[ข่าวประชาสัมพันธ์]
ความมุ่งมั่นเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี (Healthcare & Wellness) เป็นสิ่งที่หลายองค์กรให้ความสำคัญ เช่นเดียวกับ PGD – Paul Group Design หรือ บริษัทพอล กรุ๊ป ดีไซน์ จำกัด โดย สำนักออกแบบครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย ในฐานะผู้นำด้านให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ ควบคุมดูแลการออกแบบโรงพยาบาลและสถานประกอบการทางการแพทย์ ในรูปแบบ One Stop Service ตอบโจทย์ความต้องการเจ้าของโครงการที่สนใจลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลและสถานประกอบการทางการแพทย์
อัครพล เอื้ออารักษ์ เอ็มดี PGD ฉายภาพถึงความน่าสนใจของการลงทุนในอุตสาหกรรมการออกแบบ ระบบบริการสุขภาพว่าเป็นตลาดที่มีมูลค่าการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี 2563 มีการลงทุนเติบโตอยู่ที่ 10% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ตีเป็นมูลค่าอยู่ที่ 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่แนวโน้มปี 2568 โอกาสแตะไปถึง 50% หรือมูลค่า 6.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เป็นทิศทางเดียวกับประเทศไทย ที่มีการเติบโต 15 – 20% ทุกๆ ปี โดยมีปัจจัยสำคัญอย่างประชากรผู้สูงอายุ ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น รวมถึง ระบบหลักประกันสุขภาพ ผลสืบเนื่องจากที่ภาครัฐกำหนดให้พนักงานของทุกองค์กรต้องอยู่ในระบบประกันสังคม และการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และเชิงส่งเสริมสุขภาพ ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ารับการรักษาหรือบำบัด และยังได้เดินทางทำกิจกรรม หรือท่องเที่ยว
ครบจบโดยผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจ และเป็นงาน
เมื่อพูดถึงสำนักออกแบบครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย อัครพล อธิบายข้อแตกต่างการออกแบบทั่วไป กับงานออกแบบบริการสุขภาพ ว่าการออกแบบ Healthcare & Wellness มีความแตกต่าง และซับซ้อนพอสมควร มีเรื่องของฟังก์ชันทางการแพทย์ มีเรื่องกฎหมาย และรายละเอียดปลีกย่อยที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไข้ และระบบการทำงานของแพทย์ที่ถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และมีความซับซ้อนมาก
PGD จึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก โดยมีการรวบรวมทุกศาสตร์ของการออกแบบมาไว้ที่เดียว ตั้งแต่การวางโครงสร้างของอาคาร ระบบการทำงาน สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ฟีเจอร์หรือการวางเครื่องมือเพื่อสะดวกต่อการรักษา หรือดูแลคนไข้ ตลอดจนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร นั่นหมายความว่าเป็นการเสริมศักยภาพ และยกระดับให้การทำงานภายในโรงพยาบาลสามารถดำเนินไปอย่างไหลลื่นและคล่องตัว
ตั้งแต่กระบวนการเดินเข้าโรงพยาบาล กระบวนการคัดกรองผู้ป่วย การพบแพทย์ รักษา จ่ายยา และกลับบ้านเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เอ็มดี PGD ยกตัวอย่างหลักการออกแบบระบบภายในโรงพยาบาลหรือการออกแบบระบบ Healthcare & Wellness ภายในโรงพยาบาลเป็นการออกแบบแผนกฉุกเฉินหรือแผนก ER (Emergency Room) ต้องมีการออกแบบ
ให้สามารถรองรับและป้องกันเหตุไม่คาดคิด เช่น กรณีทำร้ายร่างกาย การรักษาความปลอดภัย ด้วยการออกแบบให้มีการป้องกันอย่าง ประตูนิรภัยสองชั้น การวางระบบตรวจอาวุธ ตรวจโลหะ หรือแม้แต่การวางระบบพยาบาล เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
อัครพล บอกอีกด้วยว่า องค์ความรู้ที่แตกต่างตรงนี้เป็นองค์ความรู้ที่แตกต่างจากการออกแบบทั่วไป จำเป็นต้องทำความเข้าใจความรู้ทางการแพทย์และงานของโรงพยาบาลอย่างมากๆ ซึ่ง PGD มีการรวมทุกศาสตร์ด้านการออกแบบไว้ที่เดียวกัน สาเหตุที่เราทำได้ เพราะว่า ทีมงานที่อยู่เบื้องหลังของ PGD เป็นแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้าน Medical Planning ช่วยสามารถวางแผนและจัดลำดับความสำคัญของกระบวนการรักษาต่างๆ อาทิ การวางเครื่องมืออย่างไรให้เหมาะสม และสะดวกสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วย รวมถึงข้อบังคับและกฎหมาย ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงสร้างอาคาร ซึ่งถือเป็นจุดที่มีความซับซ้อนและแตกต่างของการออกแบบทั่วไปมากๆ
Hub Healthcare & Wellness ไทยอยู่แนวหน้าของโลก
แน่นอนว่าหากพูดถึงศักยภาพของงานบริการด้านสาธารณสุขของประเทศ ไทยนับเป็นประเทศที่อยู่ในแรงกิ้งลำดับต้นๆ ของโลก นักท่องเที่ยวต่างชาติต่างปักหมุดเป็นจุดหมายปลายทางเพื่อมาใช้บริการด้านสุขภาพ ซึ่งผู้บริหาร PGD ยืนยันถึงข้อได้เปรียบตรงนี้ พร้อมให้ข้อมูลด้วยว่าจากการสำรวจจาก 291 ประเทศที่ทำเรื่อง Wellness ไทยอยู่ในลำดับ 29 ซึ่งเป็น ท็อป 10% ของทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่า ชาวต่างชาติ ให้ความสนใจกับ Wellness ของไทยอย่างมาก
ปัจจัยสำคัญของเรื่องนี้ อัครพล บอกว่า ประเทศไทย โดดเด่นเรื่อง Hospitality ทั้งเรื่องการบริการ พื้นฐานด้านจิตใจที่รักการบริการ บวกกับภูมิประเทศที่มีธรรมชาติอยู่รอบตัว ทั้งภูเขา ทะเล ป่าสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยเพื่อเข้าสู่ระบบบริการด้านสุขภาพก่อนจบทริปด้วยการท่องเที่ยว เรียกได้ว่าเป็น One Stop Service ที่ราคาเข้าถึงได้ และได้ครบจบที่เดียว
เอ็มดี PGD บอกอีกด้วยว่า สำหรับ ‘พอล กรุ๊ป ดีไซน์’ เอง ช่วงนี้มีนักธุกิจให้ความสนใจเยอะ ทั้งเสนอตึกเก่ามาพัฒนาเป็นโรงพยาบาล ปรับเป็นสถานบริการสำหรับคลินิกด้านความงาม ซึ่งเป็นโจทย์ที่ PGD ถนัดมีความเข้าใจมากๆ ทั้งเรื่องการทำความเข้าใจในเรื่องกฎหมายควบคุมอาคารเรื่องวิศวกรรมโยธา และที่ต้องให้ความสำคัญมากๆ คือ ใบประกอบกิจการของสถานพยาบาลของกองการประกอบโรคศิลปะ
Next Step คือนำระบบ Turnkey Service สู่งานออกแบบ
ยิ่งสามารถบริการให้ครบจบในที่เดียวยิ่งเปิดโอกาสให้การทำงานไหลลื่นมากขึ้น ซึ่งกำลังสะท้อนการก้าวสู่อีกขั้นของ PGD ในฐานะผู้นำด้านการออกแบบงาน Healthcare & Wellness ของประเทศที่ประกาศชัดว่า สำหรับก้าวต่อไปของพวกเขานั้น คือ การนำระบบ Turnkey Service สู่งานออกแบบระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย
อัครพล นิยามความหมายของคำ Turnkey Service ว่า คือการดีไซน์และการก่อสร้าง ซึ่งระบบการทำงานที่นำทั้งสองเรื่องมารวมไว้ในจุดเดียว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและศักยภาพด้านงานออกแบบ Healthcare & Wellness ให้เป็นงานที่คล่องตัวขึ้น ทำงานง่ายขึ้น ทั้งยังสามารถลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี ซึ่งการนำระบบนี้เข้ามาจะส่งเสริมให้ลูกค้าที่จะสร้างอาคารใหม่หรือที่ต้องปรับโครงสร้างอาคารเก่ามาเป็นโรงพยาบาล หรือคลินิกจะสามารถลดระยะเวลา สามารถควบคุมงบประมาณ ลดข้อจำกัดด้านกฎหมาย ลดความเสี่ยงต่างๆ ผู้ลงทุนเองก็จะได้เงินกลับคืนเร็วเช่นกัน
วันนี้เริ่มทำแล้วบนโรงพยาบาลย่านพระราม 2 ในกรุงเทพฯ ซึ่งตนกล้าเคลมว่า PGD เป็นเจ้าแรกที่ทำเรื่องนี้แล้วเป็นจริง โดยมีบริษัทในเครือที่ทำเรื่องเกี่ยวกับโรงพยาบาลเป็นหลักอยู่แล้วและพร้อมรองรับงานตรงนี้ ซึ่งแตกต่างจากเจ้าอื่นๆ โดยทั่วไปผู้รับเหมาหรือผู้ออกแบบก็ไม่ได้อยู่ในบริษัทเดียวกัน
“เราอยู่ในวงการมาเกือบ 17 ปี มีหน้าที่คอมไบน์งานเข้ามา ยิ่งเมื่อระบบ Turnkey Service ที่ประเทศชั้นนำ เช่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ จีน เมืองหลักๆ เริ่มใช้แล้ว ซึ่งเมื่อการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง เจ้าของธุรกิจ Healthcare จะได้ประโยชน์มาก” เอ็มดี PGD ปิดท้าย
ความมุ่งมั่นของ ‘พอล กรุ๊ป ดีไซน์’ เป็นจุดยืนยันว่าในไม่ช้าประเทศไทยจะสามารถก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของโลกได้
[ข่าวประชาสัมพันธ์]