[ข่าวประชาสัมพันธ์]
“หลังจากที่ข้าพเจ้าเสียชีวิตแล้ว ขอให้ที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ทำประโยชน์ให้กับสังคม” คำกล่าวจากครูองุ่น ประโยคนี้เป็นประโยคที่จุดประกายทำให้ใครหลายๆ คนมีแรงบันดาลใจในการลุกขึ้นมาเพื่ิอสานปณิธานของครูองุ่น มาลิก ที่อยากจะสร้างประโยชน์จากพื้นที่เปล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หนึ่งในนั้นคือชายที่เสียสละเวลาเพื่อมาเป็นจิตอาสาเล่านิทานตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศให้กับเด็กๆ วันนี้เราจะมาฟังเรื่องราวความฝันจากเล็กๆ สู่ก้าวต่อไปของความฝันที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างในการสร้างห้องสมุดนิทานหุ่นมือเคลื่อนที่แห่งแรกของประเทศไทย กับ พี่จรัญ มาลัยกุล
พี่จรัญเล่าว่า แรกเริ่มเดิมที่มันเป็นความฝันของครูองุ่น มาลิก ที่ท่านสนใจในเรื่องหุ่นมือ และมักจะเย็บหุ่นมือนำไปเล่าให้เด็กๆ ฟังอยู่เสมอ หุ่นมือของครูองุ่นนั้น จะเป็นลักษณะสวมมือและเชิดได้ ซึ่งเคยใช้ในรายการเจ้าขุนทองมาหลายสิบปี และท่านก็ยังคงทำหุ่นมือใหม่ๆ ขึ้นมาประจำและยังคงนำไปเล่าให้เด็กๆ ฟังอยู่เสมอ หลังจากที่ท่านเสียไป ท่านอยากให้พื้นที่ในทองหล่อ ซอย 3 นี้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวมเราก็คิดอยู่นานว่าจะทำอะไรดี จนทางบริษัท แซมโซไนท์ ประเทศไทย นั้นได้เข้ามาคุยกับทางมูลนิธิกระจกเงาทุกๆ ปีในการสนับสนุนและช่วยเหลือในโครงการเพื่อสังคมเสมอมา ซึ่งในปี 2561 นี้ ทางเราก็คุยกันอยู่นานว่าปีนี้เราจะสานต่อเรื่องราวดีดีในด้านไหน ในขณะที่ประชุมกันอยู่ที่สวนครูองุ่น ในที่ประชุมก็คิดว่า ทางผมนั้นเป็นนักเล่านิทาน ส่วนครูองุ่นนั้นมีปณิทานในการสร้างหุ่นมือ แต่เราก็อยากให้สิ่งที่เราทำสามารถเอาไปใช้งานได้หลากหลายสถานที่ คิดกันอยู่นานจึงได้บทสรุปที่ว่า “ก็เอาหุ่นมือที่สร้างใส่ลงไปในกระเป๋าเดินทางสิ และก็เอาวัสดุเหลือใช้ต่างๆ มาตกแต่งกระเป๋าเดินทางให้เป็นฉากของโรงละครหุ่นมือ แล้วทีนี้ก็สามารถเอาไปเล่าที่ไหนได้ทั่วประเทศ แล้วก็สร้างให้ที่สวนครูองุ่นแห่งนี้เป็นห้องสมุดหุ่นมือเคลื่อนที่ เพื่อให้ใครๆ ก็สามารถมาหยิบยืมนิทานหุ่นมือนำไปใช้ประโยชน์ได้” และนี้คือที่มาและจุดกำเนิดของความคิดในการสร้างห้องสมุดหุ่นมือเคลื่อนที่จากคำบอกเล่าของพี่จรัญ
พี่จรัญเล่าต่อว่าโครงการนี้มีชื่อว่า Samsonite Trade in ปีที่ 10 Open Up The Little Journey พวกเราต้องการเปิดโลกของความฝันของหนูน้อยให้เกิดขึ้นจริง โดยทางแซมโซไนท์ประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจนำกระเป๋าเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาบริจาค เพื่อจะได้นำไปทำเป็นฉากและกระเป๋าใส่หุ่นมือเคลื่อนที่ โดยเศษวัสดุต่างๆ ก็จะนำไปทำหุ่นมือต่อไป โดยในทุกๆ วันเสาร์จะมีการ Workshop สร้างนิทานหุ่นมือเคลื่อนที่ที่สวนครูองุ่น โดยมีจิตอาสามาสอนทำหุ่นมือและฉากหุ่นมือกันทุกเสาร์ โดยความกังวลของพี่จรัญและทีมงานมีอยู่ 2 เรื่อง คือ จะมีคนมาบริจาคกระเป๋าหรือเปล่า และจะมีคนมาช่วยทำหุ่นมือไหม เพราะเป็นอะไรที่ยาก แต่พอเปิดโครงการไปได้ไม่นานมีเสียงตอบรับอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคนมาบริจาคกระเป๋า รวมถึงมีคนสนใจเข้ามา Workshop เป็นจำนวนมาก จนตอนนี้เราทำนิทานหุ่นมือเคลื่อนที่ได้เป็นจำนวนมาก แต่เราก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป เพราะความฝันของพวกเราพึ่งเริ่มต้นพี่จรัญเล่าด้วยความภาคภูมิใจว่า เรานำนิทานหุ่นมือเคลื่อนที่ไปเล่าจริงๆ กับเด็กในหลายจังหวัด ทุกที่มีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะเป็นสิ่งตอบแทนให้เรา จนทำให้เรารู้สึกหายเหนื่อย และเป็นแรงผลักดันต่อไปให้เราต้องสร้างห้องสมุดหุ่นมือเคลื่อนที่นี้ให้เป็นศูนย์กลางแห่งความสุข ความฝัน และรอยยิ้มให้ได้ มีหลายที่สนใจติดต่อเข้ามาให้เราไปเล่านิทานให้เด็กๆ ฟัง มีหลายที่โทรเข้าอยากให้เราส่งนิทานหุ่นมือเคลื่อนที่นี้ไปให้ซึ่งทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าเราเดินมาถูกทาง แต่มันยังคงเป็นแค่ต้นทางที่ยังต้องไปต่อพี่จรัญกล่าวทิ้งท้ายว่า เขาต้องขอขอบคุณทางทีมงานแซมโซไนท์ทุกท่านที่ช่วยให้ห้องสมุดหุ่นมือเคลื่อนที่เป็นรูปเป็นร่างได้และต้องขอขอบคุณจิตอาสาจากสวนครูองุ่นทุกคนที่มาช่วยงาน Workshop และที่ขาดไม่ได้เลยคือผู้ร่วมบริจากกระเป๋าทุกท่านและจิตอาสาทุกคนที่สละเวลามาสร้างนิทานหุ่นมือฯ กัน ซึ่งผมของสัญญาว่านี้เป็นเพียงก้าวแรก
[ข่าวประชาสัมพันธ์]