก่อนการด่วนตอบโต้, Storytelling ตลอดจนวิธีการออกความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ มีพลัง และมีความรับผิดชอบ รวมถึงการปูพื้นฐานด้านจิตวิทยาให้ผู้เข้าอบรม มีภูมิคุ้มกันเท่าทันสื่อดิจิทัล ซึ่งไม่จำกัดแค่ในแวดวงนักข่าวมืออาชีพ หรือนักสร้างคอนเทนต์มืออาชีพเท่านั้น ผ่านวิทยากรมากประสบการณ์ทั้ง 5 ท่าน และร่วมสร้างผลงานเพื่อรับทุนกว่า 2,500 ชิ้นงาน
คุณชมพู่ นภัสรสธร ธนาธัญธรนันท์
Creative Psychologist และ Core team TEDxBangkok
ในเนื้อหา “Real World Storytelling ลำดับเรื่องสร้างสรรค์ เล่าเรื่องได้ดึงดูด”
คุณโย พีรพล
ผู้อำนวยการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท.
ในเนื้อหา “Fact Checker เราทุกคนเป็น Fact Checker ได้ เท่าทัน Fake News”
คุณไนซ์ ปัณณภัสร์ ตฤณขจี
Content Creator มืออาชีพ และวิทยากร
ในเนื้อหา “Content Creation ถ่ายทำ ตัดต่อ วีดีโอ ในมือถืออย่างมืออาชีพ”
คุณนิ้ว อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา
บรรณาธิการบริหารไทยรัฐออนไลน์
ในเนื้อหา “Social Media Psychology อยู่กับสื่อ”
คุณเอ็ด ญาณวุฒิ จรรยหาญ
Influencer ชื่อดัง เจ้าของเพจ “พี่เอ็ด 7 วิ”
ในเนื้อหา “Agree to Disagree สังคมเรา เห็นต่างได้ อยู่สงบด้วย”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรัชญ์ ครุจิต ประธานอนุกรรมการ การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการใช้โซเชียล มีเดียเป็นอันดับต้นๆของโลก และมีความคิดสร้างสรรค์ในฐานะผู้ประยุกต์ใช้จากแพลตฟอร์ม หรือระบบของต่างชาติ ดังนั้น ผู้ผลิตคอนเทนต์ส่วนใหญ่จึงต้องพัฒนาคอนเทนต์ตามมาตรฐานการชี้วัดความสำเร็จของระบบนั้นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความนิยมชมชอบ ดึงความสนใจ และรายได้ นำมาซึ่งคอนเทนต์ที่ปลอดภัยในฐานะผู้ถูกจ้าง แต่ในบางประเด็นคอนเทนต์นั้นๆ อาจไม่ปลอดภัยต่อสังคม หรือถูกตีกรอบทางความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น เป้าหมายของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ คือ การพัฒนาผู้ผลิตสื่อ ให้เติบโตภายใต้ระบบการจัดการที่ดี ผ่านการสร้างสำนึกความรับผิดชอบ ตลอดจนมุมมองด้านบวก ให้กับทั้งผู้เสพ และผู้สร้างคอนเทนต์ในโลกออนไลน์
“ทางกองทุนสื่อฯ มีความยินดีที่ได้ร่วมโปรเจคนี้กับ Tellscore เพราะ Tellscore คือสื่อกลางที่สามารถนำเป้าหมายของเรา ไปสู่ผู้ผลิตคอนเทนต์ และมีความน่าเชื่อถือในสายตาของนักสร้างสรรค์คอนเทนต์จำนวนมากในประเทศไทยได้อย่างมีศักยภาพ อีกทั้งยังมีแนวคิดที่ชัดเจนนอกเหนือจากมุมมองในด้านธุรกิจ คือความต้องการที่จะพัฒนาวงการการสื่อสารในบ้านเราให้เติบโตอย่างมีคุณภาพทัดเทียมในระดับสากล และมีความยั่งยืน” ดร.วรัชญ์ กล่าว
ด้าน นางสาวสุวิตา จรัญวงศ์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Tellscore กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากอุดมการณ์ที่สอดคล้องกันของกองทุนสื่อฯ และ Tellscore ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายความคิดให้น้องๆนักเรียน นักศึกษา และผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่าน หันกลับมาใส่ใจเนื้อหาในโซเชียล มีเดียมากขึ้น ในแง่ของการสร้างคอนเทนต์ เสพข้อมูล และส่งต่อ (แชร์) และความคาดหวังหลังจบโครงการนี้ คือ การส่งต่อชุดความคิดดีๆ ที่ได้รับจากโครงการไปยังคนรอบข้าง และกระจายต่อไปในวงกว้างเพื่อสร้างนวัตกรสื่อคุณภาพในบ้านเรา และในอนาคตเรายังเล็งเห็นโอกาสในการผลักดันโปรเจคร่วมกับกองทุนสื่อฯ ผ่านโครงการดีๆ ทั้งในเรื่องการเฝ้าระวังสื่อ, สร้างนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ รวมถึงการลดความบิดเบือนข้อมูลในโซเชียล มีเดีย
นางอุไรรัตน์ อภิวัฒนกุล หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการ กล่าวว่า “Content is the power” คือพลังของโลกการสื่อสารในยุคออนไลน์ ที่สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมได้ทั้งเชิงบวก และเชิงลบ ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบ และทัศนคติของคนทำคอนเทนต์ การเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ทำให้รู้วิธีสร้างคอนเทนต์รูปแบบใหม่ๆ เกิดไอเดียหลากหลายที่ทำให้เข้าถึงผู้รับสื่อได้ตรงใจ ทั้งยังได้รับข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสังคมที่เกิดจาก Fake News”
นางสมิตานัน ถูกจิตต์ อีกหนึ่งผู้เข้าร่วมโครงการ กล่าวว่า “ปัจจุบันคนมักจะให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ในเชิงลบมากขึ้น ดังนั้น หากเราเพิกเฉยคอนเทนต์เหล่านี้ไป และให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ที่ดี ผู้ผลิตคอนเทนต์ก็จะตั้งใจทำคอนเทนต์ดีๆ ออกมาเช่นกัน เป็นหลัก Demand & Supply และส่วนตัวคิดว่าโครงการนี้ เป็นโครงการที่เต็มไปด้วยพลังบวก ได้พัฒนาตัวเองทั้งการฝึกฝนเทคนิคการสร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจ รวมถึงช่วยปรับทัศนคติให้ดีขึ้นด้วย”
[ข่าวประชาสัมพันธ์]